วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 5


Learning Log 5
ในห้องเรียน
จากการศึกษาในห้องเรียนครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการอ่าน ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของประโยคของ Simple Sentence, Compound Sentence, Complex Sentence, Compound Complex Sentence, Adjective Clause(Relative Clause), และการทำ Adjective Clause เป็น Adjective Phrase ซึ่งในการศึกษาเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและสับสน แต่ผู้เรียนก็เคยศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว  ซึ่งโครงสร้างของประโยคแต่ละอย่างนั้นมีความแตกต่างกันจะประกอบด้วยส่วนต่างๆที่สำคัญหลายๆส่วน ผู้เรียนต้องศึกษาอย่างรอบคอบและละเอียด จะต้องอาศัยการทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก  ในการเรียนภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตามก็ต้องยึดโครงสร้างประโยคเป็นหลักซึ่งจะประกอบด้วย2ส่วนคือภาคประธานและภาคแสดง ซึ่งเมื่อเรารู้หลักการแล้วก็จะสามารถสร้างประโยคได้เอง

     การศึกษาโครงสร้างของประโยคเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ผู้เรียนทุกคนจะพูดหรือเขียนภาษาอังกฤษได้นั้นจะต้องทำความเข้าใจกับโครงสร้างก่อนเป็นอันดับแรก รูปแบบของประโยคหลักก็จะมีอยู่ 2 ส่วนคือ ภาคประธาน(Subject)และภาคแสดง(Predicate)  โดยประโยคชนิดต่างๆในภาษาอังกฤษก็จะแบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ ประโยคความเดียว(Simple Sentence) คือประโยคที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวมันเอง ซึ่งประกอบด้วยภาคประธาน (Subject)ที่มีประธานเป็นหนึ่งเดียวภาคแสดง(Predicate)ที่มีกริยาเพียงหนึ่งคำโดยภาคประธานและภาคแสดงนั้นอาจจะมีส่วนขยายอื่นๆอยู่ด้วยก็ได้ เช่น The manager turned off the light. , A big tall man forcefully hit the door. , The strong mountain lion attacked one of the Japanese tourists. เป็นต้น ซึ่งประโยคความเดียวนั้นถือเป็นประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษเป็นประโยคง่ายๆที่สามารถสร้างได้โดยไม่ซับซ้อน
ประโยคความรวม(Compound Sentence) คือประโยคที่สร้างขึ้นจากประโยคความเดียวอย่างน้อย 2 ประโยคโดยมี Coordinating Conjunction หรือ Conjunctive Adverb เชื่อมระหว่างประโยค ประโยคความเดียวที่อยู่ในประโยคความรวมนี้จะถือเป็นอนุประโยคประเภท Independent Clause ซึ่งหมายถึง อนุประโยคที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวเอง และเมื่อแยกตัวออกจากประโยคความรวมแล้วก็จะกลายเป็นประโยคความเดียว(Simple Sentence) โดยทั่วไปเราสามารถสร้างประโยคได้โดยการเชื่อมประโยคความเดียวสองประโยคเข้าด้วยกันโดยใช้ Coordinating Conjunction ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่ตัวและสามารถจำได้ง่ายๆคือ for, and, nor, but, or, yet และ so และอาจจะคั่นด้วยเครื่องหมาย Comma(,)เพื่อให้เป็นประโยคเดียวกันมีความหมายคล้อยตามกัน
สำหรับการใช้(,)นั้น ทุกครั้งที่เราใช้ Coordinate Conjunction ในการเชื่อมประโยค เพราะจะทำให้ประโยคที่เราสร้างนั้นถูกต้อง บางครั้งเราอาจจะเห็นเจ้าของภาษาเขียนโดยไม่ใช้ Comma ซึ่งก็ถูกต้องเช่นกัน แต่ประโยคนั้นจะต้องมีความสมดุลกันหรือมีใจความสั้นๆกระซับ หากไม่แน่ใจว่าจะใส่ Comma ดีหรือไม่ใส่ดี ก็ควรที่จะเลือกใส่ไว้ก่อนเพราะป้องกันการผิดพลาด  นอกจากใช้ Coordinate Conjunction แล้วก็ยังสามารถสร้างประโยคความรวมโดยใช้ Conjunctive Adverb เช่น however, moreover, nevertheless, consequently หรือ as a result เป็นต้น มาเชื่อมประโยคความเดียวเข้าด้วยกัน สำหรับการใช้ Conjunctive Adverb นั้น จะใช้คั้นระหว่างอนุประโยคทั้งสองด้วยเครื่องหมาย Semicolon (;)แล้วจึงเขียน Conjunctive Adverb และปิดท้าย Conjunctive Adverb ด้วย Comma(,) ก่อนที่จะเขียนอนุประโยคที่สอง
ประโยคที่เชื่อมด้วย Conjunctive Adverb จะต้องมี Semicolon (;)มาคั่น แทนที่จะใช้เครื่องหมาย Comma(,) เฉยๆ ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะอนุประโยคทั้งคู่ต่างเป็น Independent Clause จึงสามารถแยกตัวออกจากกันเป็นประโยคความเดียว โดยที่ยังคงให้ความหมายเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เช่น - You should hire a local guide. Otherwise, you can get lost in the mountain. – People rent or buy pirate DVD. Meanwhile, producers lose their expected income. นอกจากนี้ประโยคที่ใช้ Coordinate Conjunction สามารถแยกจากกันได้โดยที่ความหมายยังคงเดิมไม่เปลี่ยนไป แต่จะนิยมแยกจากกันก็เฉพาะเมื่อต้องการจะเน้นให้เห็นความสำคัญในแง่ความหมายของคำ Coordinate Conjunction นั้นๆเท่านั้น โดยมีวิธีการท่องจำ Coordinate Conjunction อย่างง่ายๆ คือจำคำ “fanboys” เป็นการนำอักษรตัวแรกของ Coordinate Conjunction แต่ละตัวมาเรียง  for and nor but or yet so
ประโยคความซ้อน(Complex Sentence) คือประโยคที่ประกอบด้วยอนุประโยคที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวเองเมื่อแยกออกมาจากประโยคความซ้อน อนุประโยคนี้มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Independent Clause กับอีกอนุประโยคหนึ่งที่ไม่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวเองเมื่อแยกมาประโยคความซ้อน อนุประโยคอย่างหลังนี้เรียกว่า Dependent Clause ซึ่งจะนำหน้าด้วย subordinate conjunction อย่างเช่น after, although, as, as long as, because, so that, that, which, while, what หรือ when เป็นต้น ในประโยคความซ้อนนั้น อนุประโยคชนิด Independent Clauseและ Dependent Clause จะต้องอยู่ด้วยกัน จึงสามารถสื่อความหมายตามที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการ ดังตัวอย่างเช่น The man who came here yesterday is the manager’s uncle.ประโยคนี้สร้างจาก Simple Sentence 2 ประโยคคือ  - The man is the manager’s uncle. - The man came here yesterday.
ประโยคความรวม ความซ้อน(Compound-complex Sentence) คือประโยคที่ประกอบทั้ง Independent Clause และ Dependent Clause โดยมักจะประกอบด้วยจำนวน 2 ประโยคขึ้นไปและ Dependent Clause อีก 1 ประโยค ดังตัวอย่างประโยคเช่น Even though he preferred going by car, he ended up taking a bus; however, it wasn’t as crowded as he thought.
จากประโยคเราจะแบ่งคำสันธานตามหน้าที่การเชื่อมข้อความประเภทต่างๆ แต่การแยก Correlative Conjunction ออกมาดูจะเป็นการเน้นที่โครงสร้างของคำสันธานมากกว่าเน้นหน้าที่เพราะ Correlative Conjunction มีโครงสร้างต่างจาก Conjunction ประเภทอื่น Conjunction ชนิดนี้จะประกอบด้วยคำสองคำ และทำหน้าที่ได้ทั้งเชื่อมข้อความที่มีความหมายคล้อยตามกันหรือเชื่อมข้อความที่มีความหมายให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากประโยคจะแบ่งตามโครงสร้างแล้วก็ยังแบ่งตามหน้าที่ของประโยคนั้นด้วย
นอกจากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างของประโยคแล้วก็ยังศึกษาเรื่อง  Adjective Clause (อนุประโยคที่ทำหน้าที่อย่างคุณศัพท์) คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือวลี ไม่ว่าคำนามนั้นจะทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เป็นกรรมของกริยา หรือเป็นกรรมของบุพบทก็ตาม อนุประโยคนี้จะขึ้นต้นด้วย that, which, who, where, when, หรือ whose เป็นต้น อนุประโยคนี้จะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า Relative Clause ดังตัวอย่างเช่น  The man who lives on the third floor is a doctor. ดังประโยคข้างต้นจะเห็นได้ว่าโครงสร้างของประโยคภาษาไทยและภาษาอังกฤษใกล้เคียงกันมาก keyword ที่ใช้นำหน้า Adjective Clause ทั้งนี้เพราะคำนามหรือนามวลีที่อนุประโยคนี้ทำหน้าที่ขยาย เป็น คนและยังทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคหรือประธานของคำกริยา “is” ด้วย
และยังศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการกระทำ Adjective Clause ให้เป็น Adjective Phase เพื่อให้ประโยคนั้นกระชับ  การที่เราลดรูปประโยคเหตุผลหลักๆ ก็เพื่อทำให้ประโยคหรือบริบทที่เราเขียนนั้นมีความกระชับยิ่งขึ้น ไม่ยืดเยื้อจนเกินไป และเพื่อสร้างความหลากหลายในการใช้ภาษา ไม่ให้เกิดความซ้ำซากจำเจและน่าเบื่อและไม่ทำให้ความหมายในประโยคหรือในบริบทนั้นๆผิดเพี้ยนหรือบิดเบือนไปจากเดิม ดังนั้น Clause ที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม (Noun) หรือสรรพนาม (Pronoun) คือ Adjective clause และถ้าลดรูปแล้วจะได้เป็น Participial phrase หรือ Adjective phrase/ Adjectival phraseโดยมีหลักการและขั้นตอนดังนี้คือการลดรูป Relative clause ที่เป็น Adjective clause ให้เป็นวลี (Phrase) โดยตัด Relative pronoun ทิ้ง (Relative pronouns: that, who, whom, which, whose, whom)และเปลี่ยนเป็น V.3 และ V.ing   A) The guy who chattered with Big John through Skype a few days ago was Dave. ลดรูปเป็น  B) The guy chattering with Big John through Skype a few days ago was Dave
ในการศึกษาอนุประโยคประเภทต่างๆนั้นเครื่องหมายวรรคตอนจะมีบทบาทสำคัญมาก ซึ่งทุกครั้งที่เขียนภาษาอังกฤษจะต้องระลึกไว้เสมอว่าจะต้องมีเครื่องหมายวรรคตอน ซึ่งโครงสร้างของประโยคแต่ละอย่างนั้นมีความแตกต่างและซับซ้อนกันประกอบด้วยส่วนต่างๆที่สำคัญหลายๆส่วน ผู้เรียนต้องศึกษาอย่างรอบคอบและละเอียด จะต้องอาศัยการทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก โดยปกติแล้วโครงสร้างประโยคจะประกอบด้วย2ส่วนคือภาคประธานและภาคแสดง ซึ่งเราทุกคนก็รู้กันดีแล้ว ดังนั้นหากสามารถทำความเข้าใจกับโครงสร้างของประโยคในรูปแบบต่างๆได้แล้ว ก็จะสามารถสร้างประโยคของเราได้เองจะเป็นประโยคสั้นๆหรือประโยคยาวๆ ที่ซับซ้อนก็ได้ ซึ่งสามารถสื่อสารได้ดีขึ้นทั้งการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ฉะนั้นภาษาอังกฤษก็ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนถ้าเราเข้าใจโครงสร้างของประโยค














นอกในเรียน
จากการเรียนนอกห้องเรียนเป็นการเรียนทักษะการอ่าน เกี่ยวกับเรื่องการเรียนภาษาอังกฤษด้วยหลักการ Contrastive Analysis ซึ่งเป็นการเรียนที่ไม่ใช่แค่การท่องจำหรือแค่สอบได้ แต่ผู้เรียนนั้นต้องเก่ง ฉลาด สามารถสอบต่อได้ในระดับที่สูงขึ้นไปอย่างยั่งยืน เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่นั้นใช้ภาษาไม่เป็น ทำข้อสอสบไม่ได้ เมื่อทำข้อสอบแล้วมักพลาดที่จะเข้าเรียนในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไป โดยเฉพาะระดับอดดุมศึกษา จนก่อให้เกิดความล้มเหลวเป็นบาดแผลในกับชีวิต
หากสามารถเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ดีและยั่งยืนขึ้นจะต้องอาศัยหลักการในการเรียนภาษาอังกฤษซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้เรียนดังนี้คือ   1 ความรู้ทางภาษาอังกฤษที่ได้รับนั้นจะคงอยู่กับตัวผู้เรียนไปตลอด ไม่ต้องมาเรียนย้อน หรือไม่ต้องย้อนมาทบทวนหรือท่องจำในสิ่งที่เคยเรียนไปแล้วในชั้นประถมหรือมัธยม 2 สามารถเรียนรู้ต่อยอดไปได้เรื่อยๆส่งผลต่อการเข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้น 3เมื่อพ้นจากชีวิตวัยเรียนแล้ว ผู้เรียนสมารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ใช้ในการดำรงชีวิตในสังคม หรือใช้ในการทำงานได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้หลักการเรียนภาษาอังกฤษให้ยั่งยืน จึงถือว่าทรงคุณค่ามากกว่าการนนำเสนอเพียงหลักการเรียนเพื่อสอบได้คะแนนดีๆแต่ในทางกลับกันนั้นกลับลืมความรู้ที่ได้อ่าน-ได้ทบทวน-ได้ท่องจำ-ได้ทำแบบฝึกหัด หลักจากสอบเสร็จก็เท่ากับว่าการเรียนภาษาอังกฤษมาเป็นเวลานานก็ได้หมดประโยชน์ไป อีกทั้งข้อมูลที่เล่าเรียนและท่องจำมานั้นผู้เรียนก็ไม่เคยเอาไปสื่อสารหรือใช้ที่ไหน นอกจากเอาไปใช้ในการสอบเพียงครั้งคราวเท่านั้นเอง โดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมาที่หลังว่าจะเป็นอย่างไร
สำหรับการใช้ Contrastive Analysis คือการเปรียบเทียบความเหมือน-ความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทย โดยจะดูเฉพาะข้อแตกต่างของสองภาษานี้เท่านั้น และจะเน้นเฉพาะข้อแตกต่างที่มักส่งผลให้คนไทยนั้นใช้ภาษาอังกฤษไม่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น จึงต้องมีการอาศัยภาษาไทยเนื่องจากเป็นภาษาไทยของผู้เรียนมีการใช้ทุกวัน ถึงแม้จะไม้เข้าใจกฎเกณฑ์แต่ผู้เรียนสามารถเอาความรู้และความเข้าใจไปช่วยอธิบายก็จะทำให้เราเข้าใจอะไรมากยิ่งขึ้น
ในขณะเดียวกันไวยากรณ์ภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกัน เราต้องมองให้หลากด้านหลายมุม แล้วผู้เรียนจะมองเห็นรูปแบบของมันได้ชัดเจนขึ้น มองเห็นความสัมพันธ์ของไวยากรณ์แต่ละจุด และเข้าใจภาษาได้ การเข้าใจในลักษณะนี้จะทำให้ผู้เรียนใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างยั่งยืนคือใช้ได้และพัฒนาต่อยอดได้ตลอดไปชั่วชีวิต หลักการใช้ Contrastive Analysis จึงแตกต่าง จากหลักการที่เรียกว่า Grammar translation หมายถึงการเรียนการสอนที่เน้นการสอนไวยากรณ์โดยการแปลเป็นภาษาไทย ทำให้นักเรียนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยกับวิธีเรียนวิธีสอนนี้กันมายาวนาน
            และที่สำคัญคือ Contrastive Analysis เป็นหลักการที่ไม่ยากจนเกินไป  แต่จะทำให้เราเข้าใจ รวมทั้งจดจำไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น ดังตัวอย่างเช่น ภาษาไทยของเราเป็นภาษาที่ไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอน  แต่ภาษาอังกฤษใช้เครื่องหมายวรรคตอนเสมอ และเครื่องหมายวรรคตอนเหล่านั้นก็ส่งผลต่อความหมายของแต่ละวลีแต่ละประโยคด้วย ซึ่งหากมีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนผิดไป ไวยากรณ์ก็ไม่ถูกต้องหรืออาจจะถึงกับส่งผลให้ความหมายของประโยคผิดไปได้
            ในเรื่องการเว้นวรรคตอน หากในตัวประโยคไม่มีเครื่องหมายวรรคตอนใดๆมาคั่น หากเราไม่เชื่อในเครื่องหมายวรรคตอนเพราะในภาษาไทยไม่มีแล้วเรายึดเว้นวรรคตอนตามสัญชาตญาณ เราก็มักจะเว้นวรรคเมื่อมีตัวเชื่อม ดังตัวอย่างเช่น The manager wanted to lay Jane (เว้นวรรคตอน) and jack off. ประโยคนี้ผิดการเว้นวรรคตอน และการสะกด proper noun คือ ไม่ได้สะกดชื่อ Jack โดยขึ้นต้อนด้วยอักษรตัวใหญ่ คำๆนี้จึงกลายเป็นคำกริยา jack off ซึ่งเป็น slang เมื่อทราบถึงความหมายที่ผิดก็จะทำให้ไม่มีใครลืมความสำคัญของวรรคตอนและการสะกดคำ proper noun อีก
            จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะทำให้เข้าใจในเรื่องของความแตกต่างระหว่างไทยกับภาษาอังกฤษตามหลักการ Contrastive Analysis แล้วก็สามารถใช้เป็นประโยชน์เพื่อช่วยในการจำกฎเกณฑ์ที่สำคัญต่างซึ่งเราสามารถจำและเข้าใจภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น ดังนั้นภาษาอังกฤษด้วยหลักการ Contrastive Analysis ซึ่งเป็นการเรียนที่ไม่ใช้แค่การท่องจำหรือแค่สอบได้ แต่ผู้เรียนนั้นต้องเก่ง ฉลาด สามารถสอบต่อได้ในระดับที่สูงขึ้นไปอย่างยั่งยืน และนำไปประยุกต์ใช้ในครั้งต่อไปได้โดยไม่ต้องกลับมาทบทวนใหม่อีกครั้ง  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com