วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 11 นอก


Learning Log 11

นอกห้องเรียน

จากการเรียนวิชาการแปล 1 ในวันที่ 11 ตุลาคม พ.. 2558 สามารถสรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ 1 ประเด็น คือ สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกชั้นเรียน
โลกเรานั้นก็จะประกอบด้วยบุคคลหลากหลายเชื้อชาติซึ่งจะมีการใช้ภาษาที่แตกต่างกันมาก ภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาที่สำคัญต่อสังคมในปัจจุบันนี้มาก เนื่องจากมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของโลก จึงได้เลือกใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพื่อให้คนในสังคมที่หลากหลายเชื้อชาติมีความเข้าใจตรงกัน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากคำศัพท์นั้นมีมากบางคนแปลไม่ออก บางคนแปลไม่ได้ หรือบางคนทั้งอ่านไม่ออกและแปลไม่ได้จึงก่อให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ทำให้เกิดอาการหงุดหงิดกับความ
สามารถในการแปลของตัวเอง  ปัญหานี้จะพบได้บ่อยไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระดับใดครูก็ยังคงต้องปวดหัวและคอยแก้ปัญหานี้ซึ่งไม่มีวันหมด และเป็นปัญหาที่แก้ยากมาก เพราะไมใช่เพียงครูที่คอยแก้ปัญหาหรือช่วยนักเรียนเพียงฝ่ายเดียวแต่ตัวเด็กเองก็ต้องมีความอุตส่าห์และฝึกฝนด้วยตัวเองโดยการฝึกอ่าน ฝึกแปล ฝึกเขียน และท่องจำคำศัพท์อยู่เป็นประจำเพื่อฝึกความสามารถในการใช้คำศัพท์ของตัวผู้เรียนเองให้เก่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเรียนรู้นั้นสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาไม่มีข้อจำกัด  ซึ่งจะมีทักษะที่สำคัญอยู่ 4 ทักษะที่สำคัญต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษคือทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียน ซึ่งตัวเราเองก็รู้ระดับความสามารถของตัวเราเองดีว่าทักษะด้านใดที่เรายังอ่อนอยู่ และเราก็จะเลือกปรับปรุงส่วนที่อ่อนอยู่ให้มีการพัฒนาขึ้น ตัวดิฉันเองนั้นมีทักษะการอ่านและการฟังที่จะอ่อนอยู่จึงได้เลือกที่จะปรับปรุงในส่วนนี้  และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะอื่นๆที่ยากกว่านี้

ในการพัฒนาทักษะทางด้านการอ่านนั้นดิฉันได้เลือกอ่านหลักเกณฑ์การทับศัพท์ เนื่องจากปัจจุบันคำศัพท์นั้นมีมากมายหลายล้านคำซึ่งแต่ละประเทศนั้นก็มีการสร้างคำที่ต่างกันออกไปทำให้คนที่ต่างเชื้อชาติกันเกิดความสับสนและไม่เข้าใจกันจึงเกิดการเรียนรู้ของภาษาซึ่งกันและกันบางครั้งอาจจะทำให้สังคมเกิดการวุ่นวายแต่อย่างไรก็ตามก็ต้องเรียนรู้ภาษาที่เราอยากจะสื่อสารเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารต่อสังคมนั้นๆคำศัพท์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเป็นอย่างมากต่อการประกอบให้เป็นรูปแบบของประโยคเนื่องจากการเรียนภาษาที่ดีได้จะต้องรู้จักการใช้คำได้อย่างถูกต้องและเข้าใจความหมายของคำศัพท์นั้นๆซึ่งบางครั้งภาษาบางภาษาอาจจะมีคำศัพท์ที่ใช้เฉพาะทำให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยนั้นสับสนเป็นอย่างมาก ในการบัญญัติศัพท์นั้นบางครั้งผู้ที่บัญญัติก็ไม่สามารถหลีกเหลี่ยงวิธีการทับศัพท์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำที่เป็นวิสามานนามต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันได้มีการบัญญัติการใช้คำทับศัพท์กันอย่างแพร่หลายแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือมีการใช้ที่ผิดเพราะผู้ที่ใช้นั้นไม่รู้ความหมายของคำนั้นจริงๆเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้จึงต้องมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์ใหม่เพื่อให้ใช้คำทับศัพท์ให้เหมาะสมกับการนำไปปฏิบัติซึ่งปัญหานี้ก็เกิดขึ้นกับตัวดิฉันเองบ่อยมาก บ่อยครั้งที่เกิดการสับสนอยู่และไม่กล้าที่จะใช้คำศัพท์นั้นๆดังนั้นการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการจำคำศัพท์เป็นอย่างมาก
โดยจากเรื่องที่อ่านมานั้นมีหลักเกณฑ์การทับศัพท์ดังนี้คือ 1.การทับศัพท์ให้ถอดอักษรภาษาเดิมพอควรแก่การแสดงรูปศัพท์ และเขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย 2.การวางหลักเกณฑ์ให้แยกกำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาแต่ละภาษาไป 3. คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือเป็นคำไทย และปรากฎในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้วให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่นช็อกโกเลต,เชิ้ต,ก๊าซ,แก๊ส 4.คำศัพท์ที่ใช้กันมานานแล้วอาจใช้ต่อไปตามเดิม เช่น Victoria= วิกตอเรีย Louis= หลุยส์ 5.ศัพท์วิชาการซึ่งใช้เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช้คำศัพท์ทั่วไป อาจเพิ่มหลักเกณฑ์ขึ้นตามความจำเป็น ส่วนด้านภาษาอังกฤษนั้นมีหลักเกณฑ์การทับศัพท์ดังนี้คือ1. สระ ให้ถอดตามการออกเสียงตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษโดยเทียบเสียงสระภาษาไทยตามตารางเทียบเสียงภาษาอังกฤษ 2.พยัญชนะ ให้ถอดเป็นพยัญชนะภาษาไทยตามหลักเกณฑ์ในการเทียบพยัญชนะภาษาอังกฤษ 3.การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต  3.1 พยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียงในภาษาไทย ให้ใส่เครื่องหมายทัณตฆาตกำกับไว้ เช่น horn= ฮอร์น Windsor= วินด์เซอร์ 3.2 คำหรือพยางค์ที่สะกดมีพยัญชนะตามมาหลายตัวให้ใส่เครื่องหมายทัณตฆาตไว้บนพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงตัวสุดท้ายแต่เพียงแห่งเดียว เช่น Okhotsk=โอค็อตสก์ 3.3 คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะไม่ออกเสียงอยู่หน้าตัวสะกดที่ยังมีพยัญชนะตามหลังมาอีกให้ตัดพยัญชนะที่อยู่หน้าตัวสะกดออกและใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น world = เวิลด์ Johns= จอนส์
4.การใช้ไม้ไต่คู้ ควรใช้กรณีต่อไปนี้ 4.1  เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคำไทย เช่น log=ล็อก 4.2 เพื่อช่วยให้ผู้อ่านแยกพยางค์ได้ถูกต้อง เช่น Okhotsk= โอค็อตสก์ 5.ใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์การเขียนคำทับศัพท์ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ ยกเว้นในกรณีที่คำนั้นมีเสียงซ้ำกับคำจนทำให้เกิดความสับสน อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ เช่น coke =โค้ก ,coma=โคม่า 6.พยัญชนะซ้อน(double letter) คำที่พยัญชนะซ้อนเป็นตัวสะกด ถ้าเป็นคำศัพท์ทั่วไปให้ตัวออกตัวหนึ่ง เช่น football=ฟุตบอล  แต่ถ้าเป็นคำศัพท์ทางวิชาการหรือวิสามานยนามให้เก็บไว้ 2 ตัว โดยใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้ที่ตัวท้าย เช่น cell =เซลล์ ถ้าพยัญชนะซ้อนอยู่กลางศัพท์ให้ถือว่า พยัญชนะซ้อนตัวแรกเป็นตัวสะกดของพยัญชนะหน้า และพยัญชนะซ้อนตัวหลังตัวหลังเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป ฉะนั้นการใช้พยัญชนะตัวสะกดและพยัญชนะต้นจะต่างกันตามหลักเกณฑ์การเทียบพยัญชนะในตาราง เช่น  broccoli = บรอกโคลี 7. คำที่ตัวสะกดของพยางค์หน้าออกเสียงเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ตัวต่อไปด้วย ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้คือ ถ้าสระของพยางค์หน้าเป็นเสียงสระอะ เมื่อทับศัพท์ต้องใช้รูปไม้หันอากาศ ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์หน้าเข้าอีกตัวหนึ่งเพื่อเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป เช่น couple = คัปเปิล  ถ้าสระของพยางค์เป็นสระอื่นๆให้ทับศัพท์ตามรูปพยัญชนะภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องซ้อนพยัญชนะ เช่น general=เจเนอรัล
8. คำประสมที่มีเครื่องหมายยัติภังค์(hyphen)ให้ทับศัพท์โดยเขียนติดต่อกัน เช่น cross-stitch=ครอสสติตช์ ยกเว้นในกรณีที่เป็นศัพท์วิชาการหรือวิสามานยนาม เช่น cobalt-60 =โคบอลต์ 60 9.คำประสมซึ่งในภาษาอังกฤษเขียนแยกกัน เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกัน ไม่ต้องแยกคำตามภาษาเดิม เช่น New Guinea=นิวกินี   10. คำคุณศัพท์ที่มาจากคำนามให้ถือหลักเกณฑ์คือ ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายเหมือนคำนาม ให้ทับศัพท์ในรูปแบบของคำนาม  focal  length = ความยาวโฟกัส   11. คำคุณศัพท์ที่มาจากชื่อบุคคล ใช้ทับศัพท์ตามชื่อของบุคคลนั้นๆโดยใช้คำประกอบ ของ แบบ ระบบ ฯลฯ แล้วแต่ความหมายเช่น Euclidean geometry= เรขาคณิตระบบยุคลิด ยกเว้นชื่อคำศัพท์เฉพาะบุคคล ยกเว้นชื่อเฉพาะที่รู้จักในวงการ อาจจะไม่ใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่ขึ้นต้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำคุณศัพท์ เช่น  abelian group =กลุ่มอาบีเลียน   12.คำคุณศัพท์ที่เกี่ยวกับชนชาติต่างๆ ให้ทับศัพท์ในรูปของคำนามที่เป็นชื่อประเทศเช่น Swedish people =คนสวีเดน  13. การวางตำแหน่งคำคุณศัพท์ในคำทับศัพท์ให้ถือหลักเกณฑ์คือ ถ้าคำคุณศัพท์หรือคำนามเป็นคำทับศัพท์ที่ยังไม่ถือเป็นคำไทยให้ทับศัพท์ตรงตามศัพท์เดิม เช่น Arctic Circle= อาร์กติกเซอร์เคิล 14. คำย่อให้เขียนชื่ออักษรนั้นๆลงเป็นภาษาไทย และเขียนโดยไม่ต้องใส่จุดและไม่เว้นช่องไฟ เช่น DDT =ดีดีที 15. คำทับศัพท์ที่ผูกขึ้นจากตัวย่อ อ่านออกเสียงได้เสมือนคำหนึ่งคำ ให้เขียนตามเสียงที่ออกไม่ต้องใส่จุด เช่น USIS=ยูซิส 16.ตัวย่อชื่อบุคคล เขียนใส่จุดและเว้นช่องไฟระหว่างชื่อกับนามสกุล เช่น D.N.Smith=ดี.เอ็น.สมิท
นอกจากนี้ฉันก็ได้เลือกฟังเพลง เพลงที่ฉันฟังนั้นก็จะเป็นเพลงที่ฉันชอบ ฉันเชื่อว่าการฟังเพลงนั้นไม่ใช่แค่เพิ่มความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน แต่ยังให้ความรู้ต่างๆที่ซ่อนอยู่ในเนื้อเพลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไวยากรณ์หรือคำศัพท์ เพลงที่ฉันฟังคือ เพลง Within you’ll remain  จากการฟังเพลงนี้ฉันก็พอที่จะสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้คือ  บุคคล คนหนึ่งที่ต้องเผชิญกับโลกที่ว่างเปล่าและรู้สึกกำลังจะสลายไปกับคนที่เขารัก เพราะคนรักของเขาคือคนที่ทำให้ฝันของเขานั้นเป็นจริง เพราะหล่อนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขา  เขารู้ว่าจะมีคนมาทำลายความรักของเขา และทำให้เขายิ่งรักหล่อนมากขึ้น  ซึ่งในเนื้อเพลงจะสังเกตได้ว่าประโยคแต่ละประโยคจะมีการใช้ Tense ที่ต่างกัน เช่น Facing the world with an empty heart.  I could disappear into the dark. ประโยคนี้จะประกอบด้วย main clause คือ  I could disappear into the dark  และ phrase ที่ขึ้นต้นประโยคด้วย Present participle facing ประโยคนี้เกิดจาก Simple Sentence 2 ประโยคที่มีประธานตัวเดียวกัน ซึ่งสามารถนำประโยคมารวมกันได้คือ  I face the world with an empty heart./  I could disappear into the dark. รวมกันโดยการตัดประธานที่เหมือนกันออก 1 ตัว คือ I และเปลี่ยนกริยาที่แสดงว่าเกิดขึ้นก่อนให้เป็น Present Participle :Facing the world with an empty heart,  I could disappear into the dark.
You were the one who could make my dreams come true. ข้อความส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็น relative clause ขยาย the one โดยมี relative pronoun “who” เป็นตัวเชื่อม clause ซึ่ง who ทำหน้าที่เป็นประธาน ของ relative clause ซึ่งไม่สามารถละออกได้ Make my dreams come true. จะเห็นได้ว่าคำกริยาที่ตามหลัง make+ object จะอยู่ในรูปของ infinitive ได้ ประโยคต่อไปคือ I love you I need you .More than I ever did anyone ซึ่ง  I ever did anyone  คำว่า did นั้นหมายถึง คำกริยาที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ คือ want, need ประโยคนี้มีความหมายเท่ากับ I want you, I need  you more than I ever wanted or needed anyone.และประโยคสุดท้ายคือ  We could be two lovers from the past. รูปกริยา could ในประโยคนี้ใช้สื่อความหมาย “less definite, more hesitant and tentative suggestion. ผู้พูดจะไม่ค่อยมั่นใจนักที่จะกล่าวเช่นนี้นอกจากนี้ could ยังสามารถสื่อความหมายอื่นๆได้อีกด้วย เช่น “A request”: Could you do this for me. “Permission’:  Pat said that I could be late tomorrow นอกจากนี้ฉันยังได้คำศัพท์อีกหลายคำ เช่น disappear= สาบสูญ,สูญหาย remain = ยังคงอยู่,คงอยู่ stood still=ยืนอยู่นิ่ง,หยุดลง illusions =การลวง,สิ่งที่ลวงใจ interfere=แทรกแซง,ยุ่ง และ chance =โอกาส,หนทาง
                จะเห็นได้ว่าในการเรียนรู้นอกห้องเรียนครั้งนี้ดิฉันได้เลือกศึกษาทักษะที่ดิฉันยังอ่อนอยู่ เป็นมันเรื่องยากที่เรานั้นหันมาทำอะไรที่ยังไม่ถนัด แต่หากเราอยากที่จะปรับปรุงตัวเองเราก็ต้องมีความมุ่งมานะ อุตสาหะให้ตัวเราเองนั้นเก่งเหมือนคนอื่นๆเขา ในที่นี้ฉันก็ได้เลือกที่จะฝึกทักษะการอ่านและการฟัง  การอ่านนั้นเราก็ต้องเลือกอ่านเรื่องที่เราสนใจ และยังคงสับสับสนอยู่ เมื่ออ่านแล้ว ลองทบทวนไปมาหลายๆรอบเราก็จะเกิดความเข้าใจถึงแม้จะไม่เข้าใจอย่างถี่ถ้วน แต่เราก็ยังจะมีความรู้เมื่อคนอื่นถามเราก็พอที่จะตอบได้บ้าง และอีกทักษะหนึ่งเป็นทักษะที่สำคัญ ก็คือทักษะการฟัง การฟังนั้นเราจะต้องฟังและสรุปประเด็นสำคัญที่ฟังนั้นได้อย่างเข้าใจเมื่อผู้พูดถาม หรือ คนอื่นๆถามเราก็สามารถตอบได้ ในที่นี้ฉันก็ได้เลือกฟังเพลง ในการเลือกฟังเพลงฉันก็จะเลือกฟังเพลงที่ฉันชอบ เพราะฉันคิดว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีนั้นก็จะต้องเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ผู้เรียนชอบ การฟังเพลงที่มีเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษนั้นมันไม่ง่ายเลยสำหรับฉัน ฉันจึงต้องฟังซ้ำไปซ้ำมาหลายๆรอบ เพื่อให้เกิดความเขาใจในเนื้อเพลงนั้น ตอนแรกฉันก็ไม่ชอบหรอกที้ต้องฟังอะไรซ้ำๆ แต่พอฟังแล้วเข้าใจเนื้อหาฉันก็รู้สึกหลงใหลในเพลงนั้นขึ้นมาทันทีและสิ่งที่ฉันได้จากการฟังเพลงนั้นไม่ใช่แค่เพียงความสนุก หรือความเพลิดเพลิน แต่ยังได้ความรู้ต่างๆมากมายทั้งทางด้านไวยากรณ์และคำศัพท์ มันคุ้มค่ามากจริงๆและเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มความรู้หรือฝึกทักษะอย่างฉัน ให้เป็นคนที่เก่งภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น
ที่มา:ราชบัณฑิตยสถาน  .หลักเกณฑ์การทับศัพท์  .พิมพ์ครั้งที่ 1  .2535
    www.youtoub.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com