วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning Log 4

Learning Log
ครั้งที่ 4


นอกห้องเรียน

            จากการเรียนรู้นอกห้องเรียนครั้งนี้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องทักษะการอ่านออกเสียง ซึ่งการอ่านนั้นมีด้วยกันหลายประเภท ในการอ่านให้มีเสียงดัง เป็นการอ่านเพื่อส่งสาร เช่น อ่านให้ผู้อื่นฟัง อ่านเพื่อฝึกการอ่านออกเสียง อ่านข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น ผู้อ่านจะต้องอ่านให้เหมาะสมกับสถานการณ์เนื่องจากในบางครั้งสถานที่ที่อ่านนั้นต้องการความสงบอาจทำให้เกิดความรำคาญต่อบุคคลรอบข้างได้ และอ่านออกเสียงต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ถ้าอ่านให้ผู้อื่นฟัง ก็ต้องคำนึงถึงผู้ฟังด้วย เช่น เมื่อเป็นการอ่านในห้องเรียน ผู้ฟังคือ ครู และเพื่อน ๆ เป็นการอ่านเพื่อความรู้ ต้องเสียงดังน้ำเสียงมีความชัดเจน และถูกต้องมากที่สุด ถ้าเป็นการอ่านผ่านสื่อ เช่น อ่านนิทานเพื่อบันทึกลงแถบบันทึกเสียงให้เพื่อน ๆ ที่มีความพิการทางสายตาก็ต้องอ่านเป็นธรรมชาติเหมือนกำลังเล่าเรื่องให้เพื่อนฟังเสียงดังฟังชัด ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน อ่านให้ได้อารมณ์ตามตัวละคร จะทำให้ผู้ฟังอยากที่จะฟังและเกิดอารมณ์คล้อยตามไม่น่าเบื่อ
   
     ในปัจจุบันประสบการณ์ในการสนทนาภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน หลายๆคนต้องเจอกับปัญหาในขณะที่สนทนากับชาวต่างชาติเนื่องจากชาวต่างชาติไม่เข้าใจในสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารออกไปหรือบางครั้งอาจทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนทำให้เข้าใจกันผิดๆ ทั้งๆที่เรามีความรู้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับที่ดี แต่เวลาสนทนากับเจ้าของภาษาต้องมีการพูดซ้ำไปซ้ำมาจนทำให้เกิดอาการขาดความมั่นใจในการสื่อสาร คนไทยส่วนใหญ่เวลาออกเสียงภาษาอังกฤษจะเน้นทุกพยางค์ให้ชัดเจนเนื่องจากตอนอ่านในภาษาไทยคนไทยจะเน้นทุกตัวอักษรของประโยค แต่ในภาษาอังกฤษนั้นจัดว่าเป็น stress-timed language คือจะออกเสียงเน้นหนักเฉพาะคำบางคำหรือคำที่ต้องการเน้นในประโยค ส่วนพยางค์หรือคำที่ไม่เน้นเสียงหนักจะลดเสียงสระและพูดรวบรัดเหมือนพูดในลำคอ การออกเสียงภาษาอังกฤษนั้นจะต้องรู้วิธีการออกเสียงทั้งพยัญชนะและสระซึ่งการฝึกออกเสียงผู้เรียนสามารถฝึกได้ด้วยตนเอง(ปัณฑิตา อัจฉริยาการุณ)
การออกเสียงที่ดีคือการพูดให้ได้เหมือนเจ้าของภาษา หรือสำเนียงดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว การพูดให้ได้เหมือนเจ้าของภาษานั้นออกจะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก เพราะการจะพูดให้ได้เหมือนเจ้าของภาษานั้นทำได้ยากมาก โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ ลิ้นจะแข็ง หากจะฝึกให้เหมือนนั้นคงจะทำให้ตัวผู้พูดเกิดอาการเครียด และหากผู้พูดไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษยิ่งจะทำได้ยากขึ้นไปอีก  เป้าหมายที่เป็นไปได้คือการพูดให้คนฟัง ฟังรู้เรื่องโดยพูดแล้วคนฟังไม่งง และไม่ต้องซ้ำๆ การพูดอังกฤษสำเนียงไทยไม่ใช่สิ่งเลวร้ายหรือน่าอาย แต่พูดแล้วคนฟังฟังเข้าใจก็ถือว่าเราประสบผลสำเร็จ  อย่างไรก็ตามผู้พูดไม่ควรตั้งเป้าหมายให้ต่ำหรือสูงจนเกินไป  ถ้าผู้พูดสามารถพัฒนาสำเนียงให้ดีได้ ก็ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพราะผลดีจะตกอยู่ที่ตัวของผู้ฝึก
              การพูดภาษาอังกฤษขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการออกเสียงภาษาอังกฤษดังนี้ อายุของผู้เรียน   เด็กเล็ก หรือเด็กทารกจะเรียนภาษาได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เด็กจะซึมซับภาษาที่ได้ยินได้ฟัง และค่อยๆเลียนเสียงและออกกเสียงได้อย่างถูกต้อง  นักภาษาศาสตร์ได้บอกไว้ว่า ช่วงอายุที่จะเรียนการออกเสียงได้ง่ายที่สุดคือ ตั้งแต่อายุ 0 เดือน ถึง 14 ปี เด็กจะเรียนภาษาได้อย่างเป็นธรรมชาติกว่าผู้ใหญ่ และสามารถที่จะพัฒนาสำเนียงให้ใกล้เคียงหรือเหมือนกับเจ้าของภาษาได้ง่าย แต่เด็กจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้อาศัยอยู่สถานที่ที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแวดล้อม  และต้องได้ยิน ได้ใช้ ได้เห็นภาษาอังกฤษทุกวัน แรงจูงใจ  ความมุ่งมั่นตั้งใจจริงเป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้ว่าคุณจะมีสื่อ มีอุปกรณ์ มีหนังสือสอนการออกเสียงเยอะแยะไปหมด แต่หากคุณไม่มีความตั้งใจ ไม่มีแรงจูงใจ ไม่มีวินัยในการเรียน การออกเสียงของคุณก็คงไม่มีทางได้ผลดี ผู้พูดต้องสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง
บุคลิกและทัศนคติ  คนเรามีนิสัยและแนวความคิดต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนการออกเสียงของแต่ละคน   สิ่งสำคัญจริงๆของการเรียนออกเสียงให้ได้ผลดีคือความมุ่งมั่นในการเรียนรู้เสียงต่างๆ หัดออกเสียง ฟัง และหัดพูดตาม   การใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ทักษะทางการออกเสียงภาษาอังกฤษขึ้นอยู่กับโอกาสในการได้ยินและได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน คนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการจะมีแนวโน้มที่จะออกเสียงภาษาอังกฤษได้ดีกว่าคนที่อาศัยอยู่ในประเทศอื่น  หากพยายามจัดเวลาส่วนตัวเพื่อฟังภาษาอังกฤษมากขึ้น และพยายามเลียนแบบเสียงเจ้าของภาษา ทักษะการพูดของคุณจะพัฒนาขึ้น หัดฟัง ฝึกหู ความสามารถในการฟังและแยกเสียงภาษาอังกฤษมีความสำคัญพอๆกับการออกเสียงหรือพูดภาษาอังกฤษ แต่การแยกเสียงนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายจึงต้องอาศัยการฟังภาษานั้นๆอยู่บ่อยๆ
            การที่จะพูดภาษาอังกฤษแล้วคนฟังเข้าใจสิ่งที่คุณพูด การออกเสียงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ยุคสมัยที่เอาแค่ให้อ่านออกเขียนได้ก็เป็นพอได้ผ่านพ้นไป การใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน  ถ้าเขียนถูก อ่านได้ แต่พูดแล้วคนฟังไม่รู้เรื่อง ก็ถือได้ว่าการเรียนภาษาอังกฤษล้มเหลว ในบางครั้งความรู้สึกอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการออกเสียงให้ถูกต้อง ความคิดที่เรามีต่อการออกเสียงอาจจะเป็นสาเหตุให้คุณออกเสียงได้ไม่ถูกต้อง  เช่นการถูกบังคับให้เรียนภาษาอังกฤษ หรือเรียนเพราะจำใจเรียน  หรืออายที่จะพูดที่จะออกเสียงและกลัวว่าจะพูดผิด  บางคนก็อาจจะคิดว่าการเรียนพูดภาษาอังกฤษไม่จำเป็นเพราะไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน  เลยไม่รู้ว่าจะเรียนให้เหนื่อยไปทำไม   แต่หากทราบถึงข้อเท็จจริงของการออกเสียง การขยับปาก รูปปากมีผลต่อการออกเสียง การลงเสียงหนัก จังหวะ การเชื่อมคำลงท้าย และน้ำหนักเสียงจะทำให้ผู้พูดรู้ถึงข้อด้อยของตัวเอง และพยายามหาทางพัฒนาและปรับปรุงตัวเองและเลือกหาสื่อในการสอนการออกเสียงให้ถูกต้องกับตัวผู้พูดเอง
          ดังนั้นการเรียนออกเสียงให้คล่องและคนฟังแล้วเข้าใจนั้นใช้เวลา และต้องอาศัยทั้งการฝึกร่างกายและจิตใจ  เพราะเมื่อเราเรียนเสียงใหม่ เราต้องใช้ทั้งกล้ามเนื้อปากในการฝึกออกเสียง และเปลี่ยนการออกเสียงตามแบบที่เราเคยชินมาเป็นการออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักของการออกเสียงภาษาอังกฤษ  ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และถึงแม้ว่าความรู้ในเรื่องไวยากรณ์จะแม่นยำมากแค่ไหน แต่หากขาดความรู้ในเรื่องการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง ก็จะเป็นเรื่องยากที่ทำให้การติดต่อสื่อสารประสบความสำเร็จ การออกเสียงภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกต้องจะทำให้คู่สนทนาเข้าใจความหมายคลาดเคลื่อนได้ หากเราออกเสียงโดยไร้ความกังวนก็จะทำให้ออกเสียงได้ถูกต้อง  ฉะนั้นผู้พูดจึงต้องหมั่นฝึกค่อยๆสร้างทักษะและเพิ่มความชำนาญ ปากของเราเองก็ต้องค่อยๆสร้างกล้ามเนื้อปากให้จำการออกเสียงภาษาอังกฤษให้ได้ดีขึ้นเรื่อยๆจนประสบผลสำเร็จ

http://engacademy.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com