วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 12


Learning Log 12
ในห้องเรียน
จากการเรียนวิชาการแปล 1 ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.. 2558 สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ 2 ประเด็น คือ สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนและนอกชั้นเรียน
ในการเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้ตัวดิฉันเองได้เรียนรู้ความรู้เรื่อง  Adverb clause of time  ถ้าจะพูดถึงเรื่อง clause นั้นมีมากมายหลายประเภทซึ่งสามารถแยกย่อยออกไปอีก การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง cause เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับฉัน ทุกครั้งที่ฉันอ่านหรือเรียนเรื่องนี้ก็มักจะสับสนและไม่ค่อยเข้าใจอยู่เสมอ เพราะมันมีกฎหรือหลักการใช้ที่มากมายแยกย่อยไปอีก สำหรับฉันนั้นต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาค่อนข้างนาน  หรือบางครั้งก็ต้องการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความ
เข้าใจในเรื่องนี้มาอธิบายตัวต่อตัว ซึ่งในการเรียนครั้งนี้ครูก็ได้ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเพื่อนสอนเพื่อน ฉันคิดว่ามันเป็นวิธีเรียนที่ดีเพราะอย่างน้อยเวลาที่ฉันไม่เข้าใจเนื้อหาในบทเรียนมันก็ทำให้ฉันกล้าที่จะถามมากยิ่งขึ้น เพราะฉันรู้สึกว่าพวกเรามีความสนิทสนม รู้หรือไม่รู้เรื่องอะไรก็ทำให้กล้าที่จะถาม  แต่การเรียนแบบกลุ่มก็มีข้อเสียเหมือนกันก็คือบางครั้งเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันมีความรู้ที่ต่างกันเมื่อเพื่อนที่เกิดการเรียนรู้เนื้อหาเร็วคุยแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยกันเข้าใจก็ทำให้รีบข้ามไปยังเนื้อหาต่อไปทำให้เพื่อนที่ไม่รู้เรื่องยังงอยู่ และทำให้ไม่เข้าใจในเนื้อหาส่วนนั้น และในการเรียนครั้งนี้ก็ยังได้ทำงานเป็นกลุ่มฉันชอบมากเพราะเมื่อเราศึกษาเนื้อหากันเข้าใจแล้วเราก็ช่วยกันคิดและเลือกเปลี่ยนคำตอบกัน แบ่งงานทำให้ทุกคนในกลุ่มนั้นมีงานที่ต้องรับผิดชอบ งานที่ออกมาก็สมบูรณ์อย่างที่หวังไว้

ในการเรียนรู้เรื่อง Adverb clause of time จัดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับไวยากรณ์ มักพบได้บ่อยตามข้อความ ตัวอย่างประโยค  หรือบทความต่างๆ  เป็น clause ที่นิยมใช้กันจริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งจากการที่ฉันได้ศึกษามานั้น ครูได้ใช้หัวข้อว่า  Reduction of Time Clause ก็มีความหมายเดียวกันกับ Adverb clause of time   ซึ่งมีความหมายคือกริยาวิเศษณ์แสดงเวลา นั้นเป็นคำที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์ต่างๆว่าเกิดขึ้นเมื่อใด (when) หรือ ใช้เวลานานเท่าใด (for how long) ซึ่งคำเหล่านี้นั้นมีอยู่มากมาย โดยที่มักเห็นได้ทั่วไป นั่นก็คือ today, tonight, yesterday, finally, eventually, just, already, now, once, then, after, soon, before, sometime, immediately, recently, early, last…, next… และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งในใบงานที่ฉันศึกษานั้นก็จะมีตัวอย่างประโยค ดังนี้คือ
The seed is some before it is watered. แปลเป็นภาษา ไทยได้คือ  มันต้องการน้ำก่อนหว่านเมล็ดพืช และสามารถลดรูปได้คือ   The seed is sown before being watered. คำว่า it ในที่นี้ก็คือ seed
While he was crossing the street, he met his old friend. แปลเป็นภาษาไทยได้คือ ขณะที่เขากำลังข้ามถนน เขาพบเพื่อนขอเก่าของเขา และสามารถลดรูปได้คือ While he was crossing the street, he met his old friend.
The water become hot after it is heated. แปลเป็นภาษาไทยได้คือ  น้ำร้อนมาหลังจากมันเดือด และสามารถเขียนลดรูปได้คือ the water become hot after being heated. คำว่า it ใช้แทนสิ่งของนั่นก็คือ water
ในการลดรูปของประโยค Adverb clause of time  จากที่ศึกษามานั้นไม่ได้ลดรูปกันได้ง่ายๆ อยากจะลดรูปเมื่อไร อย่างไรก็ได้ แต่มันจะมีกฎในการลดรูปที่ศึกษามาก็มีดังนี้คือ   สามารถลดเมื่อประธานไม่จำกัดเจาะจง เช่น You, We , People, Sclentists ,Nurses etc. ตัวอย่างเช่น   ประโยคแรก  When a nurse observes the patient, the ease and difficulty of breathing are noted.จากประโยคนี้จะเห็นว่าจะเชื่อมด้วยตัวเชื่อม “when”และประธานนั้นคือคำว่า nurse สามารถลดรูปได้คือ   When  observing the patient, the ease and difficulty of breathing are noted.  ประโยคที่สอง Before you take a bedpan to a patient, it should be clean. ในประโยคนี้ตัวเชื่อม “before” และประธานนั้นคือคำว่า you สามารถลดรูปได้คือ  Before taking a bedpan to a patient , it should be clean. กฎข้อต่อไปคือ ถ้าเป็นชื่อเฉพาะไม่สามารถลดได้  กฎนี้ฉันชอบมากเพราะแค่เรารู้คำศัพท์หาประธานเจอเราก็สามารถบอกได้ว่าลดได้ หรือไม่  ตัวอย่างเช่น  ประโยคแรก After John came, Mary left. เนื่องจาก John และ  Mary เป็นคนละคนกัน  ประโยคที่สอง Before he returned from work, his wife cooked dinner.  จากประโยคนี้คำว่า he กับ his wife ก็เป็นคนละคนกัน และอีกประโยคหนึ่งคือ When the sun radiates heat, sea water evaporates. ในประโยคนี้คำว่า sun กับ sea water นั้นจะเป็นสิ่งของที่แตกต่างกัน
กฎข้อต่อไปคือเมื่อประโยคแสดงถึงการกระทำที่มีความสมบูรณ์ในเวลานั้น จะไม่สามารถลดรูปได้ ตัวอย่างเช่น He has lived here since he was born. จากประโยคนี้แปลว่า  เขาอยู่ที่นี่ตั้งแต่เกิด คำว่า since ก็จะเป็นตัวบ่งบอกเวลา  และที่สำคัญถ้าประธานในประโยคบอกเวลา คือ noun จะไม่สามารถสลับที่และละประธานได้ ดังตัวอย่างประโยคคือ After water is heated, it become hot.  เป็น After it is heated, water becomes hot จะไม่สามารถสลับกันได้  แต่สามารถเขียนได้ในรูปแบบนี้คือ After being heated, water becomes hot. นอกจากกฎต่างๆเหล่านี้แล้วก็ยังมีประเภทของ Adverb clause of time   ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท มันทำให้ฉันนั้นเริ่มมีความสับสนกับเนื้อหาเพราะมันเริ่มมีความยากเพิ่มขึ้นฉันใช้เวลาในการศึกษาประเภทของ Adverb clause of time  เป็นเวลานาน แต่ประเภทเหล่านี้ก็เป็นที่ยอมรับร่วมกันสำหรับทุกๆคน เพราะมันจะช่วยให้ผู้ที่เรียนรู้นั้นสามารถจดจำได้ง่าย กฎข้อที่หนึ่ง Adverb clause of time   เริ่มจากคำว่า After, Before ,Since  เมื่อมีการลดรูป ข้างหน้าคำเหล่านี้ก็จะตามด้วยหลักเกณฑ์ต่างๆดังนี้ คือละประธานในประโยคหลัก   ต่อไปละกริยาช่วยใน    clause  time   (ถ้ามี) และเปลี่ยนเป็น verb(-ing) เมื่อกริยาใน  clause  time    เป็นผู้ถูกกระทำ และที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ ย่อ  clause  time   เริ่มจาก After, Before ,Since   โดยเริ่มจากการลด verb(-ing) ทั้งประโยคที่เป็น  active หรือ passive ซึ่งในใบความรู้ที่ศึกษานี้ก็จะมีตัวอย่างให้ได้ศึกษามากมาย  เช่น After he finished school, he continued his high studies for bachelor degree. สามารถลดรูปได้คือ After  finishing high school, he continued his studied for bachelor degree.
ตัวอย่างจากประโยคนั้นยังมีอีกมากมายแต่ฉันได้หยิบมาเป็นตัวอย่างเพียงตัวอย่างเดียว  และที่สำคัญในกฎนี้คือ After, Before ,Since สามารถตามหลัง verb(-ing) ได้เพียงตัวเดียวทั้งประโยคที่เป็น  passive หรือ active เหมือนกับการขึ้นต้นคำศัพท์ใน participle phrase ตัวอย่างเช่น  The seed is sown before it is watered. ลดรูปได้คือ The seed is sown before  being  watered. อีกประโยคหนึ่งคือ She has not worked since she left school. ลดรูปเป็น  She has not worked since  leaving  school. และที่สำคัญถ้า to อยู่หน้าประโยคเราสามารถใช้คำว่า before แทนได้ในการลดรูปของการเขียน  ตัวอย่างเช่น  Before the seedling manufactures food for itself, it uses up the food stored in the seed.  นอกจากนี้ยังมีแบบฝึกหัดสำหรับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทดสอบความรู้จากสิ่งที่เรียนมา ฉันชอบแบบฝึกหัดนี้มากเพราะมันเป็นบทความที่ให้ความรู้แก่ผู้ที่อ่านเป็นอย่างมากเพราะมันเป็นการบอกวิธีการช่วยผู้กำลังประสบอุบัติเหตุอย่างหนึ่งตอนแรกที่ฉันได้อ่านฉันคิดว่าเป็นวิธีการใช้ที่ดูตลกมาก แต่มันก็เป็นวิธีที่มีการใช้กันจริงๆ และยังมีประโยคที่เราสามารถลดรูปได้ ในบทความนี้ก็จะมีทั้งหมด 5 ประโยคด้วยกัน คือ before he is sent to the hospital. ลดรูปเป็น before being  sent to the hospital. , before do anything else. ลดรูปเป็น before doing  anything else., after you close his mouth with the thumb. ลดรูปเป็น after  closing  his mouth with the thumb.
before  you exhale forcibly into his lungs. ลดรูปเป็น before  you exhaling forcibly into his lungs. และประโยคสุดท้ายคือ After you withdraw your mouth ลดรูปเป็น  After you withdraw your mouth จากประโยคข้างต้นเหล่านี้ที่ฉันสามารถรู้ได้ว่าเป็นประโยค time clause  ก็เพราะฉันสังเกตจากตัวเชื่อมหรือตัวขึ้นต้นจากประโยคนั้นๆ ตอนแรกในการเขียนลดรูปก็ยังสับสนอยู่บ้างว่าประโยคนั้นอยู่ในกฎการลดรูปข้อใดแต่พอได้ปรึกษากับเพื่อน ได้ช่วยกันดูและสังเกตรูปแบบประโยคก็ทำให้สามารถแยกได้และเข้าใจ  ข้อต่อไปก็จะกล่าวถึง time clause ที่เริ่มด้วย Once และ Until การใช้นั้นก็จะแตกต่างจาก after, before และ since ที่ต้องตามด้วย verb(-ingOnce และ Until นั้นจะตามด้วย verb(-ed) เมื่อมีการพูดถึงกริยาตัวเดียวกันใน passive voiceจากใบงานนี้ก็จะกล่าวถึงกฎการใช้เพียงแค่สองกฎตามที่จริงแล้วจะมีกฎการใช้ที่เป็นที่รู้จักกันดีมีสี่กฎ แต่จะพูดเจาะจงไปยังกฎแรก เพียงแค่กฎเดียวก็ทำให้ฉันนั้นมึนงงและสับสนต้องอ่านซ้ำไปมาหายๆรอบ บางครั้งในตอนที่จะทำแบบฝึกหัดก็ต้องเปิดใบงานขึ้นมาดูเพราะยังสับสนอยู่ แต่พอทำไปหลายๆข้อก็เริ่มพอที่จะเข้าใจและแยกประเด็นของกฎต่างๆได้ ฉันเชื่อว่าหากเรานั้นตั้งใจและศึกษาทำความเข้าใจอยู่บ่อยครั้ง ก็จะทำให้เราเข้าใจในสิ่งที่ไม่รู้ และพยายามที่จะฝึกดูรูปแบบประโยค และแต่งประโยคด้วยตัวเองสิ่งนี้นี่เองที่จะทำให้เราเก่งและเรียนรู้ได้เท่าทันคนอื่นๆ
ในการเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้เป็นการเรียนที่ค่อนข้างแปลกไปจากครั้งอื่นๆ เนื่องจากมีการเรียนแบบเพื่อนสอนเพื่อนมีการแบ่งกลุ่มเรียนและทำงานเป้นกลุ่ม ฉันรู้สึกชอบมากเพราะได้แบ่งปันความรู้กับเพื่อนเมื่อไม่รู้อะไรก็กล้าที่จะถาม มีการแบ่งงานกันทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำงาน และในการเรียนครั้งนี้ฉันได้เรียนรู้เรื่อง Reduction of Time Clause หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ Adverb clause of time  ซึ่งจะมีกฎการใช้ที่รู้จักกันดีทั้งหมด 4 ข้อ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงแค่สองข้อคือกฎการใช้  After, Before ,Since ที่สามารถตามหลัง verb(-ing) ได้เพียงตัวเดียวทั้งประโยคที่เป็น  passive หรือ active เหมือนกับการขึ้นต้นคำศัพท์ใน participle phrase และกฎการใช้  Once และ Until ซึ่งจะตามด้วย verb(-ed) เมื่อมีการพูดถึงกริยาตัวเดียวกันใน passive voice แต่ในที่นี้จะเจาะจงไปที่กฎการใช้  After, Before ,Since ที่สามารถตามหลัง verb(-ing) ได้เพียงตัวเดียวทั้งประโยคที่เป็น  passive หรือ active เหมือนกับการขึ้นต้นคำศัพท์ใน participle phrase ซึ่งจะมีกฎการลดรูปแยกย่อยไปอีกหลายๆกฎพร้อมทั้งตัวอย่างประกอบ เพื่อให้ฉันได้ทำความเข้าใจและเรียนรู้สิ่งนั้นอย่างละเอียด   ทุกครั้งที่ฉันอ่านหรือเรียนเรื่องนี้ก็มักจะสับสนและไม่ค่อยเข้าใจอยู่เสมอ เพราะมันมีกฎหรือหลักการใช้ที่มากมายแยกย่อยไปอีก สำหรับฉันนั้นต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาค่อนข้างนาน  แต่พอไดอ่านซ้ำไปมาหลายๆรอบและลองทำแบบฝึกด้วยตัวเองก็เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับการเรียนในครั้งต่อไปได้



นอกห้องเรียน
จากการเรียนวิชาการแปล 1 ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.. 2558 สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ 2 ประเด็น คือ สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนและนอกชั้นเรียน
ในการเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้นเป็นสิ่งที่ดี เหมาะสมหรับทุกคนทุกวัยเพราะการเรียนรู้นั้นไม่ได้มีแค่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ทุกคนจะเก่งจะก็ต้องขยันหมั่นเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้นเป็นการเรียนรู้ที่ตามใจผู้เรียน หมายถึงผู้เรียนนั้นสมามารถที่จะเลือกเรียนรู้เรื่องที่ตนเองสนใจอยากที่จะเรียนสามารถเรียนรู้เมื่อไรก็ได้ การเรียนรู้ที่ละเล็กน้อยมันก็จะไปสะสมในสมองมองของเรา ทำให้เรานั้นดูเป็นคนที่มีความรู้เมื่อใครถามอะไรก็สามารถตอบได้ทันที บางคนนั้นมีมันสมองที่ดี แต่ขี้เกียจที่จะขวนขวายหาความรู้ทั้งๆที่เป็นเรื่องที่ง่ายสามารถทำได้ด้วยตัวเองเป็นไปไม่ได้หรอกที่จะรอให้คนอื่นนำความรู้มาป้อนให้อยู่ตลอดเวลา ถ้าทุกคนมีความขยัน ชนะใจของเราได้คือความขี้เกียจนั้นจะเป็นคนเก่งได้ขึ้นมาทันที่ ผลดีก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวเราเพียงคนเดียวแต่ยังส่งผลถึงคนรอบข้างและต่อสังคมและประเทศชาติอีกด้วย เมื่อคนให้ประเทศชาติเป็นคนเก่งประเทศของเราก็จะเจริญเท่าทันประเทศอื่นๆได้ แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนจะมีความรู้เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีคุณธรรมจริยธรรมควบคู่มาด้วยเสมอ เพราะสังคมสมัยนี้ค่อนข้างจะเห็นแก่ตัวกันมากขึ้นทุกวัน  การเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากในตอนนี้ เพราะเป็นภาษากลางที่คนทั่วโลกใช้สื่อสารกัน คนไทยเรานั้นยังค่อนข้างอ่อนภาษาอังกฤษมาก โดยเฉพาะตัวฉันเองก็เช่นกัน  ฉันจึงเลือกที่จะพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นโดยเริ่มจากการฝึกพัฒนาทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน  ซึ่งทักษะที่ฉันจะพัฒนาในวันนี้คือทักษะการฟังและการอ่าน
ทักษะแรกที่ฉันจะฝึกคือทักษะการฟัง  แน่นอนว่าทักษะการฟังนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนทุกวิชาไม่ใช่เพียงวิชาภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียว   ในการฟังครั้งนี้ฉันก็จะเลือกฟังเพลง มันไม่ง่ายเลยสำหรับฉันที่ต้องฟังเพลงภาษาอังกฤษเพียงครั้งเดียวแล้วสามารถแปล และเข้าใจความหมายได้ทันที ฉันต้องเปิดเพลงนี้ซ้ำไปซ้ำมาหลายๆรอบ จนรู้สึกเบื่อ แต่ฉันก็พยายามที่จะฟังมัน และหาคำศัพท์ในประโยคที่ฉันแปลไม่ได้ เมื่อฉันทำแบบนี้ฉันก็สามารถแปลเนื้อเพลงได้ถึงแม้อาจจะแปลมั่วๆไปบ้างแต่ฉันก็พอที่จะเข้าใจความหมายของเพลงนั้นๆ เมื่อเข้าใจความหมายของเพลงแล้วฉันก็รู้สึกชอบ และอยากที่จะฟังต่อ  ซึ่งเพลงที่ฉันฟังนั้นก็เป็นเพลง  Careless Whisper  เป็นเพลงของ Wham  จากการฟังเพลงนี้ฉันก็พอจะสรุปเนื้อเพลงได้ว่า เพื่อนของเธอคนหนึ่งกรระซิบบอกเธอกับสิ่งที่ฉันทำกับเธอ ถ้าเธอไม่รู้มันก็อาจจะดีขึ้น บางครั้งความจริงมันทำให้ปวดร้าวได้ ฉันน่าจะรู้ดี เมื่อฉันจูงเธอเข้าสู่พื้นที่เต้นรำ ฉันมองเห็นการอำลาจากดวงตาของเธอและฉันรู้สึกไม่แน่ใจ ฉันไม่อยากจะเต้นรำอีกต่อไปแล้ว ความผิดพลาดทำให้ปวดร้าวมากเขาอาจจะแกล้งทำให้มันดูดีแต่เธอก็ไม่ใช่คนโง่แล้วคิดไปว่าไม่มีอะไรเหมือนเดิมแล้ว ฉันไม่น่าหรอกลวงเธอและทำลายสิ่งดีๆ ชีวิตจะไม่เหมือนเดิมถ้าหากไม่มีเธอ เสียงดนตรีนั้นดังเกินแต่มันก็ดีเพราะเราจะได้ไม่ต้องพูดและทำร้ายจิตใจกันและกัน ฉันคิดว่าจะจะยังคงอยู่แต่เธอจากไปและฉันรู้ว่าเธอทำถูกแล้วที่ทิ้งฉันไว้คนเดียว แต่ฉันจะคิดถึงเธอ คิดถึงความรักของเรา
ฉันคิดว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่เศร้ามากเพราะเป็นการจากลาระหว่างคนสองคนที่รักกัน แต่ก็ยังทิ้งความรักที่มีให้กันให้ได้คิดถึง  เพลงนี้ไม่ใช้แค่ให้ความเพลิดเพลินเพียงอย่างเดียวแต่ยังให้ความรู้ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของไวยากรณ์  หรือแม้แต่คำศัพท์ที่เรายังไม่รู้ จากเพลงนี้ไวยากรณ์ที่พอจะสังเกตได้จากประโยคต่างๆก็มี เช่น I should have known รูปกริยา  should have known เป็น (Past Future Perfect )  , I feel so unsure as I take you hand and lead you to the dance floor. คำว่า feel เป็นคำกริยาในกลุ่ม linking verb ที่สามารถตามด้วย adjective ได้เลย ส่วน so ในประโยคนี้ทำหน้าที่เป็น adverb ขยาย adjective “unsure” , As the music dies ,something in your eyes calls to mind a silver screen and all its sad goodbyes. จะสังเกตได้ว่าใน main clause ของประโยคนี้จะมี compound pronoun เป็นประธานของประโยค กริยาของประโยคต้องอยู่ในรูปของพหูพจน์เสมอ และคำว่า calls กรรมของ calls จะมี 2 ส่วนคือ to me และ a silver screen and all its sad goodbyes ลักษณะของการเรียงประโยคนั้นจะนำเอาส่วนกรรมที่สั้นขึ้นก่อนเพื่อไม่ให้สับสนกับการทำความเข้าใจประโยค , Guilty feet have got no rhythm  though it’s easy to pretend. ประโยคนี้จะประกอบด้วย 2 clause ซึ่งเชื่อมด้วย conjunction คือคำว่า though ซึ่งใช้นำหน้า clause ที่แสดงความขัดแย้งกับอีก clause หนึ่ง
Tonight  the music seems so loud. คำว่า seem  เป็นกริยาในกลุ่ม linking verb ที่ตามด้วย adjective คำว่า so ในประโยคนี้เป็น adverb ขยาย adjective คือคำว่า loud , We’d hurt each other with the things we want to say คำว่า each other นั้นมีความหมายว่า ซึ่งกันและกัน หรือจะวางไว้หลังกริยา เช่น We’d hurt each otherและยังมีคำศัพท์อีกมากมายคือคำว่า mend= รักษา,แก้ไข,ซ่อมแซม , careless = เลิกล่อ,สะเพร่า ,whisper =เสียงกระซิบ,เรื่องร่ำลือ ignorance=เขลา,โง่,ไม่รู้ comfort=คำปลอบโยน,ความสุขสบาย ,unsure = ไม่แน่ใจ, ไม่มั่นใจ  และอีกเพลงหนึ่งที่ฉันฟังก็คือ Nothing’s Gonna Change My Love For You เป็นเพลงของ George Benson ซึ่งสามารถสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้คือ George Benson เป็นนักร้องที่ฉันชื่นชอบ เสียงเพลงของเขาฟังดูกลมกล่อม ทั้งยังไพเราะและนุ่มนวล ข้อความต่อไปนี้คือเพลงที่ตัดตอนออกมาเพื่อสื่อความคิดกว้างๆ คือถ้าเธอจากฉันไปฉันคงไม่มีโอกาสใช้ชีวิตร่มกับเธอ หากวันในข้างหน้ามีปัญหาฉันก็จะแก้ไขปัญหานั้นโดยมีเธออยู่เคียงข้างฉัน  สาวน้อยฉันต้องการเธอโปรดอย่าทิ้งฉันให้ฉันอยู่คนเดียว เธอต้องรู้ว่าฉันรู้สึกอย่างไรกับเธอ  โลกใบนี้อาจทำให้ฉันเปลี่ยนไป แต่ฉันไม่เคยเปลี่ยนแปลงความรักที่ฉันมีต่อเธอ
และจากเพลงนี้ก็มีไวยากรณ์ต่างๆมากมายคือ ประโยคที่ว่าต่อไปนี้จะเป็นประโยค if clause คือ If I had to live…me, the days would all be empty, the night would seem so long จากประโยคนี้จะเป็น if clause รูปแบบที่ 2  ซึ่งมีโครงสร้างประโยคคือ if+ past simple+(could, would, should)+ v1 ประโยคนี้เป็น unreal condition คือเงื่อนไขที่ไม่เป็นจริงในปัจจุบัน(สมมุติ) เงื่อนไขนี้อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ หรืออาจไม่เป็นจริงได้ , if the road ahead is not so easy, our love will had the way for us like a guiding star. ประโยคนี้เป็น if clause รูปแบบที่ 1 ซึ่งมีโครงสร้างคือ if+ present simple +  Future simple ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เป็นจริงเสมอ หรือผู้พูดแน่ใจว่าเป็นจริงอย่างไรไม่ต้องสมมุติ อาจจะเกิดขึ้นได้ และอีกประโยคหนึ่งคือ  I’ll be there (for you ) if you should need me จากประโยคนี้เป็น if clause รูปแบบที่ 2 ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้คือ future simple + if + present simple นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์อีกมากมายที่ฉันยังไม่รู้คือ all be empty= โดดเดี่ยว, ว้าเหว่ , I see forever= ฉันสามารถมีความหวัง, Might have been =อาจเกิดขึ้นแล้ว, Fell this strong= รู้สึกอย่างแรงกล้า, Dreams are young =ความฝันใหม่, Take us where we want to go = พาพวกเราไปทุกแห่งที่พวกเราต้องการจะไป
นอกจากนี้ฉันได้เลือกที่จะอ่านหนังสือ การอ่านนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรที่จะฝึกให้มากๆเพราะจะทำให้เรานั้นเป็นคนที่มีความสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆได้รวดเร็ว เมื่อใครถามอะไรก็สามารถตอบได้เพราะเรานั้นได้อ่านมาแล้ว การอ่านนั้นจะมีด้วยกันหลายประเภทเช่น การอ่านแบบคร่าวๆ อ่านละเลียด ซึ่งการอ่านจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือจุดประสงค์ที่ผู้อ่านต้องการ แต่ที่ฉันได้เลือกอ่านในครั้งนี้ถือว่าเป็นการอ่านที่ละเอียด ก็คืออ่านทุกตัวอักษรที่มีอยู่ในเนื้อหา แล้วนำมาคิดพิจารณา สรุปหาประเด็นหรือใจความสำคัญของเรื่องนั้น คือเรื่อง Say it easy  คนที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีนั้นไม่ใช่คนที่พูดสำเนียงเหมือนฝรั่งหรือคนที่พยายามสรรหาคำและไวยากรณ์ยากๆมาใช้เพียงอย่างเดียว แต่เราต้องรู้ว่าเรากำลังใช้ภาษาสื่อสารกับใคร  ในสถานการณ์ใด และผู้ที่พูดนั้นสามารถเลือกคำและสำนวนไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้นการสื่อสสารที่ได้ตรงประเด็นด้วยรูปแบบภาษาที่ใช้กันเป็นปกติในชีวิตประจำวัน จึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษให้ได้เหมือนเจ้าของภาษา  เรานั้นสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างมั่นใจและง่ายดาย ด้วยคำศัพท์และสำนวนสำคัญที่ใช้กันจริงในชีวิตประจำวัน ทั้งที่เป็นเรื่องรอบตัวทั่วไปและสถานการณ์การถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกๆเรื่อง  หากเรารู้จักที่จะนำคำเหล่านี้มาใช้พูดจริงอยู่บ่อยๆ การพูดภาษาอังกฤษนั้นก็จะไม่ยากอย่างที่คิด ทำให้การเรียนรู้เรื่องคำศัพท์และไวยากรณ์จึงเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น และเราก็สามารถสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมชาติ ทำให้เรานั้นประสบความสำเร็จในการพูดภาษาอังกฤษ
การใช้ประโยคกล่าวเตือนผู้อื่นนั้นเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ใช้กันบ่อย ศัพท์คำว่าตักเตือนนั้นคือ warning  การเตือนนั้นเตือนเพื่อให้ผู้อื่นได้เห็นถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากสิ่งที่กำลังจะทำ เช่น เราอาจจะชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เขาจะทำนั้นอันตราย และมีพิษภัย  indirect informal warnings คือการกล่าวเตือนแบบอ้อมๆหรือแบบกันเอง เป็นกรณีที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งจะใช้สำนวนแนะนำผู้อื่นไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพราะเหตุผลบางอย่างและมักให้เหตุผลประกอบคำเตือนนั้นๆด้วย  เช่น การใช้ I wouldn’t …if I were you. (ฉันจะไม่ถ้าฉันเป็นเธอ)จะใช้เมื่อต้องการเตือนผู้อื่นไม่ให้ทำบางอย่าง เช่น I wouldn’t rent a  flat in that area if I were you. It’s not safe there after dark. = ถ้าฉันเป็นเธอ ฉันจะไม่เช่าแฟลตแถวนั้นหรอก แถวนั้นพอมืดแล้วไม่ปลอดภัยเลย I didn’t know that. I certainly won’t buy a  flat there.= ฉันไม่เห็นรู้เลย ถ้าอย่างนั้นฉันจะไม่ซื้อแฟลตแถวนั้นแน่ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้สำนวน I wouldn’t… ที่ไม่ต้องตามด้วย if I were you โดยที่ความหมายยังคงเดิม เช่น I wouldn’t take your car into the town center. It almost impossible to park and parking places are very expensive.= ฉันจะไม่ขับรถของคุณเข้าไปในเมืองหรอก มันแทบจะไม่มีทีจอดเลย และค่าที่จอดก็แพงมากด้วย If that’s the case, I’ll take the bus. = ถ้าอย่างนั้น ฉันจะนั่งรถประจำทางไป เชื่อว่าประโยคนี้จะมีการใช้กันบ่อยมากโดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ในกรุงเทพจะประสบกับปัญหานี้บ่อยมาก
การใช้ I don’t think  you should…  เราใช้สำนวน  I don’t think  you should… (ฉันคิดว่าเธอไม่ควร) เช่นเดียวกับการใช้เตือนไม่ให้ผู้อื่นทำบางอย่าง  ตัวอย่างเช่น I don’t think you should buy a second-hand washing machine from that stop. You won’t get a guarantee with it and it might break down soon. = ฉันคิดว่าเธอไม่ควรซื้อเครื่องซักผ้ามือสองจากร้านนั้น เพราะไม่มีประกันเครื่อง และเครื่องก็อาจจะใกล้พังแล้วก็ได้ นอกจากนี้อาจมีการกล่าวตักเตือนตรงๆแบบกันเอง(Direct Informal Warnings ) เป็นการกล่าวตักเตือนที่ไม่เป็นทางการ อาจเป็นการตักเตือนแบบตรงๆ ดังตัวอย่างเช่น การใช้ Don’t…! ในการกล่าวตักเตือน เช่น Don’t touch those plates. They’re very hot. = อย่าจับจานพวกนั้น มันร้อนมาก ซึ่งเราอาจเพิ่มสำนวน whatever you do (ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม) ไปในคำเตือนได้ เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้คำเตือนนั้นๆ เช่น  Don’t turn that switch off, whatever you do. It switches the air-conditioner off. = ไม่ว่ายังไงก็ตาม อย่าขี่จักรยานคันนี้ เบรกมันเสียอยู่ ซึ่งจากประโยคนี้หากบุคคลใดที่ไม่ขี่รถจักรยานแต่ ขับรถจักยานยนต์หรือรถยนต์ก็สามารถนำประโยคไปเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ที่เป็นอยู่ตอนนั้น  นอกจากนี้ยังมีการใช้สำนวน You mustn’t… (เธอไม่ต้อง) ใช้พูดในเชิงคำสั่งมากกว่า Don’t… ตัวอย่างประโยคเช่น   You mustn’t go old quarry. It’s not safe. = เธอต้องไม่ไปใกล้เหมืองหินเก่า มันไม่ปลอดภัย
เชื่อว่าหลายๆคนนั้นเมื่อมีการพูดหรือสนทนากันแล้วก็ย่อมมีข้อคิดเห็นในการพูดทุกครั้ง จึงจะสามารถเกิดการสนทนาที่ดีได้ การให้ข้อคิดเห็นนั้นคนที่ฟังอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็เป็นได้  การแสดงความคิดเห็น (opinion) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราสามารถพูดหรือเขียนสิ่งที่เราคิดได้จากสำนวนต่างๆเหล่านี้คือ  การใช้ I think…โดยทั่วไปเรามักจะพบว่ามีการใช้สำนวนที่เป็นการแสดงความคิดเห็น โดยใช้ I think(that)  (ฉันคิดว่า)กันบ่อยซึ่งฉันเองก็นิยมใช้อยู่เหมือนกันเพราะฉันคิดว่าเป็นสำนวนที่ใช้แสดงความคิดเห็นที่ง่ายที่สุดและมีการคุ้นหูกัน เช่น I think that that is the most desirable part of the city to live.= ฉันคิดว่าแถวนั้นเป็นย่านที่อยู่อาศัยในฝันของคนในเมืองนี้ ซึ่งเราอาจใช้สำนวน Personally I think..(โดยส่วนตัวแล้ว  ฉันคิดว่า) เพื่อเน้นว่าสิ่งที่พูดเป็นเพียงความเห็นส่วนตัว หรือใช้เพียงสำนวนติดปากก็ได้ เช่น Quite a few people seem to think that George may be innocent. Personally I think he is guilty. = ดูเหมือนจะมีไม่แค่กี่คนที่คิดว่าจอร์จเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยส่วนตัวแล้ว ฉันคิดว่าเขาเป็นคนผิด  การใช้สำนวน I feel that… (ฉันรู้สึกว่า) ใช้ได้เช่นเดียวกับ I think that… เช่น I feel that young people are give too much freedom these days.  = ฉันรู้สึกว่าคนหนุ่มสาวสมัยนี้มีอิสระมากเกินไป นอกจากนี้เราอาจใข้สำนวน My feeling is that..(ฉันมีความรู้สึกว่า) ได้เช่นเดียวกับ I feel that… เช่น My feeling is that the children need more sleep.= ฉันมีความรู้สึกว่า เด็กๆจำเป็นต้องนอนหลับมากกว่านี้
นอกจากนี้ เรายังใช้สำนวน In my opinion…(ตามความเห็นของฉัน) เมื่อต้องการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในเรื่องใดเรื่องหนนึ่ง สำนวนนี้ค่อนข้างจะเป็นทางการมากกว่า I think… เช่น In my opinion, very young children should be looked after by their parents rather than by maids.= ตามความเห็นของฉัน เด็กเล็กควรได้รับการดูแลจากพ่อแม่มากกว่าสาวใช้  ซึ่งในการสสนทนานั้นเมื่อมีความเห็นที่ต่างกันหรือเห็นพ้องต้องกัน(in agree with) หรือเห็นด้วย(agree with) กับผู้อื่นในเรื่องใด ซึ่งเราสามารถแสดงความเห็นด้วยสำนวนต่างๆดังนี้ คือ Yes.(ใช่) คำนี้ทุกคนค้นตาและรู้จักกันดี มักใช้แสดงความเห็นด้วยกับผู้อื่นด้วยการพูดว่า Yes. อาจจะอธิบายหรือให้ความเห็นสนับสนุนกลับไปด้วย เช่น I think we should go fairly soon.= ฉันคิดว่าเราควรจะไปกันเร็วสักหน่อย Yes. We want to avoid the rush hour. = ใช่ เราอยากเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน  บางครั้งอาจจะมีการใช้เสียง Mm…(อืม) แทนการพูดว่า Yes.เพื่อแสดงความเห็นด้วยกับผู้อื่น  และมีการใช้สำนวน Emphatic Agreement (จริงๆ) , quite (แน่นอน)หรือ exactly(ชัดเจนที่สุด) ร่วมกับคำว่า Yes. เพื่อเพิ่มความหนักแน่นหรือความคิดเห็นที่เป็นไปในทางเดียวกัน ทำให้ประโยคนั้นน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น หรือ เราอาจใช้แค่คำวิเศษณ์ย้ำความคิดเห็นก็ได้ เช่น The students must be told to work harder. = ต้องบอกนักเรียนให้พยายามมากขึ้นอีก Yes, absolutely. Otherwise they will fail the exams. =  ใช่ แน่นอนที่สุด ไม่อย่างนั้นพวกเขาจะสอบตก  และคำว่า No (ไม่เช่นกัน/ใช่) อาจจะจะชินและเคยเห็นคำนี้อยู่บ่อยครั้ง  กับการใช้คำว่า No ในการอธิบายหรือแสดงความคิดเห็นสนับสนุนคำพูดที่มีความหมายเป็นเชิงลบหรือปฏิเสธของผู้อื่น  และบางครั้งอาจใช้ No. ตามด้วยคำพูดต่อท้าย เช่น is it ? เช่น That wasn’t very good meal.= อาหารมื้อนั้นไม่ได้เรื่องเลย No. In fact it was pretty awful. = ใช่ จริงๆ แล้วค่อนข้างแย่เลยละ บางครั้งอาจใช้สำนวน  That’s ring.(ใช่แล้ว) แทนสำนวน That’s true. เช่น There are several students in the school who are just as bright as James Brown.= นักเรียนหลายคนในโรงเรียนนี้อาจฉลาดพอๆกับเจมส์ บราวน์ That’s right. In fact, I think one or two of them are brighter.= ใช่แล้ว ที่จริงฉันคิดว่ามมีอยู่คนหรือสองคนด้วยซ้ำที่ฉลาดกว่าเขา
และเมื่อสนทนาพูดอภิปรายกับคนอื่นแล้วไม่เห็นด้วยกับผู้อื่น (disagree with)เราต้องการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยสามารถใช้สำนวนต่างๆต่อไปนี้ได้ Yes/No เมื่อต้องการแสดงความไม่เห็นด้วยกับผู้อื่นตรงๆ ในการใช้นั้นเราจะต้องใช้ให้สอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์ บางครั้งอาจให้ความเห็นเพิ่มเติมหรือตอบกลับไปด้วยก็ได้ เช่น I’am sure you’ll agree that we ought to organize a protest against this new factory.= ฉันมั่นใจว่าเธอจะเห็นด้วยกับฉันว่า เราควรจัดขบวนประท้วงต่อต้านโรงงานแห่งใหม่นี้  No’ I don’t actually. In fact, I’ m in favour of the factory. It will create new jobs for the area. = ไม่หรอก จริงๆ แล้วฉันไม่เห็นด้วยเลย อันที่จริงฉันสนับสนุนโรงงาน จะได้สร้างงานให้คนในท้องถิ่น และเราก็สามารถพูดปฏิเสธได้ (negative) เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับผู้อื่น เช่น I think it’s a wonderful idea. = ฉันคิดว่ามันเป็นความคิดที่ดีเยี่ยม Well, I don’t . =อืมฉันไม่คิดอย่างนั้นนะ  ส่วนผู้ที่ได้รับความเห็นคัดค้านหรือไม่เห็นด้วย อาจโต้ตอบด้วยคำว่า so (เช่นนั้น, อย่างนั้น) แทนคำว่า not (ไม่) ก็ได้ เช่น James’s as good as confessed to the theft. = เจมส์ทำท่าจะสารภาพผิดเรื่องขโมยของแล้ว He did not. = เขาไม่สารภาพหรอก He did so. = เขาทำอย่างนั้นจริงๆ
จากการอ่านและการฟังเพลงครั้งนี้ฉันได้ความรู้ ฉันได้ฝึกทักษะการฟังและการอ่านโดยฝึกซ้ำไปซ้ำมาหลายๆรอบ ซึ่งในการอ่านหรือฟังครั้งแรกนั้นอาจจะมึนงงอยู่บ้างแต่พอฝึกครั้งที่สอง หรือสามก็เริ่มที่จะเข้าใจ เพลงหรือเรื่องที่อ่านนี้ก็จะเป็นสิ่งที่ฉันเลือกและพึงพอใจที่จะอ่านหรือฟังมัน ในการฟังเพลงก็จะให้ทั้งความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน และสอดแทรกความรู้ทั้งทางด้านไวยากรณ์ หรือคำศัพท์ที่เรายังไม่รู้ ทำให้สมองของเราฝึกจดจำได้ดี ส่วนการอ่านนั้นก็อ่านเลือก Say It Easy จะพูดถึงสำนวนต่างๆที่ใช้พูดกันบ่อยในชีวิตประจำวัน ซึ่งการพูดภาษาอังกฤษให้ได้ดีนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องพูดให้สำเนียงนั้นเหมือนกับเจ้าของภาษาหรือพูดคำศัพท์ที่ยาก แต่คนที่เก่งภาษาอังกฤษนั้นจะต้องรู้จักการใช้ภาษาได้เหมาะสมรู้ว่าเราจะสื่อสารกับใคร ในสถานการณ์ใด และรู้จักใช้สำนวนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เมื่อเรามีการใช้สำนวนบ่อยครั้งในการพูดก็จะทำให้เราพูดคุยทักทายเรื่องทั่วไป หรือการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ทุกเรื่อง ทำให้เราพูดหรือใช้สำนวนได้อย่างถูกความหมาย และถูกกาลเทศะทำให้การพูดภาษาอังกฤษนั้นไม่ยากอย่างที่คิด และการเรียนรู้เรื่องไวยากรณ์และคำศัพท์ก็จะเป็นเพียงส่วนหนึ่ง  ดังนั้นการศึกษาหรือการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ที่ดีและควรมีความขยันอยากที่จะเรียนรู้จึงจะทำ ให้เรานั้นดูเป็นคนที่มีความรู้เมื่อใครถามอะไรก็สามารถตอบได้ทันที บางคนนั้นมีมันสมองที่ดี

ที่มา: http://www.youtube.com
         Betty Kirkpatrick.  Say It Easy.  กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น,  2552



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com