วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 14


Learning Log 14



นอกห้องเรียน  (ภาคเช้า)
จากการเรียนวิชาการแปล 1 ในวันที่ 30  ตุลาคม พ.. 2558 สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ 1 ประเด็น คือ นอกชั้นเรียน
ในการเรียนนอกห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้เข้าร่วมอบรมเรื่องการอบรมภาษาอังกฤษเชิงบูรนาการและการประยุกต์ใช้ของบรรยายโดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร การอบรมนี้ก็เป็นการอบรมครั้งที่สองซึ่งวันที่สองนี้จะเป็นการเน้นการบรรยายมากกว่าวันแรกแต่จะเน้นเนื้อหาเท่าแต่ช่วงเช้า เนื้อหาที่เรียนวันนี้ก็จะเกี่ยวกับวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21  การเรียนในศตวรรษที่ 21 นั้นก็คือการเรียนในปัจจุบันครูผู้สอนในยุคนี้จะต้องมีความสามารถในการอ่าน การเขียน และการคิดเลข จะ
เป็นการเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด วิเคราะห์  ซึ่งผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อคิดและสภาพออกมาได้ โดยผ่านทักษะการอ่านและการฟัง และสามารถทำนาย พยากรณ์หรือคาดการณ์ในอนาคตได้ เช่นการพยากรณ์อากาศ ถ้าผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ได้แสดงว่าคิดเป็นแล้ว นอกจากนี้ผู้เรียนจะต้องรู้หลักเกณฑ์ที่แม่นยำ ทักษะการพูดการเขียนจะต้องแน่นอนและจะต้องใส่ใจใฝ่ถามอยู่ตลอดเวลา

รายวิชาภาษาอังกฤษนั้นจะมีหน่วยการเรียนรู้หลายเรื่องด้วยกันและจะมีทักษะการสอนที่แตกต่างกันในแต่ละเรื่องไม่ว่าจะเป็นการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปล วิธีการสอนแบบตรง วิธีการสอนแบบฟังพูด วิธีสอนแบบเงียบ วิธีสอนแบบธรรมชาติ วิธีการสอนแบบชักชวน วิธีสอนสนองด้วยท่าทาง วิธีการสอนเหล่านี้ครูทุกคนควรที่จะเรียนรู้ และสามารถใช้เป็นทุกวิธีการสอน  ทำให้เราสามารถนำมาใช้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งในยุคปัจจุบันทุกคนจะนึกถึงตัวเองเป็นหลักจะเลือกแต่การเรียนแบบวิธีที่ตนเองชอบและถนัด วิธีแรกที่ได้เรียนนั้นเป็นวิธีการสอนแบบไวยากรณ์และแปลวิธีนี้จะพบได้บ่อยเพราะตั้งแต่เรียนเริ่มภาษาอังกฤษเราก็เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับไวยากรณ์และการแปล การเรียนวิธีแบบนี้เราจะไม่เน้นทักษะการฟังและการพูดแต่จะเน้นเรื่องไวยากรณ์และการแปลแทน  เมื่อผู้เรียนใช้วิธีนี้เก่งแล้วก็สามารถอ่านตำราและวรรณคดีของภาษากรีกและภาษาลาตินได้ซึ่งภาษาเหล่านี้จะสอนโดยหมอศาสนาเป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกเรียนเอง
วิธีที่สองที่ได้เรียนนั้นเป็นวิธีสอนแบบตรง วิธีนี้จะเป็นการที่เน้นการอ่านอย่างเพียงเดียวคนที่เรียนภาษาอังกฤษได้ดีนั้นไม่ใช่คนที่เขียนได้แต่ต้องพูดได้ และแบบที่สามก็เป็นวิธีการสอนแบบฟัง พูด วิธีการสอนแบบนี้ต้องเริ่มจากฟังและพูด การเรียนแบบนี้ก็ต้องเกิดจากแรงจูงใจทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะแรงจูงใจที่มาจากภายในคือเราต้องชอบเอง เด็กส่วนใหญ่จะเกิดการเรียนรู้โดยการเรียนแบบจากบุคคลรอบข้าง เด็กจะจดจำในสิ่งที่ฟังและได้ยินมาแล้วนำสิ่งเหล่านี้มาเลียนแบบแล้วพูดต่อ วิธีต่อไปเป็นการสอนแบบเงียบเด็กจะเรียนรู้นั้นจะต้องเรียนรู้จากเรื่องที่ง่ายไปสู่เรื่องที่ยาก ครูควรที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง  วิธีการเรียนแบบธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติจะไม่มีใครสอนครูจะต้องใช้ feed back กับเด็กด้วยให้คำชมแก่เด็กเช่น คำว่า very good, good, excellent  ครูจะต้องรู้จักหาคำใหม่ๆมาใช้บ่อยๆไม่ควรใช้คำซ้ำๆเพราะจะทำให้เด็กเบื่อ และการสอนแบบนี้จะต้องมีท่าทางประกอบโดยจะมียกตัวอย่างภาษาที่เป็นจริง
และวิธีการสอนแบบชักชวนครูจะต้องสอนโดยให้ผู้เรียนนั้นผ่อนคลายที่สุดและให้ผู้เรียนนั้นพูดเมื่อพร้อม สุดท้ายคือวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง โดยจะต้องให้ผู้เรียนได้ฝึกบ่อยๆนั่น คือการฝึกประสบการณ์นั่นเองและผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ที่สะสมไว้มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เข้าใจ หลังจากที่เรียนเนื้อหานี้จบแล้วก็ได้พักเบรก โดยจะมีอาหารว่างให้ผู้เข้าอบรมทุกคน และหลังจากนั้นเราก็ได้เริ่มอบรมกันต่อในเนื้อหาต่อไปหลายๆคนคงจะเคยได้ยินการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการเรียนรู้แบบเน้นภาระชิ้นงาน ทุกวันนี้ก็จะมีการเรียนรู้กันแบบนี้เพราะจะฝึกให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆและรู้จักที่จะสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเอง เพราะทุกคนนั้นมีความคิดที่แตกต่างกันชิ้นงานที่ออกมาก็ย่อมมีความสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันไป การเรียนแบบร่วมมือนั้นเป็นการฝึกให้ผู้เรียนกลุ่มย่อยได้รู้จักคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาได้แต่การเรียนแบบนี้ต้องให้ผู้เรียนได้ฝึกช่วยเหลือตัวเองก่อน เมื่อช่วยตนเองได้แล้วก็ช่วยผู้อื่นต่อไป
และการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน  ครูจะต้องพัฒนางานแล้วให้เขาได้ปฏิบัติภาระงานนั้นให้สำเร็จ จนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้  ในการเรียนแต่ละวิชาเด็กจะหลีกเหลี่ยงการทำโครงงานไม่ได้เลย เนื่องจากการทำโครงงานนั้นเป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้ไปศึกษาค้นคว้าในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งการทำโครงงานนี้เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด ลงมือทำ และหาทางแก้ปัญหานั้นๆ แน่นอนว่าหลังจากที่ได้ทำโครงงานผู้เรียนจะได้รู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้น การเรียนในศตวรรษที่ 21 นั้น จะมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่โดยจะใช้ทักษะการอ่านเพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้และสามารถรับความรู้ต่างๆมากมาย โดยทักษะการอ่านนั้นก็เป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ หรือแม้แต่ทักษะการใช้ภาษาอื่นๆ และการเรียนในยุคนี้ก็จะต้องมีทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมทำผู้ที่เรียนสามารถคิดได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารและแก้ไขปัญหาต่างๆได้
ครูในศตวรรษที่ 21 นั้นจะต้องสนใจในด้านเทคโนโลยีต่างๆ มีการปรับการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย ทำให้พัฒนาคุณภาพของเด็กยุคใหม่ด้วยสารสนเทศที่มีอยู่รอบด้านเกิดการสนับสนุนทางด้านการเรียนรู้มากขึ้น  การเรียนรู้เราสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ห้องเรียนสามารถอยู่ตรงไหนก็ได้ เช่นเราสามารถเรียนภาษาอังกฤษจาก Twister เพราะเราสามารถเข้าถึงบุคคลได้ง่าย แต่มันจะมีการใช้คำศัพท์แบบจำกัด ซึ่งการเรียนแบบนี้ถ้าเราชอบใคร หรือดาราคนไหนเราก็จะเรียนแบบและทำเหมือนกับคนๆนั้น เมื่อมีการเรียนการสอนผู้เรียนจะมีส่วนร่วมได้คือจะต้องมีการฝึกตอบคำถาม ซึ่งผู้เรียนสามารถอธิบายโดยใช้ความเข้าใจของตัวเอง และเราก็สามารถสร้างภาษาได้ด้วยตัวเองแต่เราจะต้องมีความรู้จริงๆจึงจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้
เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ครูทุกคนจะต้องมีความพร้อมโดยมีการปรับเปลี่ยนการสอนบ้างเล็กน้อยแล้วสามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้เด็กไทยเรานั้นยังค่อนข้างที่จะอ่อนภาษาอังกฤษแล้วให้ความสำคัญกับภาษาน้อยมากในขณะที่เพื่อนบ้านของเรามีการพัฒนาแล้วนำเราไปหลายขั้นแล้วยิ่งไม่กี่เดือนข้างหน้ากำลังจะเข้าสู่อาเซียน ฉะนั้นประเทศไทยจึงต้องมีการจัดการเรียนการสอนให้มีการสอดคล้องกับวิธีการสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยจะไม่เน้นให้นักเรียนนั้นท่องเก่ง หรือเรียนเก่งแต่อย่างไร  แต่ที่ประเทศต้องการในตอนนี้คือการอยากได้บัณฑิตใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เด็กสามารถนำสิ่งที่ได้มาต่อยอดองค์ความรู้ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริงและเกิดการเรียนรู้ที่เรียกว่า Active learning
จากการเรียนรู้นอกห้องเรียนในวันที่ 30  ตุลาคม พ.. 2558  ดิฉันได้ร่วมเข้าอบรมเรื่องการอบรมภาษาอังกฤษเชิงบูรนาการและการประยุกต์ใช้ของบรรยายโดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร วันที่สองนี้จะเป็นการเน้นการบรรยายเนื้อมากกว่าวันแรก เนื้อหาที่เรียนวันนี้ก็จะเกี่ยวกับวิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21ครูผู้สอนในยุคนี้จะต้องมีความสามารถในการอ่าน การเขียน และการคิดเลข จะเป็นการเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด วิเคราะห์  โดยผ่านทักษะการอ่านและการฟัง ซึ่งครูจะมีวิธีการสอนที่หลากหลายเพื่อที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับเด็กไม่ว่าจะเป็นวิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปล วิธีการสอนแบบตรง วิธีการสอนแบบฟังพูดวิธีสอนแบบเงียบ วิธีสอนแบบธรรมชาติ วิธีการสอนแบบชักชวนและ วิธีสอนสนองด้วยท่าทาง  หากครูมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับเด็กกับเด็กก็จะทำให้เด็กนั้นมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสร้างชิ้นงานออกมาได้อย่างสร้างสรรค์



 นอกห้องเรียน  (ภาคบ่าย)
จากการเรียนวิชาการแปล 1 ในวันที่ 30  ตุลาคม พ.. 2558 สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ 1 ประเด็น คือ นอกชั้นเรียน
ในการเรียนนอกห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้เข้าร่วมอบรมเรื่องการอบรมภาษาอังกฤษเชิงบูรนาการและการประยุกต์ใช้ซึ่งบรรยายโดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร การอบรมนี้ก็เป็นการอบรมครั้งที่สองซึ่งวันที่สองนี้จะเป็นการเน้นการบรรยายมากกว่าวันแรกแต่จะเน้นเนื้อหาเท่าแต่ช่วงเช้าส่วนช่วงบ่ายนี้ก็จะเข้าสู่การใช้เกมส์ในการบูรนากับการเรียนการสอน  เพราะช่วงบ่ายเป็นเวลาที่ทุกคนนั้นจะรู้สึกเบื่อและง่วงหากเราจะมีการบรรยายเพียงอย่างเดียวนั้นแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมานั้นคือผู้ที่เข้าร่วมการบรรยายหลับกันหมด การเล่นเกมส์นั้นมีหลากหลายหากเรารู้จักที่จะนำเกมส์มาประยุกต์ใช้ในการสอนมันก็จะเกิดประโยชน์ แต่ถ้าเราเล่นกันโดยมีการพนันการมันก็จะสร้างสรรค์แบบผิดๆ เกมส์แต่ละเกมส์ก็จะสอดแทรกความรู้ที่แตกต่างกันไป
นอกจากนี้ในการเล่นเกมส์แต่ละเกมส์นั้นผู้สอนจะใช้เวลาไม่นานมากนัก เมื่อเล่นทุกครั้งก็จะมีการกำหนดเวลาให้ตลอด  และจะสังเกตได้ว่าทุกเกมส์จะมีการเล่นเป็นทีม การเล่นเกมส์เป็นทีมนั้นทำให้ผู้เรียนช่วยกันคิดและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะเริ่มเล่นก็มีการวางแผนกันก่อนล่วงหน้า ซึ่งต่างกับการเล่นเกมส์คนเดียวสังเกตได้จากพฤติกรรมของเราเอง เช่น เวลาที่ไปเล่นเกมส์ตามตู้เกมส์เมื่อมีเราเจอปัญหาเราก็จะมีสีหน้าที่เคร่งเครียดนั่งคิดอยู่คนเดียวว่าจะแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างไร และในบางครั้งเมื่อเราไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้เราก็จะแพ้เกมส์นั้น ทำให้เราต้องโมโหและตำหนิตัวเราเองบ่อยๆว่าไม่เก่ง  ไม่สามารถที่จะเอาชนะเกมส์นั้นได้
แต่ในทางกลับกันหากเรามีการเล่นเกมส์กันเป็นทีมอย่างน้อยก็มีเพื่อนที่เล่นกับเราทำให้เรารู้สึกสนุกมากกว่าการเล่นคนเดียว และยังทำเวลาในการเล่นได้เร็วขึ้นเนื่องจากมีเพื่อนร่วมทีมแล้วช่วยกันคิดแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น  ซึ่งเกมส์แรกที่เล่นนั้นจะใช้เพลงประกอบพร้อมกับท่าทาง เพลงก็เป็นเพลงที่สั้นๆทุกคนสามารถจดจำกันได้ง่ายและรวดเร็ว และคำศัพท์ที่ใช้นั้นก็จะมีความสอดคล้องกัน ซึ่งในเกมส์นี้ก็ใช้เพลงที่มีชื่อว่า Tic Tac Toe ขณะที่เราร้องเพลงเราก็จะมีการใช้ท่าทางประกอบตอนแรกที่เริ่มเล่นนั้นก็จะเล่นกันเป็นคู่หลังจากนั้นก็ค่อยๆหากลุ่มหรือพวกโดยคนที่แพ้จะต้องเข้ามาอยู่ในกลุ่มของคนที่ชนะ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าตัวเองจะเป็น The winner
จากการที่เล่นเกมส์แรกนี้ผู้เล่นจะต้องอาศัยทั้งทักษะความว่องไว ควบคู่กับการมีสมาธิ  ต่อไปก็เป็นการเล่นเกมส์อีกอย่างหนึ่ง เกมส์นี้ก็จะมีการเล่นกันเป็นทีมเช่นเดิมแต่ที่เพิ่มมานั้นก็คือต้องอาศัยทักษะทางด้านศิลปะซึ่งเป็นด้านที่ฉันนั้นค่อนข้างจะถนัดและชอบมากอยู่แล้วแต่กว่าที่จะได้วาดรูปนั้นก็จะมีการค้นหาผู้ที่จะมาเล่านิทานก่อน ผู้ที่จะเล่านิทานนั้นมีด้วยกันทั้งหมด 20 คนเพราะมีลูกบอลทั้งหมด 20 ลูกด้วยกัน  ก่อนอื่นผู้บรรยายจะแจกลูกบอลทั้ง 20 ลูกให้แก่ผู้เล่นเกมส์โดยการแจกสุ่มเมื่อเริ่มเปิดเพลงลุกบอลก็จะถูกส่งไปยังบุคคลอื่นๆเรื่อยๆ ช่วงเวลาที่ส่งบอลนี้ทุกคนดูสนุกสนานและตื่นเต้นมาก ส่งกันไปมาเพราะไม่มีใครอยากจะให้ลูกบอลมาตกอยู่ที่ตัวเอง
หลังจากที่ปิดเพลงแล้วเราก็จะได้ผู้ที่จะมาเล่านิทานให้เราฟังเพราะผู้ที่มาเล่านิทานนั้นก็คือบุคคลที่มีลูกบอลอยู่ในมือเมื่อเพลงหยุดแล้ว  นิทานเรื่องนี้ถูกเริ่มโดยประโยคที่ว่า There are a family.  หลังจากนั้นทุกคนที่มีบอลก็ร่วมกันแต่งนิทานคนละหนึ่งประโยคโดยไม่มีการเตรียมมาก่อนหน้านี้แต่อย่างไร นิทานเรื่องนี้จะจบด้วยประโยคของคนที่ 20 ก็คือผู้ที่ถือบอลลูกที่ 20 คนที่จบประโยคนี้ก็จะต้องมีความคิดที่ว่องไว รู้จักที่จะพลิกแพลงสถานการณ์ สุดท้ายนิทานเรื่องนิก็จบด้วยประโยคที่ว่า Finally ,he get up for a dream.  เมื่อทุกคนเล่านิทานกันจบแล้วก็ถึงขั้นตอนสำคัญที่ว่าให้แต่ละกลุ่มจับประเด็นสำคัญในนิทานเรื่องนี้แล้วนำมาวาดภาพเล่าเหตุการณ์
ก่อนที่จะลงมือวาดภาพนั้นกลุ่มของดิฉันก็ได้มีการวางแผนก่อนว่าจะวาดภาพให้ออกมาในอยู่ในรูปแบบใด แล้วใครมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง ฉันได้ช่วยเพื่อนในกลุ่มวาดภาพและระบายสีภาพที่เราวาดนั้นก็จะเป็นภาพที่เด็กผู้ชายคนหนึ่งกำลังนอนอยู่แล้วฝันถึงเหตุการณ์ต่างๆ เราใช้เวลาในการสร้างรูปภาพนี้ไม่ถึง 10 นานที เพราะทุกคนในกลุ่มให้ความร่วมมือที่จะช่วยกันดีมาก เมื่อวาดภาพเสร็จ ผู้บรรยายก็ได้ให้เราได้ออกนำเสนอภาพที่วาดโดยส่งตัวแทนกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน ในการบรรยายภาพนั้นก็คือจะต้องสรุปเหตุการณ์ทั้งหมดที่เล่ามาโดยใช้เพียง 3 ประโยคเท่านั้นในการบรรยาย ซึ่งบุคคลที่พูดนี้จะต้องมีสมาธิและความคิดที่ว่องไวเป็นอย่างมา
ผู้ที่สามารถเล่าเหตุการณ์นี้ได้กระชับก็จะเป็นผู้ที่ชนะแต่ว่ามันไม่ใช่กลุ่มของฉัน หลังจากนั้นก็มีการประกวดภาพที่วาดว่ากลุ่มในวาดภาพและบรรยายภาพเป็นเหตุการณ์ได้ดี และกลุ่มของดิฉันก็ได้รับการคัดเลือกและได้รางวัลเมื่อเสร็จเกมส์นี้แล้วก็ถึงเวลาที่ทุกคนในที่อบรมนั้นรอคอยคือการได้พักเบรคก็เช่นเคยคือมีอาหารว่างให้ผู้ที่เข้าร่วมอบรม หลังจากที่พักเบรกแล้วก็เริ่มทำกิจกรรมกันต่อกิจกรรมต่อไปเป็นการฟังการเล่านิทานซึ่งเด็กๆทุกคนนั้นชอบกันอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่เพียงแค่ฟังอย่างเดียวเราต้องรู้จักคำนาม คำนามนี้เชื่อว่าทุกคนนั้นรู้จักกันดี เพราะในการเล่านิทานเรื่องนี้จะใช้เพียงคำศัพท์ง่ายๆ ในขณะที่มีการเล่านิทานนั้นผู้ที่ฟังจะต้องอาศัยทั้งทักษะการฟัง การคิด และมือต้องไวด้วย คือเมื่อได้ยินคำนามแล้วก็จะใช้มือไปตีมือเพื่อนที่อยู่ข้างๆและเพื่อนที่อยู่ข้างๆนั้นก็ต้องรีบเอามือหลบทันที
ช่วงแรกๆที่เล่นเกมส์นี้ฉันก็รู้สึกสนุกดีแต่เนื่องจากนิทานเรื่องนี้มีความยาวเกินไปทำให้ฉันและเพื่อนๆรู้สึกเบื่อ หลังจากที่นิทานจบผู้บรรยายก็ถามว่า นิทานเรื่องนี้พูดเกี่ยวกับอะไรแต่ไม่มีใครสามารถตอบได้เพราะทุกคนมัวแต่จะฟังเพียงคำนามอย่างเดียว หลังจากที่เล่นเกมส์นี้จบ ต่อไปจะเป็นการปิดพิธีการอบรมแต่การจะปิดพิธีนั้นก็ได้มีการรับใบเกียติบัตร โดยแต่ละโรงเรียนก็จะส่งตัวแทนกันออกไปรับ หลักจากนั้นก็เป็นการปิดพิธีในการอบรมครั้งนี้ โดยจะมีการถ่ายรูป บันทึกภาพไว้ เพราะเป็นเป็นเหตุการณ์และกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเหมาะกับบุคลากรครู และควรที่จะจัดกิจกรรมนี้ในครั้งต่อไป
จากการอบรมในวันที่ 30  ตุลาคม พ.. 2558อบรมเรื่องการอบรมภาษาอังกฤษเชิงบูรนาการและการประยุกต์ใช้ของบรรยายโดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ซึ่งการอบรมในช่วงบ่ายของวันที่สองนี้จะไม่มีการเน้นที่เนื้อหาแต่อย่างไรเพราะช่วงบ่ายเป็นเวลาที่ทุกคนนั้นจะรู้สึกเบื่อและง่วงหากเราจะมีการบรรยายเพียงอย่างเดียวนั้นแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมานั้นคือผู้ที่เข้าร่วมการบรรยายหลับ แต่จะเป็นการนำเกมส์เพื่อเข้ามาประยุกต์ใช้ในการสอนพร้อมทั้งสอดแทรกเนื้อหาในเกมส์นั้นๆ และครูจะต้องมีความคิดที่สร้างสรรค์สรรหาสิ่งใหม่ๆมาใช้ในการสอนเด็กอยู่ตลอดเวลาทำให้เด็กกระตือรือร้นอยากที่จะเรียนเละเด็กก็จะสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com