วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 การแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล


ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันการแปลมีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากประเทศไทยได้มีการติดต่อกับต่างประเทศต่างๆมากขึ้น จึงให้ต้องเรียนรู้และรู้จักภาษาต่างประเทศ หากบางคนแปลไม่ค่อยได้ก็ต้องอาศัยคนช่วยแปล เพื่อประหยัดเวลาและได้งานที่มีประสิทธิภาพ งานแปลจึงสามารถยึดเป็นอาชีพได้ และเป็นอาชีพที่น่ายกย่องว่าเป็นอาชีพที่เสริมความก้าวหน้าให้กับประเทศ และงานแปลยังสามารถนำชื่อเสียงมาสู่ตนเองได้

การใช้ภาษาต่างประเทศในหน่วยงานต่างๆเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าภาษาอังกฤษมีการใช้มากที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะ
1.หน่วยงานต่างๆได้ขยายปริมาณ
2.มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น
3.มีตำรา เอกสารภาษาอังกฤษซึ่งเป็นแหล่งวิทยาการหลายสาขา
การแปลในประเทศไทยเริ่มแปลตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสั่งโกษาบานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแหล่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลพระราชสำนัก
การแปลภาษาอังกฤษเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในสังคมไทย ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และความเจริญขิงเทคโนโลยี นอกจากนี้งานแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ ทำให้เกิดสันติภาพในโลก
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพื่อให้ประชาชนผู้ได้รับความช่วยเหลือและไม่สามารถเข้าใจภาษา และวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษาอังกฤษได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ได้รับความช่วยเหลือ
                การผลิตงานแปลอาจตั้งเป็นองค์การ เป็นแผนก หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ การแปลเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง โดยเฉพะทาง Science กับ Technology ต้องแปลให้ถูกต้องเพราะอาจจะผิดพลาดในการทดลองได้

การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ และการแปลจะมีปัญหาอยู่มากเนื่องจากขาดความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม(Cultural backgrown) ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตลอดเวลา ศัพท์บางคำเทียบในภาษาไทยไม่ได้ และต้องคำถึงประโยชน์การใช้ให้คุ้มกับเวลาที่จะใช้ในการแปลด้วย
การสอนแปลในระดับมหาวิยาลัย
ป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้และผู้ที่แปลควรมีความรู้ทางภาษาอย่างดี
การแปลคืออะไร
การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง  โดยมีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีการตัดหรือแต่งเติม และควรรักษารูปตามต้นฉบับไว้ด้วย ซึ่งการแปลเป็นเรื่องที่สมารถเรียนรู้และฝึกฝนได้
คุณสมบัติของผู้แปล
ผู้แปลควรมีลักษณะ ดังนี้
1.             เป็นผู้รู้ภาษาดีเลิศ
2.             สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3.             เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4.             เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
5.             ผู้แปละต้องเป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย เพราะเป็นสิ่งจำเป็นของการแปล
6.             ผู้แปลต้องมีความอดทนและเสียสละ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้แรงความคิดและเวลาเนื่องจากการแปลเป็นเรื่องของทักษะ ซึ่งต้องการฝึกฝนอย่างเข้มข้น การตรวจแก้ไข จึงจะเกิดทักษะ

จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปล คือฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม

สรุปผู้เรียนแปลต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1.             รู้ซึ้งในเรื่องภาษา มีความรู้พื้นฐาน และมีความสามารถในการใช้ภาษา
2.             รักการอ่านค้นคว้า
3.             มีความอดทน มีความพยายามที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
4.             มีความรับผิดชอบ รู้จักความคิดของตัวเอง

นักแปลที่มีคุณภาพหมายถึง นักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ขาดหรือเกิน โดยสรุปว่า นักแปลจะต้องมีความรู้ภาษาของต้นฉบับ

วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1.             เป้าหมายเป็นที่สำคัญของการสอนแปล คือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมด้านต่างๆ
2.             การสอนแปลให้ได้ผล ตามทฤษฎีวิชาแปลที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะ 2 ทักษะ คือ ทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน
3.             ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งร้าวให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง
4.             ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดกันนักแปลมืออาชีพหรือผู้ใช้บริการการแปล

สรุปหลักสำคัญในการแปล คือ งานแปลเป็นงานที่ยาก และเป็นงานที่ไม่มีใครกล่าวขอบคุณผู้แปล
แต่จะต้องมีคนกล่าววิภาควิจารณ์ ถ้ามีการแปลผิดพลาด แต่ถ้าการแปลดีก็จะได้รับการยกย่องเล็กน้อย ผู้ที่รู้สองภาษาอย่างดีจึงจะแปลหนังสือได้ดี อย่างไรก็ตามรางวัลของผู้แปลก็คือผลงานของเขาเอง

 บทบาทของการแปล
การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสาร (receiver) ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่ได้รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง
คุณสมบัติของนักแปล
1.             คุณสมบัติส่วนตัว
2.             ความรู้
3.             ความสามารถ
4.             ประสบการณ์
ลักษณะของงานแปลที่ดี
                ควนมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตามต้นฉบับใช้ภาษาชัดเจนกระชับ ใช้รูปประโยคสั้นๆใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสม และรักษาแบการเขียนของต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำสำนวนให้เข้ากับสภาพสังคม เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.             ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลจะต้องมีความเป็นธรรมชาติ ปรับให้เป็นสำนาวนไทยตามที่ใช้กันทั่วไป
2.             สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลไทยได้
3.             ใช้การแปลแบบตีความ
 คุณสมบัติของผู้แปล
1.             เป็นผู้มีความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปลและหมั่นค้นคว้า
2.             ชอบค้นคว้าหาความรู้ในวิชาแขนงอื่นๆ
3.             เป็นผู้มีวิจารณญาณในการแปล
4.             เป็นผู้มีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5.              เป็นผู้สามารถอุทิศเวลาให้การแปลอย่างแท้จริง
ลักษณะของงานแปลที่ดี
1.             ความหมายถูกต้องครบถ้วนตามต้นฉบับ
2.             รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ
3.             สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา

การให้ความหมายในการแปล
มี 2 ประการคือ
1.             การแปลที่ใช้รูประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.             การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ
การแปลอังกฤษเป็นไทย ต้องคำนึงถึงความหมาย
1.             อนาคตกาล การแปลต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกันอนาคต
2.             โครงสร้างประโยคอื่นๆ ในการแปลแบบของกาลในภาษาอังกฤษ
3.             ศัพท์เฉพาะ(Lexis)
4.             ตีความทำนาย  เป็นสิ่งสำคัญก็คือ การแปลข้ามภาษาจะต้องคำนึงถึงความหมายทั่วไปมากกว่าคำเหมือน

การแปลกับการตีความจากบริบท
                ผู้แปลจะต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมาได้

การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่นำมาวิเคราะห์
องค์ประกอบของความหมาย: คำศัพท์  ไวยากรณ์  เสียง
ความหมายและรูปแบบ
1. ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกหลายรูปแบบ
2. รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ

ประเภทของความหมาย
มี 4 ประเภท
1.             ความหมายอ้างอิงหรือความหมายโดยตรง หมายถึงความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
2.             ความหมายแปล หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง อาจเป็นทางบวกหรือทางลบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3.             คามหมายตามบริบท อาจมีความหมายหลายความหมายขึ้นอยู่กับบริบทสิ่งแวดล้อม
4.             ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและการเปรียบเทียบโดยนัย
การเลือกบทแปล
เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอน
เรื่องที่จะแปล
เรื่องที่จะแปลมีหลายสาขา จะต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใด  ซึ่งจะทำให้มีความรู้ทันสมัย จึงควรมีคณะกรรมการการแปลระดับชาติ


               












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com