วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายวิชา Translation I


สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายวิชา Translation I

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หนังสือ


จากการเรียนรู้วิชาการ1 ตลอดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 สิ่งที่ข้าพเจ้าได้จากการเรียนรู้มีอยู่มากมายหลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งการเรียนแต่ละครั้งข้าพเจ้าได้สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ทั้งในละนอกห้องเรียน โดยการเขียนสรุปและ

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แปลเรื่องสั้น MARY QUEEN OF SCOTS


MARY QUEEN OF SCOTS
( TIM VICARY)
1
Fotheringhay

ชื่อของฉันคือ เบส คูรอล  แต่นี่ไม่ใช่เรื่องราวของฉัน มันคือเรื่องราวของผู้หญิงของฉันแมรี่ราชินีของสก็อต หล่อนเขียนเรื่องราวและนำมันมาให้ฉัน ผมกำลังมีลูกชายกับหล่อน
หล่อนเริ่มเรื่องราวสัปดาห์ที่ผ่านมามันคือเดือนมกราคม  1587 และพวกเรานั่งอยู่ที่นี่ ในห้องเย็นของพวกเราในฟอทเตอริงไฮ แคสตอล ในทางตอนเหนือของอังกฤษ พวกเราไม่สามารถมองเห็นจากหน้าต่าง บ้านหนึ่งหรือสองหลังมีแม่น้ำ ต้นไม้บ้าง บ้านบ้าง และถนนนั้นคือทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 14


Learning Log 14



นอกห้องเรียน  (ภาคเช้า)
จากการเรียนวิชาการแปล 1 ในวันที่ 30  ตุลาคม พ.. 2558 สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ 1 ประเด็น คือ นอกชั้นเรียน
ในการเรียนนอกห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้เข้าร่วมอบรมเรื่องการอบรมภาษาอังกฤษเชิงบูรนาการและการประยุกต์ใช้ของบรรยายโดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร การอบรมนี้ก็เป็นการอบรมครั้งที่สองซึ่งวันที่สองนี้จะเป็นการเน้นการบรรยายมากกว่าวันแรกแต่จะเน้นเนื้อหาเท่าแต่ช่วงเช้า เนื้อหาที่เรียนวันนี้ก็จะเกี่ยวกับวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21  การเรียนในศตวรรษที่ 21 นั้นก็คือการเรียนในปัจจุบันครูผู้สอนในยุคนี้จะต้องมีความสามารถในการอ่าน การเขียน และการคิดเลข จะ

Learning Log 13


Learning Log 13

นอกห้องเรียน
จากการเรียนวิชาการแปล 1 ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.. 2558 สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ 1 ประเด็น คือ นอกชั้นเรียน
ในการเรียนนอกห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้เข้าร่วมอบรมเรื่องการอบรมภาษาอังกฤษเชิงบูรนาการและการประยุกต์ใช้ของบรรยายโดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร  และเปิดพิธีการอบรมโดยอธิการบดีมหาวิยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ในการอบรมครั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาคือภาคเช้าและภาคบ่าย และแต่ละช่วงก็มีการพักเบรคโดยการเลี้ยงของว่าง ในการพักเบรคนั้นทำให้ผู้เข้าอบรมและผู้บรรยายได้ผ่อนคลายและไม่เหนื่อยสามารถที่จะบรรยายต่อในช่วงต่อไปได้ ในการบรรยายครั้งนี้จะกล่าว

Learning Log 12


Learning Log 12
ในห้องเรียน
จากการเรียนวิชาการแปล 1 ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.. 2558 สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ 2 ประเด็น คือ สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนและนอกชั้นเรียน
ในการเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้ตัวดิฉันเองได้เรียนรู้ความรู้เรื่อง  Adverb clause of time  ถ้าจะพูดถึงเรื่อง clause นั้นมีมากมายหลายประเภทซึ่งสามารถแยกย่อยออกไปอีก การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง cause เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับฉัน ทุกครั้งที่ฉันอ่านหรือเรียนเรื่องนี้ก็มักจะสับสนและไม่ค่อยเข้าใจอยู่เสมอ เพราะมันมีกฎหรือหลักการใช้ที่มากมายแยกย่อยไปอีก สำหรับฉันนั้นต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาค่อนข้างนาน  หรือบางครั้งก็ต้องการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความ

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 11 นอก


Learning Log 11

นอกห้องเรียน

จากการเรียนวิชาการแปล 1 ในวันที่ 11 ตุลาคม พ.. 2558 สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ 1 ประเด็น คือ สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกชั้นเรียน
โลกเรานั้นก็จะประกอบด้วยบุคคลหลากหลายเชื้อชาติซึ่งจะมีการใช้ภาษาที่แตกต่างกันมาก ภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาที่สำคัญต่อสังคมในปัจจุบันนี้มาก เนื่องจากมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของโลก จึงได้เลือกใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพื่อให้คนในสังคมที่หลากหลายเชื้อชาติมีความเข้าใจตรงกัน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากคำศัพท์นั้นมีมากบางคนแปลไม่ออก บางคนแปลไม่ได้ หรือบางคนทั้งอ่านไม่ออกและแปลไม่ได้จึงก่อให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ทำให้เกิดอาการหงุดหงิดกับความ

Learning 10 นอก


Learning  10

นอกห้องเรียน


                ในการเรียนรู้นอกห้องเรียนครั้งนี้ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆมากมายที่เกี่ยวการใช้ทักษะทั้ง 4 ทักษะ คือฟัง พูด อ่าน และเขียน ทักษะทั้ง 4 นี้มีความสำคัญต่อการเรียนภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาที่ต้องมั่นฝึกและเรียนรู้อยู่บ่อยๆ การเรียนรู้นั้นเราสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาเมื่อเราต้องการที่จะเรียนรู้ และการเรียนรู้นั้นจะเรียนรู้ได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนอยากที่จะเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้หลายวิธี เช่นดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือหรือบทความต่างๆ ในการเรียนนอกห้องเรียนครั้งนี้ผู้เรียนจึงเลือกที่จะฝึกทักษะการฟังโดยฟังเพลงคนในฝันร้องโดย  Klear  และเพลงแสงและเงา ของแก้ม เดอะสตาร์ และได้ได้เลือกอ่านเกี่ยวกับเกี่ยวกับเรื่องการใช้ Let’s การเปรียบเทียบ(Comparison) ส่วนทักษะการพูดและการเขียนนั้นก็ได้ฝึกจากการฟังเพลงและการอ่านเรื่องต่างๆข้างต้นเพราะทั้งสองทักษะนี้สามารถฝึกได้จากการฟังและการอ่าน ทักษะเหล่านี้เป็นทักษะพื้นฐานทางการเรียนภาษาอังกฤษ เมื่อผู้เรียนได้ฝึกทักษะทั้ง 4 นี้บ่อยครั้งแล้วก็จะเกิดความเคยชิน และทำให้ผู้เรียนนั้นมีความชำนาญในด้านภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น  ทำให้มีความต้องการที่จะเรียนภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น
               

Learning Log 9


Learning Log 9

ในห้องเรียน
                จากการเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง noun clause ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยทักษะการฟัง noun clause จัดเป็นเรื่องหนึ่งที่จัดอยู่ในด้านของไวยากรณ์จะเป็น Clause (อนุประโยค) ที่มีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งเหมือนกัน ซึ่ง noun clause ก็จะทำหน้าที่เหมือนคำนามหรือกลุ่มคำนาม(นามวลีหรือ noun phrase)ซึ่งการใช้ noun clause ให้ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากโดยเฉพาะส่วนของ writing และ speaking ในการสอบ grammar โดยเฉพาะ writing ซึ่งจะต้องสามารถเขียนใช้รูปแบบของ Complex sentence ได้บ้าง จะทำให้ช่วยลดข้อผิดพลาดในการใช้จนแทบไม่มีเลยแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหากเราไม่ใช้ Noun Clause ในการสอบ Writing เลยเพราะจริงๆแล้ว Complex Sentence มีหลายประเภท ซึ่ง Noun Clause ถือเป็นหนึ่งในนั้นซึ่งเราสามรถศึกษาและทำความเข้าใจจากหนังสือและในห้องเรียนที่ผู้สอนได้สอน อีกทั้งในการเรียนในห้องเรียนครั้งนี้ผู้สอนยังให้ผู้เรียนได้ฝึกแต่งประโยคเกี่ยวกับ noun clause ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความเข้าในในสิ่งที่เรียนมากยิ่งขึ้น
            

Learning log 8 ใน


Learning log 8

ในห้องเรียน
จากการเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างประโยคซึ่งประโยคในภาษาอังกฤษจะมีกันหลายรูปแบบจะมีการใช้ที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์  บางประโยคก็จะมีรูปแบบการสร้างที่ง่ายและบางประโยคก็จะมีรูปแบบการสร้างที่ยุ่งยาก ในที่นี้จะพูดถึงเรื่องการสร้างประโยคเงื่อนไข(conditional  sentence) เป็นประโยคอีกอย่างหนึ่งที่ใช้พูดเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ผู้พูดสมมติหรือคาดเดา ว่าต้องการให้เหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งในหนึ่งเงื่อนไขนั้นก็จะประกอบด้วย 2 ประโยคด้วยกันประกอบด้วยส่วนที่เป็นเหตุ(If-Clause)และส่วนที่เป็นผล(Principle Clause) ผู้พูดอาจจะใช้เหตุขึ้นก่อนแล้วตามด้วยผลหรืออาจจะให้เหตุผลก่อนจึงจะตามด้วยเหตุ แน่นอนไม่ว่าจะเป็นประโยคในภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยเมื่อพูดขึ้นมาแล้วหนึ่งประโยคก็ต้องประกอบด้วยเหตุและผลเพื่อให้ผู้ที่เราสนทนาด้วยเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด ไม่ว่าเราจะพูดเรื่องใดก็ต้องมีเหตุผลเสมอจึงจะทำให้คำพูดนั้นดูน่าเชื่อถือ  ซึ่งประโยคเงื่อนไขนี้ก็สามารถแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆได้หลากหลายตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งผู้สอนได้นำข้อมูลต่างๆมาให้ผู้เรียนได้ศึกษาและทำความเข้าใจได้ง่ายๆจากในหนังสือ บทความต่างๆและพร้อมทั้งมีตัวอย่างประโยคให้ได้ศึกษา

Learning Log 7


Learning Log

ครั้งที่ 7

ในห้องเรียน

จากการศึกษาในห้องเรียนครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการฟัง ซึ่งการฟังนั้นผู้ฟังจะต้องมีสมาธิในการฟัง ตั้งใจฟังจึงจะสามารถจับประเด็นใจความสำคัญได้ ซึ่งในการศึกษาในห้องเรียนครั้งนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง  Adjective Clause และการลดรูปให้เป็น  Phase ซึ่งก่อนหน้าที่จะเรียนเรื่องนี้ในห้องเรียน ดิฉันก็ได้ศึกษาและทำความเข้าในมาบ้างแล้วแต่ก็ยังสับสนกับการเปลี่ยนรูปแบบประโยคอยู่ทำให้ดูเหมือนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยาก แต่หลังจากที่ได้ศึกษากันในห้องเรียนและได้ลองฝึกแต่งประโยคเองก็ทำให้รู้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช้เป็นเรื่องที่ยากอย่างที่คิด  และในห้องเรียนก็ได้อธิบายถึงความหมายต่างๆของ Simple Sentence, Compound Sentence, Complex Sentence, Compound Complex Sentence ซึ่งจะเห็นได้ว่าประโยคต่างๆเหล่านี้มีความหมายและการใช้ที่ต่างกัน แต่จะมีส่วนที่เหมือนกันคือยึดโครงสร้างประโยคเหมือนกันคือภาคประธานและภาคแสดง เมื่อเรารู้หลักการใช้และความหมายต่างๆเหล่านี้แล้วเราก็สามารถสร้างประโยคเองได้

Learning Log 6 นอก


Learning Log 6

นอกห้องเรียน
            ในการศึกษานอกห้องเรียนครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวทักษะการอ่านเรื่องพื้นฐานการเก่งไวยากรณ์ภาษาอังกฤษคือหยุดปัญหาปวดหัวเรื่องคำนาม(noun)ให้ได้ด้วยการใช้ถูกต้อง ปัญหาที่น่าปวดหัวเป็นอันดับต้นๆสำหรับการเรียนเรื่องไวยากรณ์อังกฤษ นั้นคือการเขียนและการสะกดคำนามหรือ (noun) ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ทำให้สอบได้คะแนนน้อยอีกทั้งยังส่งผลต่อการเรียนโดยรวม ซึ่งสาเหตุจากการเขียนและสะกด noun ไม่ถูกต้องนั้น  เนื่องมาจากเด็กส่วนใหญ่ชินกับการใช้คำนามในภาษาไทย เพราะในภาษาไทยตัวอักษรทุกประเภทไม่มีการกำหนดขนาดของตัวอักษร เหมือนกับภาษาอังกฤษ
           

Learning Log 5


Learning Log 5
ในห้องเรียน
จากการศึกษาในห้องเรียนครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการอ่าน ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของประโยคของ Simple Sentence, Compound Sentence, Complex Sentence, Compound Complex Sentence, Adjective Clause(Relative Clause), และการทำ Adjective Clause เป็น Adjective Phrase ซึ่งในการศึกษาเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและสับสน แต่ผู้เรียนก็เคยศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว  ซึ่งโครงสร้างของประโยคแต่ละอย่างนั้นมีความแตกต่างกันจะประกอบด้วยส่วนต่างๆที่สำคัญหลายๆส่วน ผู้เรียนต้องศึกษาอย่างรอบคอบและละเอียด จะต้องอาศัยการทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก  ในการเรียนภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตามก็ต้องยึดโครงสร้างประโยคเป็นหลักซึ่งจะประกอบด้วย2ส่วนคือภาคประธานและภาคแสดง ซึ่งเมื่อเรารู้หลักการแล้วก็จะสามารถสร้างประโยคได้เอง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning Log 4

Learning Log
ครั้งที่ 4


นอกห้องเรียน

            จากการเรียนรู้นอกห้องเรียนครั้งนี้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องทักษะการอ่านออกเสียง ซึ่งการอ่านนั้นมีด้วยกันหลายประเภท ในการอ่านให้มีเสียงดัง เป็นการอ่านเพื่อส่งสาร เช่น อ่านให้ผู้อื่นฟัง อ่านเพื่อฝึกการอ่านออกเสียง อ่านข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น ผู้อ่านจะต้องอ่านให้เหมาะสมกับสถานการณ์เนื่องจากในบางครั้งสถานที่ที่อ่านนั้นต้องการความสงบอาจทำให้เกิดความรำคาญต่อบุคคลรอบข้างได้ และอ่านออกเสียงต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ถ้าอ่านให้ผู้อื่นฟัง ก็ต้องคำนึงถึงผู้ฟังด้วย เช่น เมื่อเป็นการอ่านในห้องเรียน ผู้ฟังคือ ครู และเพื่อน ๆ เป็นการอ่านเพื่อความรู้ ต้องเสียงดังน้ำเสียงมีความชัดเจน และถูกต้องมากที่สุด ถ้าเป็นการอ่านผ่านสื่อ เช่น อ่านนิทานเพื่อบันทึกลงแถบบันทึกเสียงให้เพื่อน ๆ ที่มีความพิการทางสายตาก็ต้องอ่านเป็นธรรมชาติเหมือนกำลังเล่าเรื่องให้เพื่อนฟังเสียงดังฟังชัด ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน อ่านให้ได้อารมณ์ตามตัวละคร จะทำให้ผู้ฟังอยากที่จะฟังและเกิดอารมณ์คล้อยตามไม่น่าเบื่อ
   

Learning Log 3

Learning Log
ครั้งที่ 3

จากการศึกษาบทเรียนในครั้งนี้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Tenses ทั้ง 12 Tenses โดยจะกล่าวถึงกาลเวลาทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นหลัก แต่ละ Tenses จะมีรูปแบบโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ ที่จะเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเบื้องต้น  ผู้เรียนนั้นต้องใช้ทั้งทักษะความจำและความเข้าใจในการเรียนรู้  ก่อนที่เราจะพูดเป็นประโยคหรือเขียนเป็นบทความได้นั้นเราจะต้องศึกษา Tenses เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารกับบุคคลที่เราสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือเขียนจะทำให้ความเข้าใจตรงกัน   ถึงแม้ว่า Tenses จะเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนนั้นได้เรียนรู้มาแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายๆคนที่ยังคงสับสนกับรูปแบบการใช้อยู่  หรือหากละเลยต่อการท่องจำก็อาจทำให้ลืมได้ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือก่อให้เกิดการใช้ที่ผิด พูดหรือเขียนออกมาไม่มั่นใจ  ถึงแม้ว่าชาวต่างชาตินั้นจะพูดกันโดยไม่เน้นไวยากรณ์เป็นหลักก็ตาม แต่ในการเขียนนั้นเพื่อให้งานออกมาถูกต้องและสมบูรณ์ผู้เขียนจะต้องเขียนให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาความรู้นอกห้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ การอ่านนั้นเป็นทักษะที่สำคัญต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมากเพื่อให้ผู้เรียนนั้นเกิดความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการรู้ ซึ่งเป็นสิ่งง่ายๆที่ผู้เรียนสามารถทำได้ด้วยตนเอง

Learning log 2

สรุปบทเรียน
ครั้งที่ 2

จากการเรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียนครั้งนี้ เป็นการเรียนรู้ที่ให้อิสระแก่ผู้เรียนโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดและแสดงความคิดเห็น  ผู้สอนจะไม่เน้นที่เนื้อหาสาระในบทเรียนโดยตรง  แต่จะพูดถึงสิ่งที่ได้จากการเข้ามาเรียนในสาขาวิชาภาษาอังกฤษ และความรู้สึกที่มีต่อครูผู้สอนและยังคงสอดแทรกเนื้อหาในบทเรียนและให้นักเรียนได้ไปศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากใบงานที่ผู้สอนเตรียมมาให้ ซึ่งในการเรียนครั้งนี้ได้สาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันเป็นการแสดงความคิดเห็นจากความรู้สึก จากสถานการณ์จริงที่ตัวผู้เรียนได้พบมาตลอดระยะเวลาที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยเพื่อนำข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้เรียนมาประยุกต์ใช้ในคาบเรียนครั้งต่อไป ผู้สอนก็จะเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้น  และยังได้สาระความรู้ในบทเรียน

               

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

จงแปลประโยคต่อไปนี้เป็นภาษาไทย

       จงแปลประโยคต่อไปนี้เป็นภาษาไทย


                       1.       Fist-year students  have  studied  English for at least 10 years.
·         ปีแรกที่นักเรียน  เรียนภาษาอังกฤษน้อยที่สุดใน 10 ปี

                       2.       An accident took place when the plane was flying above a paddy field.
·         สถานที่มีปัญหาเมื่อข้าวเปลือกพัดปลิวลอยตามทุ่งนา

                   

Learning Log ครั้งที่ 1

Learning Log

ครั้งที่ 1



จากการศึกษาบทเรียนในครั้งนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการฝึกแปลโดยแปลประโยคง่ายๆจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย  การแปลนั้นเป็นสิ่งที่ยากผู้แปลจะต้องมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งพวกเราได้ฝึกการเรียนรู้กันไปอย่างช้าๆจากประโยคที่ง่ายไปหาประโยคที่ยาก
จากการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน พบว่าสิ่งที่ได้ในห้องเรียนเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการแปล ซึ่งการแปลนั้นเป็นสิ่งที่ยาก ผู้แปลจะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก  การแปลนั้นจะต้องแปลให้ถูกต้องและแม่นยำ ทั้งเรื่องการใช้ Tense หรือคำศัพท์เพราะคำศัพท์บางคำสามารถแปลความได้หลายความหมายหากผู้แปลเลือกใช้ผิดก็จะทำให้เกิดปัญหาในการแปล และที่สำคัญเนื้อหาการแปลจะต้องคงความเดิม อาจมีการตัดหรือเพิ่มคำบางคำเพื่อให้ประโยคนั้นสมบูรณ์และเข้าใจง่ายขึ้น   ในการเรียนครั้งนี้ได้ฝึกแปลประโยคทีละประโยคจากประโยคที่ง่ายไปยาก ฝึกแปลไปมาจากประโยคที่เป็นภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย พบว่าประโยคหนึ่งประโยคสามรถแปลได้หลายความหมายอาจมีการเพิ่มคำเพื่อให้ประโยคที่แปลออกมานั้นดูสละสลวยหรืออาจตัดคำเพื่อให้ประโยคดูกระชับมากขึ้น  และโดยเฉพาะการดูรูปกาลของประโยคหากเราแปลประโยคผิดก็จะทำให้ความหมายเปลี่ยนไปได้
และการศึกษานอกห้องเรียนสิ่งที่ได้เรียนรู้คือการฝึกแปลประโยคจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยโดยการดูหนัง จาก CD เป็นการ์ตูนเรื่อง Frozen แนวแฟนตาซี  และดราม่า ลักษณะเนื้อเรื่องคือเจ้าหญิงแอลซ่าเป็นราชินีองค์หนึ่งและมีน้องสาวชื่อแอนนาทั้งสองรักกันมากแต่ไม่สามารถเข้าใกล้กันได้เพราะแอลซ่านั้นมีคำสาปที่ติดตัวหากแตะต้องสิ่งใดสิ่งนั้นก็จะกลายเป็นน้ำแข็งแต่เธอปิดบังความลับนี้เอาไว้ไม่ให้ใครรู้ เวลาผ่านไปแอนนาสงสัยในตัวพี่สาวมากว่าทำไมไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้ วันหนึ่งได้มีการจัดงานเลี้ยงให้กับแอลซ่าซึ่งคืนนั้นความลับที่ปิดบังมานานก็เปิดเผยออกมา  ทุกคนรับในสิ่งที่เธอเป็นไม่ได้และพยายามจับตัวเธอ  ด้วยความตกใจแอลซ่าจึงทำให้เมืองทั้งเมืองกลายเป็นน้ำแข็งโดยไม่ตั้งใจและเธอพยามยามหาทางแก้ไขให้เมืองกลายเป็นเหมือนเดิมแต่ทำไม่ได้ วันหนึ่งมีชายคนหนึ่งพยายามตามหาเธอเพื่อที่จะฆ่าเธอและเขาก็หาเธอจนเจอเขาไม่ลังเลที่จะฆ่าแอลซ่าเขาใช้ดาบฟันแอลซ่าแต่แอนนาก็ได้ใช้ตัวเองกั้นดาบนั้น  และชายผู้นั้นก็ได้ถูกฆ่าตาย และด้วยความรักที่น้องสาวมีให้พี่สาวจึงสามารถลบล้างคำสาปได้ แอลซ่าจึงรู้วิธีการที่จะใช้สิ่งที่ตนเองมีให้เกิดประโยชน์  ทุกคนยอมรับและแต่งตั้งให้เธอเป็นราชินีและใช้ชีวิตกันอย่างมีความสุข  ซึ่งในการดูหนังครั้งนี้บางประโยคนั้นก็ไม่สามารถแปลได้ แต่ใช้ทักษะการดูภาพเพื่อให้เข้าใจความหมายของตัวละครและการดูหนังยังให้ความบันเทิงทำให้สมองได้ผ่อนคลายและไม่น่าเบื่อ
                ดั้งนั้นการแปลนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่หากเราให้ความสนใจและศึกษาอย่างเข้าใจเราก็สามารถสนุกกับการแปลได้ เราไม่ต้องจำเป็นที่จะแปลเรื่องยากๆ หรือเป็นเรื่องราว แต่เราสามารถแปลได้จากประโยคสั้นๆ เพียงแค่นี้ก็จะทำให้เราเป็นนักแปลที่ดีได้ และจากการดูหนังเรื่อง Frozen ทำให้รู้ว่าปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางแก้เพียงแค่เรามีสติ และความรักนั้นเป็นสิ่งสวยงามเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ในการต่อสู้กับปัญหาต่างๆ




               












วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 การแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล


ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันการแปลมีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากประเทศไทยได้มีการติดต่อกับต่างประเทศต่างๆมากขึ้น จึงให้ต้องเรียนรู้และรู้จักภาษาต่างประเทศ หากบางคนแปลไม่ค่อยได้ก็ต้องอาศัยคนช่วยแปล เพื่อประหยัดเวลาและได้งานที่มีประสิทธิภาพ งานแปลจึงสามารถยึดเป็นอาชีพได้ และเป็นอาชีพที่น่ายกย่องว่าเป็นอาชีพที่เสริมความก้าวหน้าให้กับประเทศ และงานแปลยังสามารถนำชื่อเสียงมาสู่ตนเองได้

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

โครงสร้าง (structure) เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา โดยโครงสร้างจะบอกว่าเหมาะสำหรับใช้คำศัพท์ไหนมาประกอบหรือเรียงกัน ในการแปลผู้แปลมักจะนึกถึงศัพท์ ไทยเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะพยายามค้นหาในภาษาอังกฤษที่เทียบเท่ากับภาษาไทย ซึ่งบางครั้งหาไม่ได้ก็จะเกิดปัญหา ซึ่งถือเป็นปัญหาหนึ่งของโครงสร้าง
1.ชนิดของคำละประเภทขอไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดคำ(parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง  การคำนึงชนิดของคำเท่านั้นยังไม่พอ ต้องคิดด้วยว่าเวลานำคำไปใช้จริง คำชนิดนั้นเกี่ยวพันกับประเภททางไวยากรณ์อะไรบ้างในภาษานั้นๆ
ประเภททางไวยากรณ์(grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดคำ ประเภทไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษโดยจะเรียงลำดับตามชนิดของคำที่เกี่ยวข้อง
1.1      คำนาม เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้
1.1.1                   บุรุษ(person) เป็นประเภทไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด ผู้ที่ถูกพูดด้วย หรือผู้ที่พูดถึง
1.1.2                   พจน์(number) บ่งชี้จำนวน
1.1.3                   การก(case) บ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประประโยคอย่างไร
1.1.4                   นามนับได้ กับ นามนับไม่ได้ คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น นามนับได้ และ นามนับไม่ได้ ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม
1.1.5                     ความชี้เฉพาะ (definiteness) ไวยากรณ์ที่สำคัญในภาษาอังกฤษจะไม่สำคัญในภาษาไทย

1.2      คำกริยา  เป็นหัวใจของประโยค จะใช้ซับซ้อนมากกว่าคำนาม เพราะมีไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
1.2.1                   กาล (tense) คำกริยาภาษาอังกฤษต้องแสงกาลเสมอว่าเป็นอดีตหรือปัจจุบัน
1.2.2                   การณ์ลักษณ์(aspect) ลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์เป็นสิ่งสำคัญมาก
1.2.3                   มาลา(mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร
1.2.4                   วาจก(voice) เป็นประเภทไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำหรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
1.2.5                   กริยาแท้กับกริยาไม่แท้(finite vs. non-finite) หนึ่งประโยคเดียวจะมีกริยาแท้ได้เพียงประโยคเดียว
1.3       ชนิดของคำประเภทอื่น นอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา  ส่วนคำบุพบทสามารถห้อยท้ายหรือวลีได้ และ adjective อาจเป็นปัญหาสำหรับคนไทย เพราะต้องใช้ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค
2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                หน่วยสร้าง (construction) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง ผู้แปลต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษต่างกัน สิ่งที่ต้องสนใจเป็นพิเศษมีดังนี้
                2.1  หน่วยสร้างนามวลี: ตัวกำหนด +นาม(อังกฤษ) vs. นาม(ไทย)
                2.2  หน่วยสร้างนามวลี:ส่วนขนาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ) VS. ส่วนหลัก+ส่วนขนาย(ไทย)
                2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด และมีแบบเดียว คือ ประธาน/ผู้รับการกระทำ+กริยา—verb to be + past participle+(by+นามวลี/ผู้กระทำ)
                2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject(อังกฤษ)กับประโยคเน้น topic (ไทย)
                2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล หน่วยสร้างกริยาเรียง เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า
               



Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com