วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning log 8 ใน


Learning log 8

ในห้องเรียน
จากการเรียนรู้ในห้องเรียนครั้งนี้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างประโยคซึ่งประโยคในภาษาอังกฤษจะมีกันหลายรูปแบบจะมีการใช้ที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์  บางประโยคก็จะมีรูปแบบการสร้างที่ง่ายและบางประโยคก็จะมีรูปแบบการสร้างที่ยุ่งยาก ในที่นี้จะพูดถึงเรื่องการสร้างประโยคเงื่อนไข(conditional  sentence) เป็นประโยคอีกอย่างหนึ่งที่ใช้พูดเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ผู้พูดสมมติหรือคาดเดา ว่าต้องการให้เหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งในหนึ่งเงื่อนไขนั้นก็จะประกอบด้วย 2 ประโยคด้วยกันประกอบด้วยส่วนที่เป็นเหตุ(If-Clause)และส่วนที่เป็นผล(Principle Clause) ผู้พูดอาจจะใช้เหตุขึ้นก่อนแล้วตามด้วยผลหรืออาจจะให้เหตุผลก่อนจึงจะตามด้วยเหตุ แน่นอนไม่ว่าจะเป็นประโยคในภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยเมื่อพูดขึ้นมาแล้วหนึ่งประโยคก็ต้องประกอบด้วยเหตุและผลเพื่อให้ผู้ที่เราสนทนาด้วยเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด ไม่ว่าเราจะพูดเรื่องใดก็ต้องมีเหตุผลเสมอจึงจะทำให้คำพูดนั้นดูน่าเชื่อถือ  ซึ่งประโยคเงื่อนไขนี้ก็สามารถแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆได้หลากหลายตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งผู้สอนได้นำข้อมูลต่างๆมาให้ผู้เรียนได้ศึกษาและทำความเข้าใจได้ง่ายๆจากในหนังสือ บทความต่างๆและพร้อมทั้งมีตัวอย่างประโยคให้ได้ศึกษา

   เชื่อว่าหลายคนคงจะยังสงสัยกับเรื่องประโยคเงื่อนไข(conditional  sentence) ถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะเคยเรียนมาบ้างแล้วสมัยมัธยมต้น แต่หลายปีที่ผ่านมานี้อาจทำให้ผู้เรียนนั้นลืมเนื้อหาไปบ้างบางส่วน   ซึ่งสามารถอธิบายเกี่ยวกับประโยคเงื่อนไข(conditional  sentence)ได้ คือการนำประโยคสองประโยคที่มาด้วยกันและเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน ลักษณะประโยคเงื่อนไขจะประกอบด้วยประโยคหลักกับประโยคย่อยโดยประโยคย่อยขึ้นต้นด้วยคำว่า If ที่แปลว่า ถ้าและต้องมีเครื่องหมาย, คั้นไว้ระหว่างประโยคที่เป็นเหตุและผล แต่ถ้าวาง If ไว้กลางประโยคไม่ต้องมี , คั่น  ประโยคย่อยจะเป็นประโยคที่สร้างเงื่อนไขขึ้นมาว่าถ้าเป็นอย่างนี้แล้วจะเป็นอย่างนั้นหรือถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วจะเป็นอย่างนี้ ประโยคเงื่อนไขหรือ If-/Conditional Sentences บางแหล่งข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทซึ่งบางประเภทก็เป็นการพูดถึงเงื่อนไขที่เป็นไปได้(Real Condition)บางประเภทก็พูดถึงเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้(Impossible Condition)หรือไม่มีทางเป็นไปได้(Possible Condition) และบางประเภทก็พูดถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้ว (Unreal Condition)
เงื่อนไขที่เป็นไปได้(Real Condition) เป็นเงื่อนไขที่เป็นจริงเสมอ(Real Condition)หมายถึง ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามที่กล่าวแล้วก็จะได้ผลดังเช่นว่านั้นเสมอโดยไม่มีข้อยกเว้นโดยมีรูปแบบ Tenseคือ If+Present,+ Present Tense เช่น If the sun doesn’t shine,all animals die. (ถ้าดวงอาทิตไม่ส่องแสง สัตว์ทั้งหลายก็จะตายหมด)ในกรณีที่ไม่ต้องการเน้นผลที่จะเกิดขึ้นอย่างหนักแน่นนัก อาจจะใช้ Futuer Tense แทน  Present Tense ได้ตามรูปแบบIf+Present Tense,+Futuer Tense เช่น If water boils,it will change into steam.(ถ้าหากน้ำเดือด มันจะกลายเป็นไอ) โดยมีข้อสังเกต ประโยคเงื่อนไขประเภทที่เป็นจริงเสมอ 1 จะประกอบด้วยประโยคหลักและประโยคย่อยที่มีความหมายเป็นจริงเสมอ กล่าวคือเป็นความจริงโดยทั่วไปหรือความเป็นจริงโดยสากล  2 ประโยคหลักจะใช้ได้ 2 tenses ได้แก่ present simple กับ future simple 3 ถ้าใช้ present simple tense ในประโยคหลักผู้พูดต้องการแสดงความหนักแน่นและความมั่นใจของความจริงนั้นๆ 4 ถ้าใช้ future simple tense ในประโยคหลักผู้พูดจะบอกถึงความเป็นจริงที่เป็นเงื่อนไขทั่วๆไป
 พูดถึงเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้(Impossible Condition) หมายถึงเงื่อนไขที่ไม่มีทางจะเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องที่สมมติขึ้นมาลอยๆเท่านั้นเอง รูปแบบประโยคคือ If+Past Tense,+ประโยค would+V1 เช่น  If I had wings, I would fly  everywhere.(ถ้าผมมีปีก ผมจะบินไปทุกหนทุกแห่ง)  เงื่อนไขที่ไม่มีทางเป็นไปได้(Possible Condition) คือเงื่อนไขที่ถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง ผลก็อาจจะจริงตามที่ว่านั้น หรืออาจไม่เกิดขึ้นจริงเลยก็ได้ จะมี 2 รูปแบบตามลักษณะการใช้งานคือ 1.เมื่อผู้พูดแน่ใจหรือเชื่อว่าเงื่อนไขจะเป็นจริง มีรูปแบบการใช้ดังนี้  If+ Present,+ประโยค will+V1  เช่น If she tries hard, she will succeed.(ถ้าเธอพยายามอย่างหนัก เธอก็จะประสบความสำเร็จ) และ 2.เมื่อเป็นเงื่อนไขธรรมดาและผู้พูดไม่แน่ใจอะไรเป็นพิเศษ(แม้มีรูป Past แต่ความหมายเป็นปัจจุบันหรืออนาคต)มีรูปแบบดังนี้คือ If + Past Tense,+ประโยค would +V1 เช่น If Aphichat hurried, he would be in time.(ถ้าอภิชาตรีบ เขาก็จะทันเวลา)
และประโยคเงื่อนไขสุดท้ายคือ เรื่องที่ผ่านมาแล้ว (Unreal Condition) คือเงื่อนไขซึ่งตรงข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นเงื่อนไขที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว แต่ผู้พูดนำมาสมมุติใหม่ตรงข้ามกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น มีรูปแบบดังนี้ If+ Past Perfect,+ประโยคwould have +V3 เช่น If had been here yesterday, I would have quarreled him.(ถ้าผมอยู่ที่นี่เมื่อวานนี้ ผมคงจะทะเลาะกับเขาไปแล้ว) ความจริงก็คือ เมื่อวานผมไม่ได้อยู่ที่นี่ ก็เลยไม่ได้ทะเลาะกับเขา If had killed him yesterday, I would have been arrested. (ถ้าผมฆ่าเขาเมื่อวานนี้ ผมก็คงถูกจับไปแล้ว)ความจริงก็คือ เมื่อวานนี้ผมไม่ได้ฆ่าเขา ผมก็เลยไม่ถูกจับ :ซึ่งประโยคต่างๆเหล่านี้ก็จะมีรูปกริยาที่แสดงความไม่เป็นจริง (Subjunctive Form) จะแตกต่างไปจากรูปกริยาปกติทั่วไปเพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่ชัดเจนเมื่อพบเห็นประโยคที่มีคำกริยาเหล่านี้ก็จะทำให้แยกออกได้ว่าอยู่ในรูปแบบของประโยคชนิดใด เพราะว่าเป็นเรื่องสมมติไม่เป็นความจริง ซึ่งมักจะมีรูปกริยาเหล่านี้ประกอบอยู่ในประโยคคือ wish, as if, as though, suggest that, etc.(Verb to be ที่ใช้กับประโยคสมมติให้ใช้ were เสมอ)
Wish  เป็นคำแสดงความปรารถนาอยากจะให้เป็นมี 3 ลักษณะคือ 1 อยากให้เป็นในปัจจุบัน 2 อยากให้เป็นในอดีต 3 อยากให้เป็นในอนาคต  อยากให้เป็นในปัจจุบัน เป็นความอยากจะให้เป็นปัจจุบัน โดยเหตุการณ์ขณะที่พูดไม่ได้เป็นอย่างที่ต้องการนั้นจริงๆมีรูปแบบดังนี้ ประธาน+ wish+(that)ประธาน+กริยาช่องที่ 2 เช่น I wish I had a new job. = If only I had a new job. (ผมปรารถนาว่าผมได้งานใหม่) อยากให้เป็นในอดีต เป็นความอยากจะให้เป็นในอดีต(เหตุการณ์ในอดีตเป็นอย่างหนึ่งแต่ผู้พูดในอดีตอยากจะให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง)มีรูปแบบดังนี้ ประธาน+ wish+ (that)ประธาน + had + กริยาช่องที่ 3 เช่น I wish Suwipha had come to the party last night. (ผมอยากให้เมื่อคืนนี้สุวิภาได้มาในงานเลี้ยง)แต่ในความจริงก็คือ เมื่อคืนสุวิภาไม่ได้มางานเลี้ยง  อยากให้เป็นในอนาคต เป็นการอยยากให้เป็นในอนาคตซึ่งยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นจริงหรือไม่เพราะเวลายังมาไม่ถึง มีรูปแบบดังนี้ ประธาน + wish+ (that)ประธาน+would+กริยาช่องที่ 1 เช่น He wished that she would come with him.(เขาปรารถนาว่าเธอจะไปกับเขาด้วย)
as if, as though มีความหมายว่า ราวกับว่า,ดูเหมือนว่า มีรูปประโยคในการใช้งานเหมือนกับประโยค If-Sentence ตามรูปแบบดังนี้  Present+ as if + V2/Past+ as if +Past(ตามข้อเท็จจริงในแต่ละประโยค) เช่น He talks as if he were tired.(เขาพูดราวกับว่าเขาเหนื่อย) suggest (that) เป็น Present Subjunctive เป็นรูปกริยาที่ไม่จริงในปัจจุบัน(ซึ่งมีการใช้งานคล้ายกับคำเหล่านี้)มีการใช้งานดังนี้ recommend that แนะนำว่า , advise that แนะนำว่า, propose that เสนอว่า ,request that ขอร้องว่า, It is necessary that เป็นความจำเป็นที่ว่า 1.รูปกริยาที่ใช้ร่วมกับประโยคอื่นคือ กริยารูปเดิม (Infiinitive ที่ไม่มี to) ซึ่งจะคงรูปเดิมเสมอไม่ว่าประธานจะเป็นพจน์ใด และกริยาข้างหน้าจะเป็น Tense ใดมีรูปแบบการใช้ดังนี้คือ ประธาน +suggest+(that)ประธาน+กริยาช่องที่ 1 เช่น She suggested that he go to see the fortune-teller.(เธอแนะนำเขาว่าควรจะไปหาหมอ) 2.ถ้าเป็นคำปฏิเสธให้เติม not หลัง Present Subjunctive หรืออยู่หน้า Infinitive ที่ไม่มี to ได้ทันที เช่น He insists that you not go wish us.(เขายืนกรานว่าคุณไม่ต้องไปกับเขา)
แต่เนื่องจากการเรียนในห้องเรียนนั้นเนื้อหาในบทความที่ครูได้เตรียมมาให้ผู้เรียนได้แบ่งประเภทของประโยคเงื่อนไขออกเป็น 3 ประเภท นั้นก็คือประโยคเงื่อนไขที่เป็นไปได้ (Real Conditions or Open Conditions) รูปแบบประโยคคือ If  + present tense verb , will/can +V เช่น If you documents are in order,you may/can leave at once. ซึ่งตำแหน่งการวาง clauseทั้ง 2 อาจสลับกันได้ คือ เอา Main Clause ขึ้น แล้วตามด้วย Subordinate Clause (แต่อย่างไรก็ดี ถ้าขึ้นต้น ประโยคด้วย Subordinate Clause หรือ if Clause ก่อนจะเป็นการเน้นยิ่งขึ้น) เช่นI will help him if he asks me. ประโยคเงื่อนไขแท้จริง (Real Conditions) นอกจากจะใช้โครงสร้างประโยคดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ใช้มากที่สุดแล้ว ยังมีโครงสร้างอีกแบบหนึ่งซึ่งใช้มากเช่นกัน และค่อนข้างจะมีความหมายเน้น (Emphasis) กว่าโครงสร้างข้างบน คือ If + Present Simple , Present Simple เช่น If you are right, I am wrong.   If he comes, I tell you. If you boil water, it changes into steam.
นอกจากนี้ยังมีประโยคเงื่อนไขที่อาจจะเป็นไปได้ (Possible Condition) มีความหมายคล้ายกับแบบที่ 3 คือประโยคเงื่อนไขไม่จริงหรือเงื่อนไขสมมุติย้อนอดีต (Unreal Conditions in Past) แต่สามารถสังเกตได้จากรูปแบบของ Tense ประโยคเงื่อนไขที่อาจจะเป็นไปได้ (Possible Condition) จะเป็นเรื่องราวที่ใช้รูปแบบ Present Tense แต่ประโยคเงื่อนไขไม่จริงหรือเงื่อนไขสมมุติย้อนอดีต (Unreal Conditions in Past) จะเป็นเรื่องราวที่ใช้รูปแบบของ Past Tense ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแต่อยากให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง  ประโยคเงื่อนไขที่อาจจะเป็นไปได้ (Possible Condition) มีรูปแบบการใช้คือ If+ past tense verb, would/might/could +V เช่น If there were no police car in front of us, I wouldn’t be driving so slowly right now. ส่วนเงื่อนไขไม่จริงหรือเงื่อนไขสมมุติย้อนอดีต (Unreal Conditions in Past)จะมีรูปแบบการใช้ดังนี้คือ If+ past perfect tense verb,would have+V-ed เช่น If I had studied a little harder ,I would have done well on yesterday’s test.
ซึ่งจะมีข้อสังเกตการใช้ประโยคเงื่อนไขไม่จริงหรือเงื่อนไขสมมุติย้อนอดีต (Unreal Conditions in Past)ดังนี้คือ
1. รูป Future Perfect in the Past ก็คือ รูปที่มาจาก Future Perfect Tense นั่นเอง แต่เปลี่ยน “will” เป็น “would” หรือ “shall” เป็น “should”       2. ความหมายของรูปเงื่อนไขไม่จริงย้อนอดีตนี้จะมีความหมายเหมือนกับโครงสร้าง “wish + Past Perfect” (ดูเรื่อง “Mood” ที่เกี่ยวกับโครงสร้าง “wish” ประกอบ) กล่าวคือ เป็นเงื่อนไขที่กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและได้กระทำลงไปตรงกันข้ามกับรูปประโยคเสมอ หรือเป็นเงื่อนไขที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริงนั่นเอง (Contrary to the Facts) เช่น“If John had worked hard……..” (= ผู้พูดกล่าวพาดพิงถึงการเรียนที่แล้วมา และความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้ว จอห์นไม่ได้ศึกษาอย่างขยันเลย เขาจึงสอบตก)หรือ“If you had asked me,………………”(= ผู้พูดกล่าวพาดพิงถึงการเรียนที่แล้วมา และความจริงที่เกิดขึ้นคือคุณไม่ได้ขอร้องผม ผมก็เลยไม่ได้ช่วยคุณ)หรือ“If the hat had suited me, I would have bought it.”
(= ผู้พูดกล่าวพาดพิงเรื่องที่แล้วมาเช่นกัน ซึ่งมีความหมายว่า “(เมื่อวานนี้ตอนที่ผมไปดูหมวกใบหนึ่งในร้าน) ถ้ามันเหมาะกับผม ผมก็คงซื้อมันไปแล้วซึ่งความเป็นจริงก็คือ ผมไม่ได้ซื้อหมวกใบนั้น  เพราะมันไม่เหมาะกับผม)
                จะเห็นได้ว่าแบบรูปแบบของประโยคเงื่อนไขแบบประโยคเงื่อนไขที่อาจจะเป็นไปได้ (Possible Condition) มีความหมายคล้ายกับแบบที่ 3 คือประโยคเงื่อนไขไม่จริงหรือเงื่อนไขสมมุติย้อนอดีต (Unreal Conditions in Past) จึงนิยมนำมารวมกันและทำให้ประโยคเงื่อนไขนั้นเหลือเพียง 3 รูปแบบ ผู้เรียนนั้นสามารถศึกษาได้ตามรูปแบบที่ตนเองสนใจไม่ว่าจะแบบ 3 เงื่อนไขหรือ 4 เงื่อนไข หากผู้เรียนมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้แน่นอนแล้ว ไม่ว่าผู้สอนจะนำเนื้อหาแบบไหนมาสอนก็จะเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สอนได้อย่างไม่สับสน และในการเรียนการสอนครั้งนี้ผู้เรียนยังได้ฝึกแต่งประโยคกับเพื่อนๆโดยจะแต่งประโยคทั้ง 3 รูปแบบของประโยคเงื่อนไขคือ แบบที่ 1 ประโยคเงื่อนไขที่เป็นไปได้  If I exercise everyday , I will be healthy. (ถ้าฉันออกกำลังกายทุกวัน ฉันจะแข็งแรง) แบบที่ 2  ประโยคเงื่อนไขที่อาจจะเป็นไปได้ If I graduated, I might travel around the world. (ถ้าฉันเรียนจบ ฉันจะไปเที่ยวรอบโลก)และ แบบที่ 3 ประโยคเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ If he had not climbed on the tree, he wouldn’t have broken legs.(ถ้าเขาไม่ปีนต้นไม้ เขาจะไม่ขาหัก)
                ดังนั้นการสร้างประโยคในภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยเมื่อพูดขึ้นมาแล้วหนึ่งประโยคก็ต้องประกอบด้วยเหตุและผลเพื่อให้ผู้ที่เราสนทนาด้วยเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด ไม่ว่าเราจะพูดเรื่องใดก็ต้องมีเหตุผลเสมอจึงจะทำให้คำพูดนั้นดูน่าเชื่อถือ การสร้างประโยคเงื่อนไขผู้สร้างต้องคำนึงอยู่เสมอว่าสร้างประโยคนั้นขึ้นนั้นเพื่อสมมติหรือคาดเดา ว่าต้องการให้เหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไรเหตุการณ์อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ก็ได้ และในการสร้างประโยคเงื่อนไขนั้นก็ต้องประกอบด้วยส่วนที่เป็นเหตุ(If-Clause)และส่วนที่เป็นผล(Principle Clause) ผู้พูดอาจจะใช้เหตุขึ้นก่อนแล้วตามด้วยผลหรืออาจจะให้เหตุผลก่อนจึงจะตามด้วยเหตุ ซึ่งประโยคเงื่อนไขนี้ก็สามารถแยกย่อยออกเป็น 3 หรือ 4 เงื่อนไข ตามแหล่งที่มาต่างๆไม่เหมือนกันแต่อย่างไรก็ตามหากผู้เรียนศึกษาได้เข้าใจดีแล้วก็สามารถเข้าใจและสร้างประโยคได้อย่างง่ายดายและไม่สับสน เนื่องจากข้อความของประโยคในรูปแบบต่างๆ จะแสดงความหมายไม่เหมือนกัน ข้อความบางอันเป็นจริง แต่ข้อความบางอันไม่เป็นจริง เป็นแต่การสมมุติเท่านั้น   ฉะนั้น จำเป็นที่จะต้องศึกษารูปแบบของประโยคเงื่อนไขต่างๆ ให้ดี จึงจะเข้าใจข้อความได้ถูกต้องขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com