วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 13


Learning Log 13

นอกห้องเรียน
จากการเรียนวิชาการแปล 1 ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.. 2558 สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ 1 ประเด็น คือ นอกชั้นเรียน
ในการเรียนนอกห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้เข้าร่วมอบรมเรื่องการอบรมภาษาอังกฤษเชิงบูรนาการและการประยุกต์ใช้ของบรรยายโดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร  และเปิดพิธีการอบรมโดยอธิการบดีมหาวิยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ในการอบรมครั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาคือภาคเช้าและภาคบ่าย และแต่ละช่วงก็มีการพักเบรคโดยการเลี้ยงของว่าง ในการพักเบรคนั้นทำให้ผู้เข้าอบรมและผู้บรรยายได้ผ่อนคลายและไม่เหนื่อยสามารถที่จะบรรยายต่อในช่วงต่อไปได้ ในการบรรยายครั้งนี้จะกล่าว
ถึงวิธีการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 การเรียนในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ามีจะมีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายซึ่งขึ้นอยู่กับครูผู้สอนว่าต้องการให้การเรียนรู้นั้นเป็นไปอย่างไร การเรียนส่วนใหญ่ในปัจจุบันคือการให้การบ้านไปศึกษาแล้วหลังจากที่ผู้เรียนได้ไปศึกษาเนื้อหานั้นแล้วก็นำมาสรุปและศึกษากันต่อในห้องเรียนครั้งต่อไปทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างรวดเร็วซึ่งการเรียนครั้งนี้ผู้เรียนจะต้องอาศัยทั้งความพยายามและความขยัน เด็กสามารถเข้าใจเนื้อหาได้รวดเร็ว

การเรียนรู้นั้นที่ขาดไม่ได้คือการที่ครูจะต้องเพิ่มทักษะทางภาษาให้แก่ลูกศิษย์แก่ตนเอง ครูจะต้องรู้จักใช้อาวุธทางปัญญาปลูกฝังให้แก่ลูกศิษย์ของตนเอง เพื่อให้เด็กนั้นเก่งและสามารถคุยกับคนอื่นได้เข้าใจและรู้เท่าทันคนอื่นๆ ภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาสากลที่คลุมพื้นที่ทั่วโลก เราสามารถใช้เป็นอาวุธที่สำคัญ และติดอาวุธทางปัญญาให้แก่ศิษย์ จะเห็นได้ว่าครูนั้นจะสอนได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับทักษะการสอนของครูและเด็กสามารถจดจำและเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ดีแค่ไหนและสามารถปฏิบัติตามได้หรือไม่ ดังสำนวนที่ว่า ค่าของคนดูที่ผลงาน  ค่าของอาจารย์อยู่ที่ผลของศิษย์”  และที่สำคัญการเรียนวิชาภาษาอังกฤษยังต้องรู้หลักเกณฑ์ซึ่งจะต้องมีความแม่นยำทางด้านทักษะต่างๆคือ การฟัง พูด อ่าน และเขียน และแน่นอนคือผู้เรียนจะต้องสนใจใฝ่ถาม ปฏิบัติได้ถ่ายถอดเป็นทางด้านวิทยาการเรื่องต่างๆมากมายที่เกี่ยวกับการเรียนภาษา
   การเรียนภาษาอังกฤษในปัจจุบันจะมีการร้อนรนกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องการที่จะพัฒนาบุคลากรในองค์กรของตนเองให้สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ผู้เรียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษให้ได้มากกว่าการเรียน  หรือเพื่อการสื่อสาร แต่ผู้เรียนนั้นจะต้องเรียนเพื่อหาความรู้และเพื่อให้โยงใยกับภาษาอื่นสามารถเชื่อมโยงได้ทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรม ปัจจุบันโลกของเราอยู่ในศตวรรษที่ 21 การเรียนในยุคนี้ผู้เรียนต้องมีคุณลักษะที่จำเป็นคือคือควรจะมีความสามารถในการอ่านการเขียน และการคิดเลข เพราะทุกวันนี้เราสามารถหาความรู้จากการอ่าน เพราะมนุษย์ทุกวันนี้ตื่นขึ้นมาก็หยิบโทรศัพท์มาเล่นแล้วถ้าเราทำให้มันเกิดประโยชน์จากสิ่งนั้นคืออ่านที่มีความรู้จากโทรศัพท์ก็จะทำให้เรามีความรู้มากขึ้น แต่ที่แย่คือมนุษย์เราขาดการคิดวิเคราะห์ ซึ่งเมื่อเราได้เนื้อหาหรือข่าวที่ได้จากการอ่านแล้วเราก็จะมีการสื่อสารบอกต่อแบบผิดๆทำให้เกิดการปั่นป่วนทางด้านความคิดเป็นอย่างมาก 
การที่เป็นครูเราก็จะต้องมอบสิ่งที่ดีให้กับเด็ก เด็กจะมีความพร้อมได้ก็ต่อเมื่อเด็กสามารถปฏิบัติตนได้ตาม C ทั้ง 7 ตัว คือผู้เรียนจะต้องมีการศึกษา C ทั้งเจ็ดตัวให้เข้าใจอย่างละเอียดและจะต้องปฏิบัติตาม C ทั้งเจ็ดจึงจะสามารถเป็นคนที่มีทักษะทางด้านการคิดวิเคราะห์ ซึ่งC ทั้งเจ็ดก็มีดังนี้คือ C1 = ต้องคิดตีความให้ได้ C2=สร้างสรรค์และพัฒนาชิ้นงาน C3=เรียนรู้วัฒนาการต่างๆ C4=ทีม work คือต้องทำงานร่วมกัน หมดยุคของการแข่งขันต้องฝึกทั้งการเป็นผู้นำและผู้ตาม C5=ความสามารถในการสื่อสารหรือเท่าทันสื่อ C6= ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร และ C7= สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้ C ทั้ง 7 ตัวนี้ เมื่อเราอยู่ในระดับมหาลัยเราสามารถเรียนรู้ได้จากรายวิชาพัฒนาหลักสูตร แต่เราก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้จากหนังสือตามห้องสมุดไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้อื่นนำข้อมูลมาป้อนให้อยู่เสมอ  และสิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรอาชีพครูต้องเรียนรู้ให้แม่นยำเพื่อที่จะนำไปใช้กับเด็กนักเรียน
มนุษย์มีการเรียนรู้ที่ไม่มีขีดจำกัดสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หรือ ทำสิ่งใด แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์ก็มีขั้นต่ำสุด คือ ความจำ  นำไปใช้ วิเคราะห์  สังเคราะห์ และนำไปใช้ ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กนั้นครูควรจะมีการออกแบบบทเรียนให้สอดคล้องกับทุกด้านซึ่งจะทำให้เกิดคุณค่าในปัจจุบัน ครูผู้สอนสามารถศึกษาวิธีที่จะทำให้เด็กมีความพร้อม วิธีต่างๆก็มีดังนี้คือ ทำให้เด็กนักเรียนรู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไรเพราะในปัจจุบันนี้จากที่พบเห็นนั้นทุกคนเรียนกันเพื่อจะให้จบแล้วได้รับปริญญา เอาใบปริญญามาประดับบ้านเท่านั้นเอง  กระบวนการวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายของผู้เรียน คือการที่เราทำให้ผู้เรียนได้รู้ว่าในอนาคตข้างหน้าเมื่อเรียนจบแล้วจะทำงานใดตัวฉันเองก็ได้วางแผนไว้แล้วเช่นกันคือ การที่จะเป็นครูแล้วได้สอนเด็กๆ  ความมั่นใจไม่กลัวเน้นภาษาอังกฤษเพื่อการบริการผู้เรียนต้องเรียนรู้ทั้งทางวัฒนธรรมและการใช้ชีวิต และสภาพแวดล้อมจะต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กทำให้เด็กนั้นได้เรียนรู้ 24 ชั่วโมงต่อวัน 
เมื่อกล่าวถึงทักษะการคิด  ฉันคิดว่าการคิดนั้นทุกคนสามารถคิดได้ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิดต่าง ซึ่งความคิดนั้นจะอยู่ภายในสมองของเราและไม่มีใครสามารถมองเห็นนอกเสียจากเราจะพูดสิ่งที่คิดนั้นออกมาให้คนอื่นได้รับรู้  นอกจากนี้การวิเคราะห์กับการคิดวิเคราะห์นั้นจะต่างกัน  การวิเคราะห์คือการแก้ปัญหาให้จบ ซึ่งการพัฒนาการวิเคราะห์สามารถทำได้ 2 รูปแบบคือในห้องเรียนและในสื่อ เราสามารถทำได้ซ้ำๆและบ่อยๆผู้เรียนจึงจะมีความสารถมารถในทักษะการคิด  และการคิดนั้นเราจะต้องเชื่อมโยงความสำพันธ์ได้ สามารถวิเคราะห์ข้อคิดและสภาพออกมาได้  โดยที่ทุกคนต้องผ่านการอ่านและการฟังและสามารถทำนาย  พยากรณ์  หรือคาดการณ์สิ่งนั้นออกมาได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เราคิดถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าได้ เราสามารถที่จะรับมือกับปัญหาที่จะเกิดได้ทำให้เราดูเป็นคนเก่งและน่าเชื่อถือ คิดว่าทุกคนคงจะชอบที่คนอื่นมองเราแบบนี้ฉันเองก็เช่นกัน เราจึงต้องควรฝึกคิด คิดเยอะๆบ่อยๆและต้องคิดอย่างสร้างสรรค์ด้วย
การคิดนั้นไม่ใช้แต่การเรียนภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียวที่ต้องคิดแต่วิชาอื่นๆก็ต้องคิดเช่นกัน เช่นวิยาศาสตร์ เมื่อมีการทดลองแล้วทุกคนก็ต้องคาดการว่าสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปจะเป็นอย่างไรกับเหตุการณ์นั่น และเราจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร วิชาคณิตศาสตร์เราก็ฝึกคิดแก้ไขปัญหาโจทย์ ถ้าผู้เรียนสามรถวิเคราะห์ได้ก็แสดงว่าผู้เรียนได้คิดเป็นแล้ว นอกจากนี้ภาษาในโลกนี้ที่ฉันรู้จักก็มีอยู่หลายร้อยภาษาแต่ภาษาที่นิยมใช้กันนั้นมีเพียง 10 ภาษาซึ่งจะมีการนำภาษานั้นมาพูดทับศัพท์กัน เช่นที่พบเห็นได้บ่อยก็คำว่า same same  แปลว่าเหมือนกัน เช่นกัน แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่พูดกันนั้นผิด เพราคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าคำนี้กลุ่มคนอังกฤษจะไม่ใช้กัน จากการฟังบรรณยายครั้งนี้ดิฉันเองก็พึ่งรู้เหมือนกันว่าคำนี้คนต่างชาติจะไม่ใช่กันซึ่งฉันก็หลงผิดใช้กันมานาน แต่เมื่อรู้แบบนี้แล้วฉันเองก็จะหยุดใช้เพื่อไม่ให้คนอื่นๆรับข้อมูลที่ผิดๆไป และมีการใช้คำที่ติดปากกันแต่ผู้ที่พูดนั้นไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของคำนั้น เช่นคำว่า ชุดแซก ถ้าพูดกันเองในกลุ่มคนชาวไทยก็จะเป็นที่รู้จักกันดีว่าชุดแซกก็คือชุดที่ผู้หญิงชอบใส่กัน แต่พอพูดให้ชาวต่างชาติได้ยินเขาอาจจะหัวเราะได้เพราะชุดแซกก็คือกระสอบนั้นเอง บางครั้งเราก็มีการใช้คำแบบผิดๆ มั่วๆ ก็คือก็ใช้คำแล้วพูดเป็นประโยคแต่พอแปลออกมานั้นเป็นอีกความหมายหนึ่ง เช่น You are hot! คือผู้พูดนั้นต้องการที่จะถามว่าคุณร้อนไหม  แต่ความหมายที่ผู้ฟังแปลได้ หรือความหมายจริงๆก็คือคุณดูเร้าร้อน หรือคุณน่าสนใจ
ในทุกวันนี้จากที่ฉันสังเกตเห็นนั้นครูก็ยังป้อนข้อมูลให้เด็กแบบเดิมๆและผิดๆ              หรือแม้แต่การทับศัพท์ชื่อยี่ห้อ หรือแบรนด์ ซึ่งในประเทศไทยก็สามารถพบเห็นได้บ่อย เช่นยี่ห้อรถ ยี่ห้อเสื้อผ้า หรือแม้แต่ของใช้ต่างๆ ซึ่งชื่อเหล่านั้นเราต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เสอม เราจะพบเห็นได้ตามบทความ หรือข่าวโฆษณาต่างๆเพื่อให้นักเรียนได้รู้จักคำศัพท์เหล่านี้ฉันคิดว่าควรที่จะให้เด็กได้ฝึกอ่านข่าวอยู่เสมอเพราะคำเหล่านี้จะไม่ค่อยมีบัญญัติไว้ในพจนานุกรม บางครั้งเมื่อเราไม่รู้ความหมายที่แท้จริงแล้วเมื่อนำมาแต่งประโยคก็จะทำให้เกดการแปลที่ผิดๆทำให้ความหมายที่สื่ออกมานั้นผิดแล้วเข้าใจไม่ตรงกัน บ่อยครั้งเหมือนกันที่ฉันได้เจอกับปัญหาเหล่านี้ เมื่อแปลแล้วผู้อื่นอาจจะหัวเราะได้เพราะฉันได้แปลความหมายเป็นอีกความหมายหนึ่ง วิธีการเดียวที่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ก็คืออ่านเรียนรู้คำศัพท์ ด้วยการฝึกอ่านท่องจำ และหัดเขียนอยู่บ่อยๆ เมื่อเราเก่งคำศัพท์แล้วเราก็กล้าที่จะแปล และแปลอย่างมั่นใจโดยที่ไม่ต้องกังวนจะแปลผิด หรือคนอื่นจะหัวเราะ
                จากการอบรมช่วงเช้าของวันที่ 29 ตุลาคม 2558 ตัวฉันเองก็ได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆมมากมาย ในการเรียนรู้ในช่วงศตวรรษที่ 21 นั้นก็คือในยุคปัจจุบันนี้นั้นเอง การเรียนรู้ภาษาอังกฤษในปัจจุบันนี้จะต้องรู้หลักเกณฑ์อย่างแม่นยำ ผู้เรียนจะต้องสนใจและใฝ่ถามครูผู้สอนอยู่ตลอดเวลา การเรียนภาษาในปัจจุบันนี้เป็นการเรียนเพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ความสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษนั้นผู้เรียนไม่ได้เรียนเพื่อการสื่อสารเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อหาความรู้และสามารถโยงใยกับภาษและวัฒนาธรรมอื่นๆได้ ซึ่งการเรียนรู้ครั้งนี้เรื่องบางเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา เรายังไม่เข้าใจมันอย่างแท้จริงแล้วเรายังใช้กันแบบผิดๆ สื่อสารและถ่ายทอดออกมาให้เด็กได้รับรู้แบบผิดๆ ดังนั้นครูทุกคนควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนเพื่อให้เด็กนั้นเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นรู้จักการคิด วิเคราะห์ หรือทำนายเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเด็กมีคุณสมบัติต่างๆเหล่านี้แล้วก็จะทำได้เด็กคิดเป็นและเปนคนเก่งจ่อไปในอนาคต



นอกห้องเรียน (ภาคบ่าย)
จากการเรียนวิชาการแปล 1 ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.. 2558 สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ 1 ประเด็น คือ นอกชั้นเรียน
การเรียนนอกห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้เข้าร่วมอบรมเรื่องการอบรมภาษาอังกฤษเชิงบูรนาการและการประยุกต์ใช้ของบรรยายโดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร  ในการอบรมครั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาคือภาคเช้าและภาคบ่าย ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการอบรมในช่วงภาคบ่าย แน่นอนว่าบรรยากาศในช่วงตอนบ่ายนั้นผู้เข้าอบรมทุกคนจะรู้สึกง่วง ผู้บรรยายเลยไม่เน้นเนื้อหามากนักแต่จะเน้นการเล่นเกมส์เพื่อให้ทุกคนในที่อบรมรู้สึกผ่อนคลายไม่ง่วง หรือน่าเบื่อ แต่อย่างไรก็ตามในการเล่นเกมส์นั้นผู้สอนก็คงยังสอดแทรกเนื้อหาไว้ด้วย การเรียนรู้ของเรานั้นสามารถรับรู้ได้พร้อมๆกันหลายเรื่องเนื่องจากจากสมองของคนนั้นมีทั้งซีกซ้ายและซีกขวาทั้งสองซีกนี้จะรับรู้เรื่องราวในรูปแบบที่แตกต่างกัน คือ สมองซีกขวานั้นจะมีเหตุผลมากกว่า การเรียนรู้นั้นก็จะมีการใช้เพลงเพราะการเรียนรู้ด้วยการฟังเพลงนั้นจะทำจะทำให้เราได้ค่อยๆเรียนรู้คำศัพท์และการเรียนนั้นครูจะจะต้องรู้จักหลอกล่อนักเรียนโดยใช้ของรางวัลทุกคนนั้นคงจะไม่ปฏิเสธอยู่แล้วเพราะทุกคนชอบที่จะได้ของรางวัล
การที่เราเป็นครูและสอนผู้อื่นได้จะต้องเป็นคนที่มีไหวพริบ รู้จักทักษะการแก้ปัญหา เพราะเราไม่รู้ว่าในขณะที่สอนเด็กนั้นเราจะเจอกับสิ่งใดเพราะเด็กทุกคนในห้องเรียนนั้นมีความสามารถที่แตกต่างกันไป มีการรับรู้ที่ไม่เท่ากัน หรือมีมุมมองความคิดที่แตกต่างกันไป เราในฐานนะครูจึงต้องชวยชี้แนะแนวทางให้แก่เด็กทำให้เด็กได้ค้นพบในสิ่งที่ตนเองถนัด  หากเราต้องการที่จะทำให้เด็กนั้นกล้าที่จะคิด และแสดงออกเราก็ต้องมีวิธีการสอนที่น่าสนใจและไม่น่าเบื่อ เช่นการให้เด็กได้ฝึกเล่นเกมส์โดยมีรางวัลมาหลอกล่อให้เด็กทำให้เด็กเกิดแรงจูงเมื่อเด็กนั้นก็อยากที่จะได้รางวัลแล้วเด็กก็จะตอบคำถาม พยายามที่จะหาคำตอบที่ถูกต้องอย่างกระตือรือร้น แต่ครูนั้นไม่ควรที่จะเล่นเกมส์นั้นนานเกินไป หรือใช้เกมส์เดิมๆเล่นอยู่บ่อยๆเพราะจะทำให้เด็กนั้นรู้สึกเบื่อและไม่อยากที่จะทำกิจกรรมนั้นอีก
จากการอบรมผู้บรรยายก็ได้ใช้เกมส์คลอสเวิร์ด คือการหาคำศัพท์จากตัวอักษรที่ที่อยู่ใกล้เคียงกันใครหาได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดก็จะได้รางวัล  ซึ่งเรียกว่าการเสริมแรงให้กับเด็กของรางวัลนั้นก็คือกระเป๋าดินสอ จากการเล่นเกมส์นั้นสังเกตได้ว่าทุกคนในที่อบรมมีความกระตือรือร้นที่จะตอบ ใช้เวลาในการเล่นเกมส์ประมาณ 10-15 นาที จะสังเกตได้ว่าช่วงหลังๆจะไม่ค่อยมีใครตอบเพราะมันานแล้วทำให้น่าเบื่อ ซึ่งในการเล่นเกมส์นี้ทำให้ฉันได้เรียนรู้คำศัพท์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย หรือแม้ทั้งคำศัพท์ต่อย่อ เพราะคำศัพท์ย่อนั้นก็มีการใช้กันมากอยู่ในปัจจุบัน ปัจจุบันโลกของเรานั้นมีปัจจัยต่างๆมากมายที่ทำให้ภาษานั้นเปลี่ยนไป จากที่อบรมได้จากการอบรมนั้นสิ่งที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนนั้นก็คือความมั่นใจ  ความต้องการของสังคมในปัจจุบัน และที่สำคัญก็คือ wifi นั่นคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ภาษาเปลี่ยน เพราะวัยรุ่นปัจจุบันเวลาที่แชทกันในเฟสบุค หรือในไลน์ก็จะใช้ศัพท์ที่แปลกๆและเข้าใจกันเองในกลุ่มวัยรุ่น
ภาษาจากอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถเห็นได้ชัดเจนและบ่อยครั้งที่ฉันได้พบเจอกับตัวเอง ภาษาเหล่านี้จะมีการสะกดคำ ในรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่การสะกดให้ตรงมาตรฐานเดิมบางตัวก็ขาดหายไปเพราะจะตัดให้คำนั้นสั้นลงเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการสนทนา บางครั้งก็มีการนำเอาตัวเลขมาผสมเพื่อให้ออกเสียงเหมือนกับคำเดิม เช่นที่ฉันได้พิมพ์บ่อยก็คือคำว่า 555 เป็นการหัวเราะซึ่งเลขนั้นก็ตรงกับน้ำสียงที่ทุกคนหัวเราะออกมาและบางครั้งการที่เราสะกดคำใหม่ออกมาหรือตัวตัวใดตัวหนึ่งออกไปเสียงที่ออกมานั้นก็จะไม่เหมือนเสียงเดิม  นอกจากนี้ก็มีการใช้สัญญาลักษณ์หรือที่รู้จักกันว่า Emoticons จะสื่อสารออกมาโดยใช้สัญญาลักษณ์บอกความรู้สึกแทนคำพูดที่จะพูดออกมากเมื่อเห็นแล้วทุกคนก็สามารถเข้าใจสิ่งนั้นตรงกันได้ และที่เลวร้ายที่สุดคือการใช้อักษรย่อจะมีการใช้ในกลุ่มวัยรุ่นเข้าใจกันเอง จะทำให้ภาษาที่ใช้จริงถูกลืมเมื่อเขียนจริงในทางการก็จะทำให้เขียนแบบผิดๆถูกๆสะกดคำได้ไม่ถูกต้องเพราะลืมเนื่องจากใช้ตัวย่อกันบ่อย
นอกจากนี้ ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ก็ได้พูดถึงเรื่องของเสียง เสียงนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการพูดเพื่อสื่อสารให้คนอื่นได้เข้าใจ และเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการพูดออกมาแล้วดูสำเนียงเหมือนกับภาษานั้นๆ  การออกเสียงจะออกได้ดีนั้นก็จะต้องก็ต้องอาศัยอวัยวะต่างๆในการออกเสียง นั้นก็คือ ปอด ลิ้น ปุ่มเหงือก ฟันบน ฟันล่าง และริมฝีปาก เมื่ออวัยวะต่างๆเหล่านี้ผิดปกติ ก็จะทำให้เราออกเสียงผิดและเมื่ออกสียงผิดก็จะเกิดปัญหาต่างๆมาทันที  เมื่อรู้จักองค์ประกอบของการออกเสียงแล้ว เราก็ได้ฝึกการออกเสียงต่างๆเช่นเสียง [p][b] จากการฝึกออกเสียงในครั้งนี้ก็ทำให้รู้ว่าเสียงทุกเสียงนั้นมีที่มาที่แตกต่างกัน ก็คือเสียงบางเสียงถูกขับออกมาด้วยริมฝีปาก หรือบางเสียงถูกขับออกมาด้วยฟัน หรือแม้แต่ปุ่มเหงือกของเราก็ยังมีส่วนร่วมในการขับเสียงให้เปล่งออกมาอาจจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ ทำให้เราได้เห็นความสำคัญองช่องปากที่ไมใช่เพียงแต่ไว้ใช้รับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว
จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้นจะมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่  ซึ่งอาศัยทักษะการอ่านเพื่อที่จะรับรู้เรื่องราวต่างๆ และทักษะที่ใช้ในการเรียนรู้ภาษาต่างๆนั้นก็เริ่มจากทักษะการฟัง พูด อ่าน และการเขียน และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้นก็จะต้องมีการบูรนาการในการจัดการเรียนการสอนโดยมีการผสมผสานระหว่างการเรียนรู้ทั้งที่เป็นทักษะการเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อ และเทคโนโลยี และสุดท้ายคือทักษะชีวิตและการประกอบอาชีพ  เนื่องจากทุกคนนั้นมีเป้าหมายก็คือการประทำงานหรือประกอบอาชีพในฝันของตัวเองและสามารถที่จะเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ แต่เนื่องจากสังคมของเรานั้นมีวัฒนาธรรมที่แตกต่างกันไป ผู้ที่เรียนรู้นั้นก็จะมีความรู้ที่ตนเองได้รับและเห็นจากสังคมนั้นๆ เพราะฉะนั้นการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆให้เกิดประโยชน์ได้นั้นผู้เรียนจะต้องมีความรู้ ลงมือทำ และสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆได้ถึงแม้ว่าจะต่างชาติหรือต่างศาสนากันก็ตาม
จากการอบรมช่วงบ่ายของวันที่ 29 ตุลาคม 2558 ตัวฉันเองก็ได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆมมากมายแต่การอบรมช่วงบ่ายนั้นไม่ได้นั้นที่เนื้อหาสาระเพียงอย่างเดียวแต่จะเน้นเกมส์เป็นหลัก เพราะในช่วงศตวรรษที่ 21 นั้นครูเองจะต้องเป็นคนที่มีไหวพริบ ว่องไวในการคิดและการแก้ไขปัญหาในห้องเรียน รู้จักนำสิ่งใหม่ๆมาประประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อที่จะทำให้เด็กไม่เบื่อและอยากที่จะเรียนอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ครูจะต้องสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กโดยหาของรางวัลมาหรอกล่อ ทำให้เด็กอยากได้เมื่อเด็กต้องการรางวัลนั้นแล้วก็จะมีความกระตือรือร้นที่จะตอบคำถามทันที   จากการอบรมครั้งนี้นอกจากได้ร่วมเล่นเกมส์กันแล้วก็ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับเสียงเห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่มีอยู่ในช่องปากของเราหรือเราอาจจะเรียกช่องปากของเราว่าเป็นอุปกรณ์ในการออกเสียงก็เป็นได้เพราะถ้าเราออกเสียงไม่ได้หรือออกเสียงไม่ชัดเจนก็จะทำให้เกิดการเข้าใจและสื่อสารกันอยากขึ้นแต่ไม่ใช่ว่าทักษะการพูดนั้นจะสำคัญเพียงทักษะเดียวทักษะอื่นๆก้มีความสำคัญเท่าๆกัน ดังนั้นในการเรียนภาษาอังกฤษเราก็จะต้องให้ความสำคัญในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่านหรือเขียน สุดทเยเราก็จะเก่งได้ด้วยตัวของเราเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com