วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

โครงสร้าง (structure) เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา โดยโครงสร้างจะบอกว่าเหมาะสำหรับใช้คำศัพท์ไหนมาประกอบหรือเรียงกัน ในการแปลผู้แปลมักจะนึกถึงศัพท์ ไทยเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะพยายามค้นหาในภาษาอังกฤษที่เทียบเท่ากับภาษาไทย ซึ่งบางครั้งหาไม่ได้ก็จะเกิดปัญหา ซึ่งถือเป็นปัญหาหนึ่งของโครงสร้าง
1.ชนิดของคำละประเภทขอไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดคำ(parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง  การคำนึงชนิดของคำเท่านั้นยังไม่พอ ต้องคิดด้วยว่าเวลานำคำไปใช้จริง คำชนิดนั้นเกี่ยวพันกับประเภททางไวยากรณ์อะไรบ้างในภาษานั้นๆ
ประเภททางไวยากรณ์(grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดคำ ประเภทไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษโดยจะเรียงลำดับตามชนิดของคำที่เกี่ยวข้อง
1.1      คำนาม เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้
1.1.1                   บุรุษ(person) เป็นประเภทไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด ผู้ที่ถูกพูดด้วย หรือผู้ที่พูดถึง
1.1.2                   พจน์(number) บ่งชี้จำนวน
1.1.3                   การก(case) บ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประประโยคอย่างไร
1.1.4                   นามนับได้ กับ นามนับไม่ได้ คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น นามนับได้ และ นามนับไม่ได้ ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม
1.1.5                     ความชี้เฉพาะ (definiteness) ไวยากรณ์ที่สำคัญในภาษาอังกฤษจะไม่สำคัญในภาษาไทย

1.2      คำกริยา  เป็นหัวใจของประโยค จะใช้ซับซ้อนมากกว่าคำนาม เพราะมีไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
1.2.1                   กาล (tense) คำกริยาภาษาอังกฤษต้องแสงกาลเสมอว่าเป็นอดีตหรือปัจจุบัน
1.2.2                   การณ์ลักษณ์(aspect) ลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์เป็นสิ่งสำคัญมาก
1.2.3                   มาลา(mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร
1.2.4                   วาจก(voice) เป็นประเภทไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำหรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
1.2.5                   กริยาแท้กับกริยาไม่แท้(finite vs. non-finite) หนึ่งประโยคเดียวจะมีกริยาแท้ได้เพียงประโยคเดียว
1.3       ชนิดของคำประเภทอื่น นอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา  ส่วนคำบุพบทสามารถห้อยท้ายหรือวลีได้ และ adjective อาจเป็นปัญหาสำหรับคนไทย เพราะต้องใช้ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค
2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                หน่วยสร้าง (construction) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง ผู้แปลต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษต่างกัน สิ่งที่ต้องสนใจเป็นพิเศษมีดังนี้
                2.1  หน่วยสร้างนามวลี: ตัวกำหนด +นาม(อังกฤษ) vs. นาม(ไทย)
                2.2  หน่วยสร้างนามวลี:ส่วนขนาย+ส่วนหลัก(อังกฤษ) VS. ส่วนหลัก+ส่วนขนาย(ไทย)
                2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด และมีแบบเดียว คือ ประธาน/ผู้รับการกระทำ+กริยา—verb to be + past participle+(by+นามวลี/ผู้กระทำ)
                2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject(อังกฤษ)กับประโยคเน้น topic (ไทย)
                2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล หน่วยสร้างกริยาเรียง เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า
               



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com