วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

จงแปลประโยคต่อไปนี้เป็นภาษาไทย

       จงแปลประโยคต่อไปนี้เป็นภาษาไทย


                       1.       Fist-year students  have  studied  English for at least 10 years.
·         ปีแรกที่นักเรียน  เรียนภาษาอังกฤษน้อยที่สุดใน 10 ปี

                       2.       An accident took place when the plane was flying above a paddy field.
·         สถานที่มีปัญหาเมื่อข้าวเปลือกพัดปลิวลอยตามทุ่งนา

                   

Learning Log ครั้งที่ 1

Learning Log

ครั้งที่ 1



จากการศึกษาบทเรียนในครั้งนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการฝึกแปลโดยแปลประโยคง่ายๆจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย  การแปลนั้นเป็นสิ่งที่ยากผู้แปลจะต้องมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งพวกเราได้ฝึกการเรียนรู้กันไปอย่างช้าๆจากประโยคที่ง่ายไปหาประโยคที่ยาก
จากการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน พบว่าสิ่งที่ได้ในห้องเรียนเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการแปล ซึ่งการแปลนั้นเป็นสิ่งที่ยาก ผู้แปลจะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก  การแปลนั้นจะต้องแปลให้ถูกต้องและแม่นยำ ทั้งเรื่องการใช้ Tense หรือคำศัพท์เพราะคำศัพท์บางคำสามารถแปลความได้หลายความหมายหากผู้แปลเลือกใช้ผิดก็จะทำให้เกิดปัญหาในการแปล และที่สำคัญเนื้อหาการแปลจะต้องคงความเดิม อาจมีการตัดหรือเพิ่มคำบางคำเพื่อให้ประโยคนั้นสมบูรณ์และเข้าใจง่ายขึ้น   ในการเรียนครั้งนี้ได้ฝึกแปลประโยคทีละประโยคจากประโยคที่ง่ายไปยาก ฝึกแปลไปมาจากประโยคที่เป็นภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย พบว่าประโยคหนึ่งประโยคสามรถแปลได้หลายความหมายอาจมีการเพิ่มคำเพื่อให้ประโยคที่แปลออกมานั้นดูสละสลวยหรืออาจตัดคำเพื่อให้ประโยคดูกระชับมากขึ้น  และโดยเฉพาะการดูรูปกาลของประโยคหากเราแปลประโยคผิดก็จะทำให้ความหมายเปลี่ยนไปได้
และการศึกษานอกห้องเรียนสิ่งที่ได้เรียนรู้คือการฝึกแปลประโยคจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยโดยการดูหนัง จาก CD เป็นการ์ตูนเรื่อง Frozen แนวแฟนตาซี  และดราม่า ลักษณะเนื้อเรื่องคือเจ้าหญิงแอลซ่าเป็นราชินีองค์หนึ่งและมีน้องสาวชื่อแอนนาทั้งสองรักกันมากแต่ไม่สามารถเข้าใกล้กันได้เพราะแอลซ่านั้นมีคำสาปที่ติดตัวหากแตะต้องสิ่งใดสิ่งนั้นก็จะกลายเป็นน้ำแข็งแต่เธอปิดบังความลับนี้เอาไว้ไม่ให้ใครรู้ เวลาผ่านไปแอนนาสงสัยในตัวพี่สาวมากว่าทำไมไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้ วันหนึ่งได้มีการจัดงานเลี้ยงให้กับแอลซ่าซึ่งคืนนั้นความลับที่ปิดบังมานานก็เปิดเผยออกมา  ทุกคนรับในสิ่งที่เธอเป็นไม่ได้และพยายามจับตัวเธอ  ด้วยความตกใจแอลซ่าจึงทำให้เมืองทั้งเมืองกลายเป็นน้ำแข็งโดยไม่ตั้งใจและเธอพยามยามหาทางแก้ไขให้เมืองกลายเป็นเหมือนเดิมแต่ทำไม่ได้ วันหนึ่งมีชายคนหนึ่งพยายามตามหาเธอเพื่อที่จะฆ่าเธอและเขาก็หาเธอจนเจอเขาไม่ลังเลที่จะฆ่าแอลซ่าเขาใช้ดาบฟันแอลซ่าแต่แอนนาก็ได้ใช้ตัวเองกั้นดาบนั้น  และชายผู้นั้นก็ได้ถูกฆ่าตาย และด้วยความรักที่น้องสาวมีให้พี่สาวจึงสามารถลบล้างคำสาปได้ แอลซ่าจึงรู้วิธีการที่จะใช้สิ่งที่ตนเองมีให้เกิดประโยชน์  ทุกคนยอมรับและแต่งตั้งให้เธอเป็นราชินีและใช้ชีวิตกันอย่างมีความสุข  ซึ่งในการดูหนังครั้งนี้บางประโยคนั้นก็ไม่สามารถแปลได้ แต่ใช้ทักษะการดูภาพเพื่อให้เข้าใจความหมายของตัวละครและการดูหนังยังให้ความบันเทิงทำให้สมองได้ผ่อนคลายและไม่น่าเบื่อ
                ดั้งนั้นการแปลนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่หากเราให้ความสนใจและศึกษาอย่างเข้าใจเราก็สามารถสนุกกับการแปลได้ เราไม่ต้องจำเป็นที่จะแปลเรื่องยากๆ หรือเป็นเรื่องราว แต่เราสามารถแปลได้จากประโยคสั้นๆ เพียงแค่นี้ก็จะทำให้เราเป็นนักแปลที่ดีได้ และจากการดูหนังเรื่อง Frozen ทำให้รู้ว่าปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางแก้เพียงแค่เรามีสติ และความรักนั้นเป็นสิ่งสวยงามเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ในการต่อสู้กับปัญหาต่างๆ




               












วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 การแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล


ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันการแปลมีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากประเทศไทยได้มีการติดต่อกับต่างประเทศต่างๆมากขึ้น จึงให้ต้องเรียนรู้และรู้จักภาษาต่างประเทศ หากบางคนแปลไม่ค่อยได้ก็ต้องอาศัยคนช่วยแปล เพื่อประหยัดเวลาและได้งานที่มีประสิทธิภาพ งานแปลจึงสามารถยึดเป็นอาชีพได้ และเป็นอาชีพที่น่ายกย่องว่าเป็นอาชีพที่เสริมความก้าวหน้าให้กับประเทศ และงานแปลยังสามารถนำชื่อเสียงมาสู่ตนเองได้

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

โครงสร้าง (structure) เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา โดยโครงสร้างจะบอกว่าเหมาะสำหรับใช้คำศัพท์ไหนมาประกอบหรือเรียงกัน ในการแปลผู้แปลมักจะนึกถึงศัพท์ ไทยเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะพยายามค้นหาในภาษาอังกฤษที่เทียบเท่ากับภาษาไทย ซึ่งบางครั้งหาไม่ได้ก็จะเกิดปัญหา ซึ่งถือเป็นปัญหาหนึ่งของโครงสร้าง
1.ชนิดของคำละประเภทขอไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดคำ(parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง  การคำนึงชนิดของคำเท่านั้นยังไม่พอ ต้องคิดด้วยว่าเวลานำคำไปใช้จริง คำชนิดนั้นเกี่ยวพันกับประเภททางไวยากรณ์อะไรบ้างในภาษานั้นๆ
ประเภททางไวยากรณ์(grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดคำ ประเภทไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษโดยจะเรียงลำดับตามชนิดของคำที่เกี่ยวข้อง
1.1      คำนาม เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้
1.1.1                   บุรุษ(person) เป็นประเภทไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด ผู้ที่ถูกพูดด้วย หรือผู้ที่พูดถึง
1.1.2                   พจน์(number) บ่งชี้จำนวน
1.1.3                   การก(case) บ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประประโยคอย่างไร
1.1.4                   นามนับได้ กับ นามนับไม่ได้ คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น นามนับได้ และ นามนับไม่ได้ ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม
1.1.5                     ความชี้เฉพาะ (definiteness) ไวยากรณ์ที่สำคัญในภาษาอังกฤษจะไม่สำคัญในภาษาไทย

1.2      คำกริยา  เป็นหัวใจของประโยค จะใช้ซับซ้อนมากกว่าคำนาม เพราะมีไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
1.2.1                   กาล (tense) คำกริยาภาษาอังกฤษต้องแสงกาลเสมอว่าเป็นอดีตหรือปัจจุบัน
1.2.2                   การณ์ลักษณ์(aspect) ลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์เป็นสิ่งสำคัญมาก
1.2.3                   มาลา(mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร
1.2.4                   วาจก(voice) เป็นประเภทไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำหรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
1.2.5                   กริยาแท้กับกริยาไม่แท้(finite vs. non-finite) หนึ่งประโยคเดียวจะมีกริยาแท้ได้เพียงประโยคเดียว
1.3       ชนิดของคำประเภทอื่น นอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา  ส่วนคำบุพบทสามารถห้อยท้ายหรือวลีได้ และ adjective อาจเป็นปัญหาสำหรับคนไทย เพราะต้องใช้ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค
2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                หน่วยสร้าง (construction) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง ผู้แปลต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษต่างกัน สิ่งที่ต้องสนใจเป็นพิเศษมีดังนี้
                2.1  หน่วยสร้างนามวลี: ตัวกำหนด +นาม(อังกฤษ) vs. นาม(ไทย)
                2.2  หน่วยสร้างนามวลี:ส่วนขนาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ) VS. ส่วนหลัก+ส่วนขนาย(ไทย)
                2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด และมีแบบเดียว คือ ประธาน/ผู้รับการกระทำ+กริยา—verb to be + past participle+(by+นามวลี/ผู้กระทำ)
                2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject(อังกฤษ)กับประโยคเน้น topic (ไทย)
                2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล หน่วยสร้างกริยาเรียง เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า
               



Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com