วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน


สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน

ในการเรียนรู้ครั้งนี้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ซึ่งการถอดตัวอักษรเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทักษะความจำ และความแม่นยำ  ซึ่งเป็นการถ่ายทอดจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการทับศัพท์ตัวอักษร  ในที่นี้เป็นเรื่องการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งจำนวนตัวอักษรไม่ว่าจะเป็นของชาติใดก็จะมีเสียงที่ใกล้เคียงกันสามารถนำมาเทียบเคียงกันได้
ในการแปลภาษาไม่ว่าจะเป็นการแปลด้วยรูปแบบใดสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือต้องรักษาความหมายและโครงสร้างของต้นฉบับไว้ให้มากที่สุด เน้นความถูกต้องและความแม่นยำ และในการถ่ายถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เป็นการนำภาษาหนึ่งมาเขียนด้วยตัวอักษรอีกภาษาหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้อ่านคำไทยในตัวอักษรโรมันได้ใกล้เคียงกับคำเดิม
การถ่ายทอดเสียงของคำเดิมให้ใกล้เคียงมากที่สุดซึ่งการถ่ายทอดตัวอักษรจะมีบทบาทในการแปลทุกรูปแบบนั่นก็คือจะใช้คำนิยามหรือใช้คำทับศัพท์กับคำที่อธิบายบอกลักษณะตรงกับคำเดิมกับคำที่ใช้แทนชื่อเฉพาะสิ่งของต่างๆ เช่น ชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สานที่ และคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม
และในการแปลด้วยตัวอักษรของภาษาต้นฉบับแปล สิ่งที่ผู้แปลต้องคำนึงถึงคือหลักการปฏิบัติในการถ่ายทอดเสียงของคำนั่นก็คือเราต้องรู้ว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไร หลังจากนั้นก็หาตัวอักษรในต้นฉบับแปลมาเทียบเสียงว่าเสียงนั้นคล้ายกับตัวอักษรใด และภาษาทุกภาษาส่วนมากตัวอักษรกับพยัญชนะจะมีเสียงตรงกันเป็นส่วนมาก ทำให้ผู้แปลง่ายต่อการเทียบเสียงตัวอักษร
แต่ปัญหาที่เจอคือเสียงบางเสียงไม่มีใช้ในอีกภาษาหนึ่งทำให้ไม่สามารถเทียบเสียงกันได้ ที่เห็นได้ชัดคือในภาษาไทยนั้นมีวรรณยุกต์แต่ภาษาอังกฤษไม่มี แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาในการเทียบเสียงมากหนักเพราะเขาได้ตัดการเทียบเสียงหนักเบาออก และที่สำคัญขณะที่เทียบเสียงตัวอักษรแล้วได้เสียงใดเสียงหนึ่งแล้วควรที่จะใช้ตัวอักษรนั้นตลอดไป ไม่ควรเปลี่ยนไปมา
และยังมีบางครั้งที่มีการยืมคำศัพท์มาใช้โดยการเขียนเป็นภาษาฉบับแปล ควรที่จะใส่วงเล็บ ()  หาคำที่ใช้ยังไม่รุจักกันแพร่หลาย จะเห็นได้ว่าพยัญชนะของไทยนั้นจะมีมากกว่าอักษรในภาษาอังกฤษทำให้อักษรหลายตัวต้องใช้คำศัพท์ที่ซ้ำกันเนื่องจากเสียงเหมือนกัน เช่น ผ =[ph-], ถ ท ธ ฐ ฑ ฒ = [th-] แต่การเทียบอักษรอังกฤษนั้นต้นพยางค์กับท้ายพยางค์ ก็จะใช้ตัวอักษรที่ต่างกัน เช่น ย ญ ต้นพยางค์ [y-] และท้ายพยางค์คือ [-n] นอกจากนี้ก็ยังมีสระ สระในภาษาอังกฤษที่รู้จักกันดีก็มีอยู่ 5 ตัว คือ a e i o u แต่ในที่ได้มีการผสมเสียงสระ ทำให้เกิดเสียงสระในภาษาอังกฤษเหมือนกับภาษาไทย เช่น เอะ, แอะ = ae (แสวง) เอือะ, เอือ =uea (สัญฉวี สายยิง.หลัการแปล.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2538)
ดังนั้นในการเรียนรู้เกี่ยวกับการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันจะต้องคำนึงถึงคือต้องรักษาความหมายและโครงสร้างของต้นฉบับไว้ให้มากที่สุด ซึ่งจำนวนตัวอักษรของไทยไม่เท่ากับอักษรของโรมันแต่ก็จะมีเสียงที่ใกล้เคียงกัน ฉะนั้นจึงสามารถนำมาเทียบเคียงกันได้ ทำให้เกิดการแปลเช่นนี้มาจนถึงปัจจุบัน



Model


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
Model

ในการเรียนรู้ครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Model หากแปลเป็นไทยก็หมายถึงแบบจำลอง นางแบบ นายแบบ หรืออาจหมายถึงแบบจำลองความคิด ทุกคนต่างรู้กันดีว่าแบบจำลองจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างกลุ่มบุคคลมีความถูกต้องตรงกันแล้ว แบบจำลองที่สร้างขึ้นในระหว่างการวิเคราะห์ความต้องการนั้นนับว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำไปใช้ในการออกแบบโครงสร้างหรือระบบได้ด้วย เนื่องจากความต้องการการทำงานของระบบในด้านต่างๆ ถูกนำเสนอแทนด้วยแบบจำลอง ซึ่งถูกรวมไว้ในรูปแบบของเอกสารตามข้อกำหนดความต้องการของโครงสร้าง
ความสำคัญของแบบแบบจำลอง (Model) นั่นก็คือ สัญลักษณ์ที่ใช้จำลองข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบ แบบจำลองประกอบไปด้วย แผนภาพชนิดต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นแต่ละมุมมองของระบบโครงสร้าง แบบจำลองเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลทุกฝ่ายมีความถูกต้องตรงกันมากขึ้น เนื่องจากแบบจำลองประกอบไปด้วยรูปภาพสัญลักษณ์ต่างๆมากมายเพื่อที่จะแสดงให้เห็นการทำงานของระบบ หรือแสดงให้เห็นหน้าที่ของระบบ รวมถึงโครงสร้าง และส่วนประกอบต่างๆ
 แบบจำลองเป็นสิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ทั้งในด้านระบบหรือโครงสร้างสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของโครงสร้างในด้านต่างๆ ได้อย่างชัดเจนว่าทำหน้าที่อะไร และอย่างไร และเนื่องจากเอกสารข้อกำหนดความต้องการเป็นเครื่องมือสำหรับการทำงานหรือผลิตชิ้นงาน เนื่องจากตามทฤษฎีแบบจำลองนั้นแบ่งออกเป็น 2 โครงสร้าง คือแบบจำลองกระบวนการ (Process Model) ใช้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ จากกระบวนการทำงานหนึ่งไปกระบวนการทำงานหนึ่ง และแบบจำลองข้อมูล (Data Model) ใช้จำลองโครงสร้างข้อมูลทั้งหมดในระบบ โดยใช้แผนภาพเป็นเครื่องมือสำหรับจำลองข้อมูลซึ่งจะประกอบ
ในที่นี่ Model ที่กล่าวถึงนั้นคือ Model relations between ideas เป็นโมเดลที่มีความสัมพันธ์ ระหว่างความคิดซึ่งใช้ในการเขียน essay (กระบวนการเขียนเรียงความ) ซึ่งกรระบวนการต่างๆก็แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ title, thesis statement, main idea, supporting idea และ conclusion กระบวนการเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อกระบวนการเขียนเรียงความทำให้ง่ายต่อการเขียนมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเขียนในรูปแบบใดผู้เขียนก็จะใช้โครงสร้างเช่นนี้เหมือนกันทุกคน
Title เป็นส่วนของ HEADซึ่งเป็นส่วนที่ใช้สำหรับกำหนดการทำงานหรือกำหนดคุณสมบัติของเรื่อง ในที่นี้ Title คือหัวข้อ หรือชื่อเรื่องที่ผู้เขียนต้องการจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ และเพื่อให้เนื้อหาที่เราจะเขียน เขียนง่ายขึ้นเราก็ควร กำหนดสิ่งต่างๆต่อไปนี้ ซึ่งส่วนเหล่านี้เรียกว่า body นั้นเอง thesis statement หรือรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า introduction เป็นส่วนที่เกริ่นนำเนื้อพูดถึงภาพรวมของเรื่องที่จะเขียน หากผู้เขียนสามารถเขียนส่วนนี้ได้ดีก็จะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ดี
Main idea เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญเพราะเป็นส่วนที่กำหนดเกี่ยวกับประเด็นต่างๆที่ผู้เขียนต้องการจะเขียนในเนื้อเรื่องซึ่งสามารถ กำหนดได้หลาย main idea และแต่ละ main idea ก็จะมี supporting idea เป็นส่วนสำคัญทำหน้าที่ขยาย main idea ซึ่งแต่ละ main idea ผู้เขียนสามารถกำหนดได้หลาย supporting idea และสุดท้ายคือ conclusion เป็นการสรุปเนื้อเรื่องที่เราเขียนสามารถเขียนแทรกแซงข้อคิดไปได้ตามรูปแบบของเนื้อหาที่ผู้เขียนกำลังเขียน ซึ่งการเขียนสิ่งเหล่านี้สามารถเขียนได้ในรูปแบบของ sentences หรือ please
เมื่อเรากำหนดสิ่งเหล่านี้ถูกต้องตามโมเดลที่วางไว้ ชิ้นงานการเขียนกระบวนการของเราก็เสร็จรวดเร็วและที่สำคัญคือประเด็นต่างๆที่เราจะกล่าวถึงในเนื้อหาก็จะมีตรงตามความต้องการของผู้เขียนทำให้ง่ายและรวดเร็วต่อการเขียน แต่อย่างไรก็ตามในการเขียนโมเดลกระบวนการเขียนเรียงความก็ควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่เราต้องการจะเล่าไม่ควรเขียนวกไปวนมา ควรที่จะหยิบเอาประโนสำคัญๆมาเขียนก่อน เมื่อสรุปก็ควรเขียนเนื้อหาที่ส่วนของ thesis statement ได้กล่าวไว้แต่ควรใช้รูปแบบประโยคที่แตกต่างการสรุปสั้นๆอย่างกะทัดรัดและเข้าใจ
ดังนั้นโมเดลจึงมีความสำคัญในการวางแผนการทำงานเพื่อให้ชิ้นงานที่ออกมานั้นเสร็จเป็นระบบขั้นตอน เหมาะสำหรับการทำงานทุกประเภทเนื่องจากโมเดลมีลักษณะที่แตกต่างกันหลายประเภท ขึ้นอยู่กับผู้ที่ใช้จะเลือกใช้ให้ถูกกับงานที่ทำอยู่หรือไม่ หากมีการนำไปใช้ได้ถูกต้องตามกระบวนการก็จะเกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับการเขียนเรียงความโดยเน้นกระบวนการซึ่งเป็นเรื่องที่อยากเรื่องหนึ่งสำหรับนักเขียน แต่หากใช้กระบวนการเหล่านี้ก็จะทำให้งานเขียนของมีเรื่องราวเล่าเป็นเป็นตามขั้นตอน งานเขียนที่ได้ก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

The passive


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
The passive

จากการเรียนรู้ครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง passive   คือ ประธานเป็นผู้ถูกกระทำหรือประธานเป็นกรรมนั่นเอง  ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับการเรียน Grammar พูดถึง Grammar คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับใครๆหลายคน ในภาษาอังกฤษก็มีด้วยกันหลายเรื่อง ซึ่งเรื่อง Passive เป็นเรื่องที่ใครหลายๆคนคุ้ยเคยและรู้จักกันดี แต่บ่อยครั้งที่มีการใช้กันผิดเพราะสับสนกับการเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างจาก Passive เป็น active หรือจาก active  เป็น Passive  หรือแม้แต่การหาผู้ถูกกระทำบางครั้งผู้ที่แต่งประโยคยังคงมีความสับสนอยู่มาก
Passive   เป็นโครงสร้างประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งกริยาหลักจะอยู่ในรูปของกริยาช่วย be + V3 (past participle) ประโยค passive จะต้องมี กริยา be และ ตามด้วย กริยาช่อง 3 เสมอ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เราเห็น กริยา be ที่ตามด้วยกริยาช่อง 3 ก็ให้แปลกริยา be นั้นว่า "ถูก" ได้เลย   ดังนั้นโครงสร้างประโยค passive  จะมีประธานแล้ว กริยา be และตามด้วย กริยาช่อง 3 ตัวอย่างเช่น  John is helped by Mary. Be ต้อง เป็น is เพราะประธาน เป็นเอกพจน์ และ เป็น present tense, Different kinds of Vegetables are grown in Northern Thailand .ในที่นี้ Be ต้อง เป็น are เพราะประธานเป็น พหูพจน์และ เป็น present tense
 A student was punished by his teacher yesterday. Be ต้อง เป็น was เพราะประธานเป็น เอกพจน์ และ เป็น past tense, Our life will be improved next year.เมื่อไหร่ก็ตามที่ข้างหน้ามีกริยาช่วย (will, can, may, should) กริยา be ไม่ต้องผันใช้ be โดยปรกติประโยค active ที่กริยามีกรรมตามมา จะสามารถเปลี่ยนเป็นประโยค passive ได้โดยความหมายทั่วไปไม่ได้เปลี่ยนไปมาก คือเอากรรมตัวนั้นมาอยู่ในตำแหน่งประธานแล้วตามด้วยกริยา be และเปลี่ยนกริยาเป็นช่อง ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างประโยค active และ ประโยคที่เปลี่ยนไปเป็นประโยค passive  ของมัน 
เมื่อได้เป็นประโยค Passive แล้วก็จะนำมาเปลี่ยนเป็นประโยค active แต่อย่างไรก็ตามความหมายของทั้งสองประโยคไม่ต่างกันต่างกันแค่ ประธานในประโยค active เป็นตัวกระทำกริยา ส่วนในประโยค passive ประธานเป็นตัวถูกกระทำตัวอย่างเช่นเปลี่ยน ประโยค active เป็นประโยค passive ตัวอย่างเช่น  Tom opens the door. เป็น The door is opened by Tom. , Shakespeare wrote that play. เป็น That play was written by Shakespeare.
 ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเห็นการใช้ประโยค passive มากกว่าในภาษาไทยและรูปประโยคก็ต่างกับภาษาไทยในภาอังกฤษ สังเกตได้ว่าในประโยค passive  กรรม ของกริยาในประโยค active จะไปอยู่ในตำแหน่งประธาน  และต้องมี กริยา be  (ซึ่งแปลว่า "ถูก") และกริยาเดิมในประโยค active จะเปลี่ยนไปเป็นกริยาช่อง 3  ส่วน ประธานในประโยค active จะไปอยู่ด้านหลังประโยคและมีคำว่า by นำหน้า  โครงสร้างประโยค passive ก็คล้ายกับ Active Voice นั้นก็คือ Tense ทั้ง 12 เพียงแค่มี Verb to be มาคั่น และกริยาหลักคือ ช่อง 3 หมดเลย และมีอยู่ทั้งหมด 12 รูปแบบประโยคเช่นกัน
 ตั้งแต่เรียนภาษาอังกฤษมาเชื่อว่าทุกคนต้องผ่านการเรียนเกี่ยวกับ Tense ทั้ง 12 เมื่อเราเกิดความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้อย่างแท้จริงแล้วก็จะง่ายต่อการสร้างประโยค Passive   จะเห็นได้ว่า Tense ทั้ง 12 ที่เราเรียนกันนั้นเป็นประโยค Active Voice คือ ประธานเป็นคนกระทำทั้งหมด โดยจะไม่พูดถึง Passive Voice ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โครงสร้าง Active Voice จนเกิดความเข้าใจดีเสียก่อน  ถ้าเข้าใจดีแล้ว การเรียนรู้ Passive Voice ก็จะไม่ยากเท่าไหร่ เพราะหลักการแต่งประโยคก็จะต่างกันไม่มาก แต่ถ้าให้เรียนรู้ควบกันไปเลยทั้งหมดก็จะเกิดการสับสน
ทั้งนี้เหตุผลที่ให้เราเรียนรู้โครงสร้าง Active Voice ให้เข้าใจก่อนนั้นก็เพราะว่ามันเป็นหัวใจของการเรียนภาษาอังกฤษ ถ้าเข้าใจตรงนี้แล้ว การเรียนภาษาอังกฤษก็จะเป็นเรื่องง่ายๆทันที เพราะผู้เรียนสามารถอ่านเนื้อหาต่างๆที่เป็นภาษาอังกฤษได้แล้ว อาจติดขัดบ้างที่คำศัพท์ก็สามารถใช้ดิกชันนารีช่วยได้ และทำให้เราสามารถเรียนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น ดังนั้นการเรียนเรื่อง passive  คือ ประธานเป็นผู้ถูกกระทำหรือประธานเป็นกรรม จะไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากหากผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ Tense ทั้ง 12 อย่างเข้าใจ และเข้าใจหลักการใช้ แค่นี้ก็จะทำให้เราสนุกกับการเรียนรู้เรื่อง passive  

การใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
การใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ

จากกการเรียนรู้ในห้องเรียนดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ  ในโลกนี้ทุกๆย่อมมีภาษาเป็นของตัวเองทุกๆภาษาที่เกิดขึ้นย่อมมีความหมายในตัวมันเอง และความหมายนั้นก็ย่อมแตกต่างกันไป ภาษาเป็นกริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
ภาษาที่เป็นธรรมชาติ เป็นภาษาที่เกิดขึ้นจริงตามชีวิตจริง ทั้งด้านการฟัง พูดและ อ่าน เพื่อให้มีความพร้อมในด้านการใช้ภาษาและเป็นแบบธรรมชาติที่คนเราใช้ภาษาจริงในชีวิตประจำวัน  การใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาตินั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแปลบทความภาษาอังกฤษ ซึ่งเราเป็นคนไทยเนื้อหาที่แปลก็ต้องแปลเป็นเป็นภาษาไทย ภาษาไทยที่เป็นภาษาธรรมชาติ ก็จะมีความหมายว่า ภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปนำมาใช้จริงในสังคมไทย ทำให้ผู้ที่อ่านง่ายแปลสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย และไม่สับสนกับความหมายของการใช้คำ
นอกจากการแปลจะต้องคำนึงถึงการใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติแล้ว ก็ต้องยังคำนึงถึงเหตุผลอื่นๆอีกหลายๆอย่าง นั้นคือ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร สิ่งเหล่านี้ตามหลักภาษาไทยเป็นเรื่องที่น่ากังวนเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากเราไม่รู้จัก หรือศึกษาสิ่งเหล่านี้ดีแล้วก็จะทำให้กระบวนการแปลของเราเกิดปัญญา แปลออกมามีความสับสน เนื้อหาผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม เมื่อสื่อออกมาก็จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาผิดไปจากเดิม
ประโยคต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาษาใด เกิดขึ้นได้นั้นก็ต้องประกอบด้วย คำ ซึ่งเป็นหน่วยของภาษาที่สื่อถึงความหมายซึ่งประกอบด้วยพยางค์หนึ่งพยางค์หรือมากกว่า ปกติแล้วในแต่ละคำจะมีรากศัพท์ของคำแสดงถึงความหมายและที่มาของคำนั้น โดยการนำคำหลายคำมาประกอบกันจะทำให้เกิดวลีหรือประโยคซึ่งใช้สื่อความหมายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไป และแต่ละคำนั้น ก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันด้วยบางคำจะมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง หรือบางครั้งอาจจะมีความหมายเชิงเปรียบเทียบ
ซึ่งความหมายของคำนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามยุสมัย บางครั้งความหมายอาจจะตรงข้ามกันเลยก็อาจจะเป็นได้ เช่นคำว่า กู เมื่อก่อนจะใช้พูดกันทั่วไป แต่ถ้าหากพูดกันในปัจจุบันก็ถือว่าเป็นคำที่หยาบ อาจจะใช้กันในกลุ่มเพื่อนสนิท หรือบางครั้งเมื่อก่อนอาจมีความหมายที่ไม่ดีแต่ในปัจจุบันความหมายดี เช่น เก่งบรรลัย ซึ่งมีความหมายว่า เก่งมากหรือ ใจดีเป็นบ้า มีความหมายว่า ใจดีมาก
                นอกจากนี้ยังมีคำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยให้คำเป็นประโยคที่สมบูรณ์ คำกริยาเป็นคำที่ใช้บ่งบอกถึงการกระทำ การปรากฏ หรือสถานะของสิ่งที่กล่าวถึง คำกริยาอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาษา ในที่นี้เป็นการสร้างคำกริยา เป็นการเสริมท้ายคำกริยาด้วยคำกริยานั้นเอง มันไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากเพราะการทำเช่นนี้จะทำให้ความหมายนั้นชัดเจนขึ้น โดยการนำคำกริยาเหล่านี้มาเติมส่วนท้าย เช่น ขึ้น ลง ไป มา เป็นความหมายบอกประมาณหรือทิศทางนั้นเอง
                บางครั้งมีคำนำคำหลายๆคำมาเข้าคู่กัน การทำเช่นนี้จะทำให้เกิดความหมายใหม่หรือความหมายนั้นอาจจะคงเดิมอยู่ การทำเช่นนี้เรียกว่าการเข้าคู่คำ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายแบบเช่น คู่คำพ้องคำความหมาย คำเหล่านนั้นจะเป็นคำภาษาเดียวกัน ความหมายเดียวกัน หรือแม้แต่ภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศ เช่น ทรัพย์สิน (สันสกฤษ และจีน) สุขสบาย (บาลี และบาลี)
                คู่คำที่มีความหมายตรงกันข้าม ส่วนมากเมื่อนำคำเหล่านี้มาเข้ากันแล้วก็จะเกิดความหมายใหม่ขึ้นมา เช่น คนมีคนจน หมายถึง ทุกๆ คน  งานหนักงานเบา หมายถึง งานทุกประเภท นอกจากนี้ยังมีคู่คำที่มีความหมายต่างกัน สิ่งที่ได้ก็จะได้ความหมายใหม่แต่อย่างไรก็ตามความหมายก็ยังคงเช่นเดิมอยู่ เช่น ลูกเมีย หมายถึง ครอบครัว หรือรถไฟ หมายถึงรถที่เดินได้ด้วยพลังงานจากไฟหรือความร้อน
                นอกจากนี้ยังมีทักษะการแปลอักอย่างหนึ่งซึ่งต้องใช้การแปลขั้นสูงในการแปล ผู้แปลจะต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาส่วนนี้เป็นอย่างมาก นั้นก็คือการแปลสำนวนโวหารซึ่งคำกล่าวหรือถ้อยคำคมคายสั้นๆ ที่ผูกเข้าเป็นประโยค และมีความหมายไม่ตรงตามตัว เช่น เขียนเสือให้วัวกลัว หมายถึง ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญ
                การใช้โวหารนั้นมีด้วยกันหลายแบบความหมายไม่ชัดเจน หรือไม่ตรงตัว ทำให้เกิดการเข้าใจผิด ถ้าเราศึกษาสิ่งเหล่านี้บ่อยครั้งก็จะทำให้เรารู้จักหรือคุ้นเคยกับโวหารต่างๆ ในใช้โวหารนั้นถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ยากแต่ก็ทำให้บทความ หรือ เนื้อหาในวรรณกรรมนั้นมีความสนุก เพิ่มความบันเทิงให้กับผู้อ่าน แต่เมื่อใดที่ผู้อ่านไม่เข้าใจสิ่งที่ตามมานั้นก็คือ การเข้าใจเนื้อหาที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
                บางครั้งสำนวนก็จะมีการใช้คำซ้ำ แต่จะต้องมีรูปและความหมายที่เหมือนกันในการใช้คำซ้ำนั้นจะทำให้เกิดความไพเราะ รูปคำของเสียงที่สั้นก็จะยาวเมื่อฟังแล้วก็สละสลวยขึ้น เพื่อให้คำมีความหมายอ่อนลง แต่จะใช้ในรูปแบบของประโยคคำสั่งเป็นการทำให้ประโยคคำสั่งดูเหมือนเป็นประโยคขอร้อง หรืออาจจะใช้เมื่อตัวละครตัวนั้นมีอาการที่เกิดความไม่แน่ใจกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดสักอย่าง
                เพื่อให้ได้คำใหม่ๆใช้ ทำให้เกิดคำที่หลากหลายไม่เน่าเบื่อ และดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่น ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึงไม่ลอกเลียนแบบใครคิด ขึ้นเองได้ และเพื่อแสดงว่ามีจำนวนมาก ปริมาณมาก หรือเป็นพหูพจน์  เช่น เด็กๆ มากินขนม แต่อย่างไรก็ตามการใช้คำซ้ำนั้นก็มีข้อเสียเช่นกัน ซึ่งข้อเสียนั้นก็คือการใช้คำที่ฟุ่มเฟือย
                และโวหารที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือโวหารภาพพจน์เป็นโวหารที่ผู้แปลต้องตระหนักถึงความสำคัญด้วยเช่นกัน เพราะงานเขียนที่เป็นกวีภาพพจน์นั้นเป็นงานที่มีความสลับซับซ้อน ผู้แปลจะต้องอาศัยทักษะความรู้เป็นอย่างมาก อีกทั้งผู้อ่านเองก็เช่นกันถ้าหากว่าไม่เข้าใจเกี่ยวกับโวหารก็จะทำให้ไม่เข้าใจและตามไม่ทันในส่วนของเนื้อหา
                ทุกๆชาติก็จะมีโวหารที่แตกต่างกัน และมีด้วยกันหลายประเภท นั้นคือ โวหารอุปมา การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มี ความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า      " เหมือน "     โดยต้องการที่จะชี้แจง หรืออธิบาย พูดถึง หรือเพิ่มความสวยงามให้กับสิ่งของนั้นๆ รูปแบบของโวหารจะสั้นๆ เป็นประโยค หรือ โคลงกลอน
                อุปลักษณ์ ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัย  ให้เข้าใจเอาเอง  ที่สำคัญ  อุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา การเปรียบเทียบเช่นนี้จะแสดงถึงความเก่งของกวี จะใช้การใช้คำพื้นๆซึ่งนำไปสู่ความหมายใหม่ที่น่าตื่นเต้นกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ตามก็ยังสังเกตได้ว่ามีร่องรอยของความหมายเดิมยังคงเหลืออยู่
                โวหารเย้ยหยัน เป็นการใช้คำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อเหน็บแนมหรือชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่อง โดยการใช้โวหารนี้ผู้แต่งจะต้องไม่อวดฉลาดหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือแกล้งโง่นั้นเอง จะเป็นใช้คำพูดที่ถากถางเหน็บแนมตนเอง  ต่อมาเป็นโวหารขัดแย้งคำจะมีความหมายตรงข้ามกันต่อก็ยังคงมีความสมดุลกัน เช่น คนสูงตำหนิตัวเอง คนต่ำตำหนิผู้อื่น โวหารชนิดนี้เราสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า Paradox ซึ่งจะเป็นการขัดแย้งกับความจริง ความคิด หรือความเชื่อ ทั่วไป
                โวหารที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด โวหารชนนิดนี้จะเลือกเอาแต่คุณสมบัติที่โดดเด่นของสิ่งต่างๆยกออกมากล่าวให้เห็นกันตรงๆไม่ว่าจะเป็นของใช้หรือสิ่งของต่างๆ บางครั้งก็มีการนำคุณสมบัติที่โดดเด่นเหล่านี้มาเป็นสัญญาลักษณ์ จนกลายเป็นสามานยนาม ต่อมา โวหารบุคคลาธิษฐาน เป็นการนำสิ่งต่างๆไม่ว่าจะมีชีวิตหรือ ไม่มีชีวิต มีพูดให้เป็นเหมือนบุคคล และบางโวหารก็จะเน้นความเห็นที่สำคัญ มีการแสดงอารมณ์ที่ชัดเจน และรุนแรง และต้องมีการอธิบายข้อเท็จจริง โวหารชนิดนี้เรียกว่าโวหารกล่าวเกินจริง
                จากที่กล่าวมาก็จะเห็นว่าโวหารมีด้วยกันหลายชนิดสามรถเลือกเขียนได้ตามความต้องการของผู้เขียน ซึ่งลักษณะของโวหารที่ดีนั้น ผู้เขียนต้องคำนึงถึง การใช้ภาษาที่ถูกหลัก  กล่าวคือ จะต้องไม่ขัดกับหลักไวยากรณ์ ถ้าเราเขียนผิดหลักก็จะทำให้ความหมายนั้นผิดเพี้ยนไป การสื่อความหมายที่ผิดนั้นเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก เพราะจะทำให้ผู้ที่อ่านเกิดความสับสนและเข้าใจเนื้อหาผิด
                การใช้คำไม่กำกวม สำนวน คำ ประโยค จะต้องมีความชัดเจน เพราะจะทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง ต่อมาก็ความมีชีวิตชีวา จะทำให้เนื้อหาน่าอ่าน สนุกชวนให้ผู้อ่านอยากที่จะอ่าน ไม่เนิบนาบ เฉื่อยชา ยืดยาด ยิ่งไปกว่านั้นความสมเหตุสมผล ของเนื้อหาก็ถือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้เนื้อหาที่อ่านนั้นมีความน่าเชื่อถือ ไม่สร้างความหลงผิดให้แก่ผู้ที่อ่าน
                และ การใช้คำพูดในเนื้อหาจะต้องมีความคมคายเฉียบแหลม หมายถึงจะต้องเป็นคำพูดที่หนักแน่น มีการใช้คำที่ไม่ฟุ่มเฟือยแต่สามารถแฟงเนื้อหาข้อคิดในเนื้อเรื่องได้ ส่วนมากผู้เขียนจึงเลือกใช้สำนวนสุภาษิต คำพังเพยนั้นเอง
ดังนั้นการใช้ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นเป็นเรื่องที่ผู้เขียน และผู้แปลจะต้องคำนึงถึง เนื่องจากในโลกนี้ทุกๆย่อมมีภาษาเป็นของตัวเองทุกๆภาษาที่เกิดขึ้นย่อมมีความหมายในตัวมันเองผู้แปลจะต้องมั่นศึกษาหาความรู้รอบๆตัวจนเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน นอกจากนี้ภาษานี้เป็นแบบธรรมชาติที่คนเราใช้ภาษาจริงในชีวิตประจำวัน เมื่อนำมาแปลแล้วก็จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจดียิ่งขึ้น และสนุกกับเนื้อหาอีกด้วย




The passive


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
The passive

จากการเรียนรู้ครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง passive   คือ ประธานเป็นผู้ถูกกระทำหรือประธานเป็นกรรมนั่นเอง  ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับการเรียน Grammar พูดถึง Grammar คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับใครๆหลายคน ในภาษาอังกฤษก็มีด้วยกันหลายเรื่อง ซึ่งเรื่อง Passive เป็นเรื่องที่ใครหลายๆคนคุ้ยเคยและรู้จักกันดี แต่บ่อยครั้งที่มีการใช้กันผิดเพราะสับสนกับการเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างจาก Passive เป็น active หรือจาก active  เป็น Passive  หรือแม้แต่การหาผู้ถูกกระทำบางครั้งผู้ที่แต่งประโยคยังคงมีความสับสนอยู่มาก
Passive   เป็นโครงสร้างประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งกริยาหลักจะอยู่ในรูปของกริยาช่วย be + V3 (past participle) ประโยค passive จะต้องมี กริยา be และ ตามด้วย กริยาช่อง 3 เสมอ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เราเห็น กริยา be ที่ตามด้วยกริยาช่อง 3 ก็ให้แปลกริยา be นั้นว่า "ถูก" ได้เลย   ดังนั้นโครงสร้างประโยค passive  จะมีประธานแล้ว กริยา be และตามด้วย กริยาช่อง 3 ตัวอย่างเช่น  John is helped by Mary. Be ต้อง เป็น is เพราะประธาน เป็นเอกพจน์ และ เป็น present tense, Different kinds of Vegetables are grown in Northern Thailand .ในที่นี้ Be ต้อง เป็น are เพราะประธานเป็น พหูพจน์และ เป็น present tense
 A student was punished by his teacher yesterday. Be ต้อง เป็น was เพราะประธานเป็น เอกพจน์ และ เป็น past tense, Our life will be improved next year.เมื่อไหร่ก็ตามที่ข้างหน้ามีกริยาช่วย (will, can, may, should) กริยา be ไม่ต้องผันใช้ be โดยปรกติประโยค active ที่กริยามีกรรมตามมา จะสามารถเปลี่ยนเป็นประโยค passive ได้โดยความหมายทั่วไปไม่ได้เปลี่ยนไปมาก คือเอากรรมตัวนั้นมาอยู่ในตำแหน่งประธานแล้วตามด้วยกริยา be และเปลี่ยนกริยาเป็นช่อง ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างประโยค active และ ประโยคที่เปลี่ยนไปเป็นประโยค passive  ของมัน 
เมื่อได้เป็นประโยค Passive แล้วก็จะนำมาเปลี่ยนเป็นประโยค active แต่อย่างไรก็ตามความหมายของทั้งสองประโยคไม่ต่างกันต่างกันแค่ ประธานในประโยค active เป็นตัวกระทำกริยา ส่วนในประโยค passive ประธานเป็นตัวถูกกระทำตัวอย่างเช่นเปลี่ยน ประโยค active เป็นประโยค passive ตัวอย่างเช่น  Tom opens the door. เป็น The door is opened by Tom. , Shakespeare wrote that play. เป็น That play was written by Shakespeare.
 ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเห็นการใช้ประโยค passive มากกว่าในภาษาไทยและรูปประโยคก็ต่างกับภาษาไทยในภาอังกฤษ สังเกตได้ว่าในประโยค passive  กรรม ของกริยาในประโยค active จะไปอยู่ในตำแหน่งประธาน  และต้องมี กริยา be  (ซึ่งแปลว่า "ถูก") และกริยาเดิมในประโยค active จะเปลี่ยนไปเป็นกริยาช่อง 3  ส่วน ประธานในประโยค active จะไปอยู่ด้านหลังประโยคและมีคำว่า by นำหน้า  โครงสร้างประโยค passive ก็คล้ายกับ Active Voice นั้นก็คือ Tense ทั้ง 12 เพียงแค่มี Verb to be มาคั่น และกริยาหลักคือ ช่อง 3 หมดเลย และมีอยู่ทั้งหมด 12 รูปแบบประโยคเช่นกัน
 ตั้งแต่เรียนภาษาอังกฤษมาเชื่อว่าทุกคนต้องผ่านการเรียนเกี่ยวกับ Tense ทั้ง 12 เมื่อเราเกิดความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้อย่างแท้จริงแล้วก็จะง่ายต่อการสร้างประโยค Passive   จะเห็นได้ว่า Tense ทั้ง 12 ที่เราเรียนกันนั้นเป็นประโยค Active Voice คือ ประธานเป็นคนกระทำทั้งหมด โดยจะไม่พูดถึง Passive Voice ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โครงสร้าง Active Voice จนเกิดความเข้าใจดีเสียก่อน  ถ้าเข้าใจดีแล้ว การเรียนรู้ Passive Voice ก็จะไม่ยากเท่าไหร่ เพราะหลักการแต่งประโยคก็จะต่างกันไม่มาก แต่ถ้าให้เรียนรู้ควบกันไปเลยทั้งหมดก็จะเกิดการสับสน
ทั้งนี้เหตุผลที่ให้เราเรียนรู้โครงสร้าง Active Voice ให้เข้าใจก่อนนั้นก็เพราะว่ามันเป็นหัวใจของการเรียนภาษาอังกฤษ ถ้าเข้าใจตรงนี้แล้ว การเรียนภาษาอังกฤษก็จะเป็นเรื่องง่ายๆทันที เพราะผู้เรียนสามารถอ่านเนื้อหาต่างๆที่เป็นภาษาอังกฤษได้แล้ว อาจติดขัดบ้างที่คำศัพท์ก็สามารถใช้ดิกชันนารีช่วยได้ และทำให้เราสามารถเรียนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น ดังนั้นการเรียนเรื่อง passive  คือ ประธานเป็นผู้ถูกกระทำหรือประธานเป็นกรรม จะไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากหากผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ Tense ทั้ง 12 อย่างเข้าใจ และเข้าใจหลักการใช้ แค่นี้ก็จะทำให้เราสนุกกับการเรียนรู้เรื่อง passive  

หลักการแปลวรรณกรรม


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
หลักการแปลวรรณกรรม

ในการเรียนรู้ครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องหลักการแปลวรรณกรรม ซึ่งถือว่าเป็นศาสตร์หนึ่งที่ยากพอสมควรเนื่องจากคำศัพท์ที่ใช้จะแตกต่างจากคำศัพท์ปกติ และการที่จะมาแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ได้นั้นผู้แปลก็จะต้องมีความเข้าใจความหมายของภาษาต้นฉบับเสียก่อน ปละศึกษาความหมายของคำศัพท์นั้นเมื่อเรารู้ความหมายแล้วเราก็สามารถเลือกใช้คำศัพท์ได้ถูกต้อง
การแปลเนื้อหานั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องยาก   แต่การแปลวรรณกรรมนั้นยากยิ่งกว่า เชื่อว่าหลายาคนคงจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเลือกใช้คำศัพท์ หากผู้แปลเข้าใจความหมายของต้นฉบับผิดก็จะแปลออกมาผิด  วรรณกรรมถือว่าเป็นที่รู้จักกันดีเพราะมีมาตั้งแต่โบราณ หลายคนก็รู้จักกันดีในนามของวรรณคดี งานเขียนประเภทนี้จัดเป็นงานเขียนประเภทบันเทิงคดีมุ่งให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิง
วรรณกรรมไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแต่ในประเทศไทย ประเทศอื่นๆเช่น ประเทศอังกฤษ อียิป ก็มี ซึ่งแต่ละเรื่องขึ้นอยู่กับลักษณะความเป็นอยู่ของประเทศนั้นๆ  บางครั้งคนส่วนหนึ่งจึงใช้วรรณกรรมในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ เพราะวรรณกรรมจะสอดแทรกวัฒนธรรม และประเพณีเอาไว้ด้วย
การแปลวรรณกรรมสิ่งที่ต้องคำนึงคือ ความหมายที่ยังคงเดิมของเนื้อเรื่องและที่สำคัญที่สุดคือการรักษาอัถรสของเรื่องไว้ ซึ่งผู้แปลจะต้องมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมากและงานที่จัดอยู่ในประเภทวรรณกรรมก็แบ่งออกเป็นหลายชนิดด้วยกัน เช่น นิยาย นวนิยาย เรื่องสั้น  นิทาน  บทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง
และงานทุกชิ้นนั้นก็จะมีหลักการแปล  อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันบ้างตามลักษณะของประเภทงาน อาทิเช่น นวนิยาย เป็นหนังสือชนิดหนึ่งที่ทั่วประเทศให้ความนิยมโดยเฉพาะกลุ่มของวัยรุ่น ที่ผู้แปลนวนิยายหรือบันเทิงคดีจะได้รับชื่อเสียงเป้นอย่างมาก ซึ่งผู้แปลต้องรักษาศิลปะในการใช้ภาษา ใช้ถ้อยคำที่สละสลวยไพเราะสอดคล้องกับต้นฉบับ
ในการแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม ชื่อเรื่องถือว่าเป็นสิ่งสำคัญของเรื่องเพราะมันเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเป็นสิ่งแรก (แต่งจึงต้องมีความพิถีพิถันในการตั้งชื่อเรื่องมากที่สุด ดังนั้นผู้แปลจะต้องแปลชื่อเรื่องอย่างพิถีพิถันด้วย โดยจะมีหลักการแปลอยู่ 4 แบบ นั้นก็คือ แบบที่ 1 ไม่แปล แบบที่ 2 แปลตรงตัว แบบที่ 3 แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน และแบบที่ 4 ตั้งชื่อใหม่โดยตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง
แบบที่ 1 ไม่แปล เป็นการใช้วิธีการถ่ายทอดเสียงหรือถ่ายทอดตามตัวอักษร(ทับศัพท์) เพราะชื่อเรื่องมีความน่าสนใจและเป็นที่รูจักกันแพร่หลายสาเหตุนี้ผู้แปลจึงเลือกที่จะไม่แปล แบบที่ 2 แปลตรงตัว เนื่องจากต้นฉบับมีความสมบูรณ์ ผู้แปลจึงอยากที่จะรักษาคำและความหมายไว้ด้วยภาษาที่ดีและกะทัดรัด
แบบที่ 3 แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน เมื่อเนื้อหาในฉบับมีความสมบูรณ์ไม่เพียงพอ เนื้อหาบางคำไม่ค่อยดึงดูดผู้แปลจึงเลือกใช้วิธีนี้ และแบบที่ 4 ตั้งชื่อใหม่โดยตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง รูปแบบนี้ผู้แปลจะต้องใช้ความเข้าใจกับชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องเป็นอย่างมาก  สามารถจับประเด็นและจุดประสงค์ของเรื่องได้ชัดเจนจริงสามารถตั้งชื่อเรื่องใหม่ได้
ต่อไปเป็นการแปลบทสนทนา เป็นสิ่งที่ยุ่งยากที่สุดเนื่องจากภาษาที่ใช้กันมีความหลากหลาย หลายระดับ เมื่อแปลจะต้องแปลตามระดับสภาพของสังคมของผู้พูดบางครั้งอาจจะใช้คำราชาศัพท์ ภาษาสุภาพ ภาษาที่เป็นทางการ และบางครั้งอาจจะใช้ภาษาระดับตลาด ซึ่งเต็มไปด้วยคำแสลง คำตัดสั้นๆ ที่มีการใช้กันจริงในชีวิตประจำวัน ถ้าหากผู้แปลไม่มีความชำนาญหรือคุ้นเคยกับภาษาเหล่านี้ก็จะยากและเป็นอุปสรรคในการแปล
ในการแปลบทสนทนาสิ่งที่ต้องคำนึงคือผู้แปลจะต้องแปลอย่างเป็นธรรมชาติแปลให้สอดคล้องกับระดับภาษาและฐานะของผู้พูด หากผู้แปล แปลคำต่อคำเมื่อสื่อออกมา ฟังแล้วก็จะดูแข็ง ไม่เป็นธรรมชาติ
การแปลบบรรยาย  เป็นบทความที่ใช้เล่าเรื่องราวเหตุการณ์จึงมักเลือกใช้ภาษาเขียนที่ขัดเกลาและแตกต่างกันหลายระดับ ทำให้เกิดความยุ่งยากในการแปลทีจะทำให้สอดคล้องกับต้นฉบับเดิม
                ภาษาที่ทำให้เกิดความยุ่งยากในบทบรรยายนั่นก็คือ ภาษาสังคม กับภาษาวรรณกรรมคดี ภาษาในสังคมมนุษย์มีการใช้ภาษาที่แตกต่างกัน การที่เราจะเรียนรู้ภาษาในสังคมนั้นได้จะต้องผ่านการฝึกฝนและความเคยชินเป็นเวลานาน และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้การใช้ภาษาต่างกันนั่นก็คือ อาชีพ วัย เพศ และสถานภาพทางสังคม สังคมจึงมีอิทธิพลต่อภาษาพูดเป็นอย่างมาก และเมื่อเวลาผ่านไปภาษาของคคนในสังคมนั้นก้ย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
ภาษาถิ่น  เป็นภาษาที่ใช้กันในวรรณกรรมประเภทต่างๆ เป็นภาษาหนึ่งที่มีความไพเราะและสละสลวย มีความถูกต้องตามความหมาย และไวยากรณ์ แต่ภาษานี้จะไม่นิยมใช้กันจริงในชีวิตประจำวันแต่นิยมใช้เขียนกันในวรรณกรรมเพื่อความไพเราะในการอ่าน แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนจะต้องรู้จักการเล่นความหมายของคำ  เสียงของคำ  เพื่อสร้างอารมณ์ในการอ่าน และเพื่อให้ได้อัถรสควรใช้สำนวนที่คมคายในทำนองสุภาษิตด้วย
ในการแปลวรรณกรรมนั้นควรยึดข้อปฏิบัติดังนี้ คือ ควรที่อ่านเรื่องราวให้เข้าใจก่อนหลังจากนั้นก็มาจับประเด็นที่สำคัญของเรื่อง และนำเนื้อเรื่องมาย่อ ควรที่จะทำผังสัมพันธ์ของตัวละครที่สำคัญในเนื้อเรื่อง หลังจากนั้นนำสำนวนต่างๆมาวิเคราะห์ ค้นหาความหมายหรือคำศัพท์ที่ไม่รู้จัก เพื่อให้เราเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งแปลได้ตรงความหมายไม่ผิดเพี้ยน
ในการแปลให้เป็นภาษาไทยควรใช้ถ้อยคำหรือสำนวนที่เรียบง่าย อ่านเข้าใจชัดเจน  และควรใช้ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติเพราะฟังแล้วดูสละสลวย ต่อไปเป็นการแปลละคร ซึ่งละครจัดเป็นวรรณกรรมการแสดงทุกคนรู้จักกันดี บางครั้งอาจจะมีบทเพลงหรือดนตรีประกอบ ถ้าหากว่าไม่มีสิ่งเหล่านี้เรียกว่าละครพูด
ในบทละครปัจจุบันหรือที่เรียกว่าบทละครสมัยใหม่ ส่วนมากจะเป็นบทเจรจาหรือพูด ในการเขียนบทละครพูดที่ดีไม่ควรใช้ถ้อยคำที่ยืดยาวแต่ควรใช้ถ้อยคำที่กะทัดรัด ชัดเจน  บทละครนั้นจะใช้บทบรรยายของตัวละคร เป็นคำบรรยายฉาก สถานที่ เวลา และการเปิดตัวละคร การแปลตัวละครจะดำเนินการเดียวกับการแปลเรื่องสั้น  นวนิยาย นิทาน   นิยาย โดยเริ่มจากการอ่านต้นฉบับอย่างเข้าใจ  และหาความหมายนำมาแปลด้วยภาษาที่เหมาะสม
นอกจากนี้การอ่านต้นฉบับตัวละคร การที่เราจะเข้าใจบทละครต่างๆได้ดี ควรที่จะอ่านหลายๆครั้ง เพื่อทำความเข้าใจควรจะตั้งคำถามในขณะที่อ่านด้วยว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด อย่างไร  หลังจากนั้นก็หาความหมายของคำและคำศัพท์ที่เราไม่รู้จักหรือคุ้นเคย และถ้าให้ดีควรที่จะศึกษาหาความรู้นอกเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นฉบับ
บทภาพยนตร์ การที่เราจะนำมาใช้ในงานแปลเราจะต้องมีการถ่ายถอดเป็นบทเขียนก่อน  หากไม่มีบทเขียนผู้แปลจะต้องฟังหรือดูจากฟิล์ม โดยมีจุดประสงค์ในการแปล 2 ประการคือ ผู้ฟังจะต้องได้ยินเสียงของนักแสดงพุดเป็นภาษาไทยก่อนที่จะนำบทแปลไปพากย์หรืออัดเสียงในฟิล์ม และผู้ฟังจะต้องได้ยินเสียงเดิมของนักแสดงและเห็นคำแปล ก่อนที่จะนำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์มดั้งเดิม
สังเกตได้ว่าบทภาพยนตร์นั้นก็เหมือนกับบทละคร ส่วนมากจะประกอบด้วยบทสนทนา แต่บทภาพยนตร์นั้นจะมีบทละครที่หลากหลายกว่า และจะมีลักษณะของตัวละครที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนการพูดจะเน้นความรวดเร็วซึ่งแตกต่างจากบทละครที่พูดช้าสิ่งเหลานี้จะมีผลต่อการแปลบท ซึ่งผู้แปลจะต้องแปลอย่างรวดเร็วทันกับบทบาทของการแสดง
ซึ่งจุดประสงค์ของการเขียนบทภาพยนตร์นั้นเขียนเพื่อนำไปแสดง เพื่อความฉับไวในการรักษาความต่อเนื่องของภาพและเนื้อหา สิ่งที่ผู้แปลต้องตระหนักถึงคือลักษณะเฉพาะของบทเพื่อป้องกันความผิดพลาดของเนื้อหาในเรื่อง ของเนื้อเรื่อง และการแปลภาพยนตร์ก็มีขั้นตอนเดียวกับการแปลละคร การ์ตูน ทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน โดยจะอ่านข้อความ ภาพ และฉากพร้อมกัน
 นิทานหรือ นิยาย เป็นบันเทิงคดีประเภทหนึ่งที่มีตั้งแต่สมัยโบราณมีการเล่ากันด้วยปากและวาจาเนื่องจากสมัยนั้นไม่มีการใช้ตัวอักษร ในการเล่าจะใช้วิธีที่ไม่ซับซ้อน ในการเล่านิทานหรือนิยายเพื่อนำคำสั่งสอนของศาสนาไปเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้ และเล่ากันเพื่อสร้างความสนุกสนานให้แก่เด็ก อีกทั้งยังฝึกจินตนาการให้ผู้ฟังอีกด้วย
ซึ่งตามหลักวรรณคดีสากลได้แบ่งประเภทนิทานไว้ดังนี้ Tale เป็นเรื่องเล่าที่แต่งขึ้นมา จะเล่าเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองในด้านของเนื้อหาจะดูเป็นธรรมชาติแต่ที่ดูแปลกตาก็คือวิธีเล่า Myth เป็นเรื่องเล่าที่มาตั้งแต่โบราณ เหตุการณ์จะเกี่ยวกับศาสนาหรือเทพเจ้า มีพลังอำนาจลึกลับของธรรมชาติ ซึ่งจะมุ่งให้อารมณ์เร้าร้อนและแสดงความเป็นเหตุเป็นผลให้ผู้ฟัง
Fable เป็นเรื่องสั้นที่มุ่งให้เห็นถึงสัจธรรม ส่วนใหญ่ตัวละครเป็นสัตว์หรือคน เช่น นิทานอิสป Fabliau เป็นเรื่องเล่าสั้นๆ ที่แต่งเป็นร้องกรอง สามารถนำมาร้องเพลงได้ Fairy Tales เป็นนิทานที่เกี่ยวกับเทพเจ้าที่ให้ความสนุกและสอนใจผู้ฟัง และ Legend เป้นเรื่องราวเกี่ยวกับนักบุญหรือวีรบุรุษท้องถิ่นที่มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง
ในการอ่านต้นฉบับนิทานนั้น ครั้งแรกก็จะอ่านกันอย่างรวดเร็วหลักจากนั้นก็ตั้งคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่หน เมื่อใด ทำไม เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของเนื้อเรื่องหลักจากนั้นก็เริ่มอ่านอีกครั้งอย่างช้าๆหาความหมายหรือคำศัพท์ที่ยังไม่รู้จักหรือเข้าใจ ส่วนมากในนิทานจะใช้คำศัพท์ระดับกลาง ตอนจบก็จะจบด้วยคำสอนส่วนชื่อเรื่องนั้นเราสามารถใช้วิธีแปลตรงตัวได้
เรื่องเล่าเป็นเรื่องที่สั้นๆ แฝงด้วยอารมณ์ขันมักปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร จึงมักใช้ถ้อยคำที่กะทัดรัด บางครั้งผู้เขียนเองก็จงใจทำให้กำกวมเพราะสามารถสร้างอารมณ์ขันได้ เรื่องเล่าจะประกอบด้วยตัวละคร 1-2 ตัว ซึ่งทั้งสองตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กันไม่สามารถตัดตัวใดตัวหนึ่งออกได้ และเหตุการณ์จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนจบ  การอ่านเรื่องใดๆก็ตามควรที่จะอ่านให้เข้าใจเสียก่อน การแปลเรื่องเล่าก็เช่นกันโดยอาศัย 4 ขั้นตอนดังนี้ในการทำความเข้าใจ คือ ใคร ทำอะไร ส่วนทางภาษาก็จะใช้ภาษาระดับกลางจะมีความกำกวมและอารมณ์ขัน
ส่วนการ์ตูนเป็นวรรณกรรมอย่างหนึ่งที่เด็กให้ความสนใจเป้นอย่างมากเพราะการ์ตูนให้ความสนุกสนานและเพลิดเพลิน อีกทั้งยังมีการสอดแทรกสาระลงไปในเนื้อหา นอกจากนี้การ์ตูนยังช่วยใช้เด็กรู้จักใช้จินตนาการ และสร้างสรรค์ ฝึกสังเกตและวิเคราะห์ อีกทั้งยังช่วยให้เด็กมีไหวพริบเพราะผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับ ความหมายและภาษา
บางครั้งการเรียนการสอนของครูสามารถนำการ์ตูนมาเป็นสื่อในการเรียนเพราะจะช่วยดึงดูดความสนใจเด็กๆได้ดี หลักการแปลการ์ตูนนั้นก็จะใช้คำที่สั้นและชัดเจน เข้าใจ สื่อความหมายได้ ส่วนภาษาที่ใช้นั้นก็มีด้วยกันหลายระดับขึ้นอยู่กับตัวละคร และผู้แปลก็ต้องรู้จักสังเกตภาษาของตัวละครด้วยว่าสอดคล้องกันหรือไม่
ซึ่งในการแปลการ์ตูนนั้นก็เหมือนกับการแปลเรื่องเล่า คือผู้แปลต้องอ่านเนื้อเรื่องให้เข้าใจก่อนโดยใช้ภาพในการทำความเข้าใจประกอบ หลังจากนั้นก็แปลโดยใช้ถ้อยคำสั้นๆและสุดท้ายการแปลกวีนิพนธ์ เป็นวรรณกรรมที่แต่งโดยร้อยกรอง และมีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ทั้งด้านจำนวนคำหรือพยางค์ เสียงที่หนัก-เบา และจังหวะ กวีนิพนธ์นี้มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณ สร้างขึ้นมาเพื่อให้ความรู้ สอนศีลธรรมและยังให้ความบันเทิงอีกด้วย
แต่ในปัจจุบันนั้นกวีนิพนธ์มีขนาดสั้นลง มุ่งแสดงความรู้สึกมากกว่าและที่สำคัญคือไม่เคร่งเรื่องฉันทลักษณ์ และเปิดโอกาสให้แสดงความรู้สึกอย่างกว้างขวาง เพราะเหตุนี้การแปลกวีนิพนธ์จะต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทีตั้งไว้ด้วย ซึ่งการแปลกวีนิพนธ์จะมีลักษณะการแปลที่แตกต่างกันออกไป เช่นการแปลร้อยกรอง แปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต
แต่ก็ได้มีปัญหาต่างๆที่ที่ตามมาในการแปลกวีนิพนธ์ นั้นก็คือความเข้าใจซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในการแปลงานประเภทต่างๆ ในการกำจัดปัญหานี้ผู้แปลเองจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิหลังของกวีอย่างเข้าใจถ่องแท้ ส่วนการเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน ก็เช่นกันผู้แปลจะต้องรู้จักใช้คำที่สั้นกะทัดรัด มีเสียงหนักเบาเหมาะกับจังหวะ และที่สำคัญคือต้องสัมผัสกันด้วย
ดังนั้นการแปลวรรณกรรมนั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะวรรณกรรมนั้นมีมากมายหลายประเภท การใช้สำนวนหรือคำศัพท์ก็ย่อมแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การที่เราจะแปลออกมาได้ดีจะต้องอ่านและทำความเข้าใจกับเนื้อหาให้ดีเสียก่อนหลายๆรอบ พยายามศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับงานแปลชิ้นนั้น เพื่อให้งานที่แปลออกมาดูสมบูรณ์ผู้อ่านสนุกกับเรื่องที่เราแปล(หลัการแปลวรรณกรรม)




Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com