วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักการแปลวรรณกรรม


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
หลักการแปลวรรณกรรม

ในการเรียนรู้ครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องหลักการแปลวรรณกรรม ซึ่งถือว่าเป็นศาสตร์หนึ่งที่ยากพอสมควรเนื่องจากคำศัพท์ที่ใช้จะแตกต่างจากคำศัพท์ปกติ และการที่จะมาแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ได้นั้นผู้แปลก็จะต้องมีความเข้าใจความหมายของภาษาต้นฉบับเสียก่อน ปละศึกษาความหมายของคำศัพท์นั้นเมื่อเรารู้ความหมายแล้วเราก็สามารถเลือกใช้คำศัพท์ได้ถูกต้อง
การแปลเนื้อหานั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องยาก   แต่การแปลวรรณกรรมนั้นยากยิ่งกว่า เชื่อว่าหลายาคนคงจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเลือกใช้คำศัพท์ หากผู้แปลเข้าใจความหมายของต้นฉบับผิดก็จะแปลออกมาผิด  วรรณกรรมถือว่าเป็นที่รู้จักกันดีเพราะมีมาตั้งแต่โบราณ หลายคนก็รู้จักกันดีในนามของวรรณคดี งานเขียนประเภทนี้จัดเป็นงานเขียนประเภทบันเทิงคดีมุ่งให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิง
วรรณกรรมไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแต่ในประเทศไทย ประเทศอื่นๆเช่น ประเทศอังกฤษ อียิป ก็มี ซึ่งแต่ละเรื่องขึ้นอยู่กับลักษณะความเป็นอยู่ของประเทศนั้นๆ  บางครั้งคนส่วนหนึ่งจึงใช้วรรณกรรมในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ เพราะวรรณกรรมจะสอดแทรกวัฒนธรรม และประเพณีเอาไว้ด้วย
การแปลวรรณกรรมสิ่งที่ต้องคำนึงคือ ความหมายที่ยังคงเดิมของเนื้อเรื่องและที่สำคัญที่สุดคือการรักษาอัถรสของเรื่องไว้ ซึ่งผู้แปลจะต้องมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมากและงานที่จัดอยู่ในประเภทวรรณกรรมก็แบ่งออกเป็นหลายชนิดด้วยกัน เช่น นิยาย นวนิยาย เรื่องสั้น  นิทาน  บทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง
และงานทุกชิ้นนั้นก็จะมีหลักการแปล  อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันบ้างตามลักษณะของประเภทงาน อาทิเช่น นวนิยาย เป็นหนังสือชนิดหนึ่งที่ทั่วประเทศให้ความนิยมโดยเฉพาะกลุ่มของวัยรุ่น ที่ผู้แปลนวนิยายหรือบันเทิงคดีจะได้รับชื่อเสียงเป้นอย่างมาก ซึ่งผู้แปลต้องรักษาศิลปะในการใช้ภาษา ใช้ถ้อยคำที่สละสลวยไพเราะสอดคล้องกับต้นฉบับ
ในการแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม ชื่อเรื่องถือว่าเป็นสิ่งสำคัญของเรื่องเพราะมันเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเป็นสิ่งแรก (แต่งจึงต้องมีความพิถีพิถันในการตั้งชื่อเรื่องมากที่สุด ดังนั้นผู้แปลจะต้องแปลชื่อเรื่องอย่างพิถีพิถันด้วย โดยจะมีหลักการแปลอยู่ 4 แบบ นั้นก็คือ แบบที่ 1 ไม่แปล แบบที่ 2 แปลตรงตัว แบบที่ 3 แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน และแบบที่ 4 ตั้งชื่อใหม่โดยตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง
แบบที่ 1 ไม่แปล เป็นการใช้วิธีการถ่ายทอดเสียงหรือถ่ายทอดตามตัวอักษร(ทับศัพท์) เพราะชื่อเรื่องมีความน่าสนใจและเป็นที่รูจักกันแพร่หลายสาเหตุนี้ผู้แปลจึงเลือกที่จะไม่แปล แบบที่ 2 แปลตรงตัว เนื่องจากต้นฉบับมีความสมบูรณ์ ผู้แปลจึงอยากที่จะรักษาคำและความหมายไว้ด้วยภาษาที่ดีและกะทัดรัด
แบบที่ 3 แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน เมื่อเนื้อหาในฉบับมีความสมบูรณ์ไม่เพียงพอ เนื้อหาบางคำไม่ค่อยดึงดูดผู้แปลจึงเลือกใช้วิธีนี้ และแบบที่ 4 ตั้งชื่อใหม่โดยตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง รูปแบบนี้ผู้แปลจะต้องใช้ความเข้าใจกับชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องเป็นอย่างมาก  สามารถจับประเด็นและจุดประสงค์ของเรื่องได้ชัดเจนจริงสามารถตั้งชื่อเรื่องใหม่ได้
ต่อไปเป็นการแปลบทสนทนา เป็นสิ่งที่ยุ่งยากที่สุดเนื่องจากภาษาที่ใช้กันมีความหลากหลาย หลายระดับ เมื่อแปลจะต้องแปลตามระดับสภาพของสังคมของผู้พูดบางครั้งอาจจะใช้คำราชาศัพท์ ภาษาสุภาพ ภาษาที่เป็นทางการ และบางครั้งอาจจะใช้ภาษาระดับตลาด ซึ่งเต็มไปด้วยคำแสลง คำตัดสั้นๆ ที่มีการใช้กันจริงในชีวิตประจำวัน ถ้าหากผู้แปลไม่มีความชำนาญหรือคุ้นเคยกับภาษาเหล่านี้ก็จะยากและเป็นอุปสรรคในการแปล
ในการแปลบทสนทนาสิ่งที่ต้องคำนึงคือผู้แปลจะต้องแปลอย่างเป็นธรรมชาติแปลให้สอดคล้องกับระดับภาษาและฐานะของผู้พูด หากผู้แปล แปลคำต่อคำเมื่อสื่อออกมา ฟังแล้วก็จะดูแข็ง ไม่เป็นธรรมชาติ
การแปลบบรรยาย  เป็นบทความที่ใช้เล่าเรื่องราวเหตุการณ์จึงมักเลือกใช้ภาษาเขียนที่ขัดเกลาและแตกต่างกันหลายระดับ ทำให้เกิดความยุ่งยากในการแปลทีจะทำให้สอดคล้องกับต้นฉบับเดิม
                ภาษาที่ทำให้เกิดความยุ่งยากในบทบรรยายนั่นก็คือ ภาษาสังคม กับภาษาวรรณกรรมคดี ภาษาในสังคมมนุษย์มีการใช้ภาษาที่แตกต่างกัน การที่เราจะเรียนรู้ภาษาในสังคมนั้นได้จะต้องผ่านการฝึกฝนและความเคยชินเป็นเวลานาน และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้การใช้ภาษาต่างกันนั่นก็คือ อาชีพ วัย เพศ และสถานภาพทางสังคม สังคมจึงมีอิทธิพลต่อภาษาพูดเป็นอย่างมาก และเมื่อเวลาผ่านไปภาษาของคคนในสังคมนั้นก้ย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
ภาษาถิ่น  เป็นภาษาที่ใช้กันในวรรณกรรมประเภทต่างๆ เป็นภาษาหนึ่งที่มีความไพเราะและสละสลวย มีความถูกต้องตามความหมาย และไวยากรณ์ แต่ภาษานี้จะไม่นิยมใช้กันจริงในชีวิตประจำวันแต่นิยมใช้เขียนกันในวรรณกรรมเพื่อความไพเราะในการอ่าน แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนจะต้องรู้จักการเล่นความหมายของคำ  เสียงของคำ  เพื่อสร้างอารมณ์ในการอ่าน และเพื่อให้ได้อัถรสควรใช้สำนวนที่คมคายในทำนองสุภาษิตด้วย
ในการแปลวรรณกรรมนั้นควรยึดข้อปฏิบัติดังนี้ คือ ควรที่อ่านเรื่องราวให้เข้าใจก่อนหลังจากนั้นก็มาจับประเด็นที่สำคัญของเรื่อง และนำเนื้อเรื่องมาย่อ ควรที่จะทำผังสัมพันธ์ของตัวละครที่สำคัญในเนื้อเรื่อง หลังจากนั้นนำสำนวนต่างๆมาวิเคราะห์ ค้นหาความหมายหรือคำศัพท์ที่ไม่รู้จัก เพื่อให้เราเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งแปลได้ตรงความหมายไม่ผิดเพี้ยน
ในการแปลให้เป็นภาษาไทยควรใช้ถ้อยคำหรือสำนวนที่เรียบง่าย อ่านเข้าใจชัดเจน  และควรใช้ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติเพราะฟังแล้วดูสละสลวย ต่อไปเป็นการแปลละคร ซึ่งละครจัดเป็นวรรณกรรมการแสดงทุกคนรู้จักกันดี บางครั้งอาจจะมีบทเพลงหรือดนตรีประกอบ ถ้าหากว่าไม่มีสิ่งเหล่านี้เรียกว่าละครพูด
ในบทละครปัจจุบันหรือที่เรียกว่าบทละครสมัยใหม่ ส่วนมากจะเป็นบทเจรจาหรือพูด ในการเขียนบทละครพูดที่ดีไม่ควรใช้ถ้อยคำที่ยืดยาวแต่ควรใช้ถ้อยคำที่กะทัดรัด ชัดเจน  บทละครนั้นจะใช้บทบรรยายของตัวละคร เป็นคำบรรยายฉาก สถานที่ เวลา และการเปิดตัวละคร การแปลตัวละครจะดำเนินการเดียวกับการแปลเรื่องสั้น  นวนิยาย นิทาน   นิยาย โดยเริ่มจากการอ่านต้นฉบับอย่างเข้าใจ  และหาความหมายนำมาแปลด้วยภาษาที่เหมาะสม
นอกจากนี้การอ่านต้นฉบับตัวละคร การที่เราจะเข้าใจบทละครต่างๆได้ดี ควรที่จะอ่านหลายๆครั้ง เพื่อทำความเข้าใจควรจะตั้งคำถามในขณะที่อ่านด้วยว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด อย่างไร  หลังจากนั้นก็หาความหมายของคำและคำศัพท์ที่เราไม่รู้จักหรือคุ้นเคย และถ้าให้ดีควรที่จะศึกษาหาความรู้นอกเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นฉบับ
บทภาพยนตร์ การที่เราจะนำมาใช้ในงานแปลเราจะต้องมีการถ่ายถอดเป็นบทเขียนก่อน  หากไม่มีบทเขียนผู้แปลจะต้องฟังหรือดูจากฟิล์ม โดยมีจุดประสงค์ในการแปล 2 ประการคือ ผู้ฟังจะต้องได้ยินเสียงของนักแสดงพุดเป็นภาษาไทยก่อนที่จะนำบทแปลไปพากย์หรืออัดเสียงในฟิล์ม และผู้ฟังจะต้องได้ยินเสียงเดิมของนักแสดงและเห็นคำแปล ก่อนที่จะนำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์มดั้งเดิม
สังเกตได้ว่าบทภาพยนตร์นั้นก็เหมือนกับบทละคร ส่วนมากจะประกอบด้วยบทสนทนา แต่บทภาพยนตร์นั้นจะมีบทละครที่หลากหลายกว่า และจะมีลักษณะของตัวละครที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนการพูดจะเน้นความรวดเร็วซึ่งแตกต่างจากบทละครที่พูดช้าสิ่งเหลานี้จะมีผลต่อการแปลบท ซึ่งผู้แปลจะต้องแปลอย่างรวดเร็วทันกับบทบาทของการแสดง
ซึ่งจุดประสงค์ของการเขียนบทภาพยนตร์นั้นเขียนเพื่อนำไปแสดง เพื่อความฉับไวในการรักษาความต่อเนื่องของภาพและเนื้อหา สิ่งที่ผู้แปลต้องตระหนักถึงคือลักษณะเฉพาะของบทเพื่อป้องกันความผิดพลาดของเนื้อหาในเรื่อง ของเนื้อเรื่อง และการแปลภาพยนตร์ก็มีขั้นตอนเดียวกับการแปลละคร การ์ตูน ทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน โดยจะอ่านข้อความ ภาพ และฉากพร้อมกัน
 นิทานหรือ นิยาย เป็นบันเทิงคดีประเภทหนึ่งที่มีตั้งแต่สมัยโบราณมีการเล่ากันด้วยปากและวาจาเนื่องจากสมัยนั้นไม่มีการใช้ตัวอักษร ในการเล่าจะใช้วิธีที่ไม่ซับซ้อน ในการเล่านิทานหรือนิยายเพื่อนำคำสั่งสอนของศาสนาไปเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้ และเล่ากันเพื่อสร้างความสนุกสนานให้แก่เด็ก อีกทั้งยังฝึกจินตนาการให้ผู้ฟังอีกด้วย
ซึ่งตามหลักวรรณคดีสากลได้แบ่งประเภทนิทานไว้ดังนี้ Tale เป็นเรื่องเล่าที่แต่งขึ้นมา จะเล่าเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองในด้านของเนื้อหาจะดูเป็นธรรมชาติแต่ที่ดูแปลกตาก็คือวิธีเล่า Myth เป็นเรื่องเล่าที่มาตั้งแต่โบราณ เหตุการณ์จะเกี่ยวกับศาสนาหรือเทพเจ้า มีพลังอำนาจลึกลับของธรรมชาติ ซึ่งจะมุ่งให้อารมณ์เร้าร้อนและแสดงความเป็นเหตุเป็นผลให้ผู้ฟัง
Fable เป็นเรื่องสั้นที่มุ่งให้เห็นถึงสัจธรรม ส่วนใหญ่ตัวละครเป็นสัตว์หรือคน เช่น นิทานอิสป Fabliau เป็นเรื่องเล่าสั้นๆ ที่แต่งเป็นร้องกรอง สามารถนำมาร้องเพลงได้ Fairy Tales เป็นนิทานที่เกี่ยวกับเทพเจ้าที่ให้ความสนุกและสอนใจผู้ฟัง และ Legend เป้นเรื่องราวเกี่ยวกับนักบุญหรือวีรบุรุษท้องถิ่นที่มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง
ในการอ่านต้นฉบับนิทานนั้น ครั้งแรกก็จะอ่านกันอย่างรวดเร็วหลักจากนั้นก็ตั้งคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่หน เมื่อใด ทำไม เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของเนื้อเรื่องหลักจากนั้นก็เริ่มอ่านอีกครั้งอย่างช้าๆหาความหมายหรือคำศัพท์ที่ยังไม่รู้จักหรือเข้าใจ ส่วนมากในนิทานจะใช้คำศัพท์ระดับกลาง ตอนจบก็จะจบด้วยคำสอนส่วนชื่อเรื่องนั้นเราสามารถใช้วิธีแปลตรงตัวได้
เรื่องเล่าเป็นเรื่องที่สั้นๆ แฝงด้วยอารมณ์ขันมักปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร จึงมักใช้ถ้อยคำที่กะทัดรัด บางครั้งผู้เขียนเองก็จงใจทำให้กำกวมเพราะสามารถสร้างอารมณ์ขันได้ เรื่องเล่าจะประกอบด้วยตัวละคร 1-2 ตัว ซึ่งทั้งสองตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กันไม่สามารถตัดตัวใดตัวหนึ่งออกได้ และเหตุการณ์จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนจบ  การอ่านเรื่องใดๆก็ตามควรที่จะอ่านให้เข้าใจเสียก่อน การแปลเรื่องเล่าก็เช่นกันโดยอาศัย 4 ขั้นตอนดังนี้ในการทำความเข้าใจ คือ ใคร ทำอะไร ส่วนทางภาษาก็จะใช้ภาษาระดับกลางจะมีความกำกวมและอารมณ์ขัน
ส่วนการ์ตูนเป็นวรรณกรรมอย่างหนึ่งที่เด็กให้ความสนใจเป้นอย่างมากเพราะการ์ตูนให้ความสนุกสนานและเพลิดเพลิน อีกทั้งยังมีการสอดแทรกสาระลงไปในเนื้อหา นอกจากนี้การ์ตูนยังช่วยใช้เด็กรู้จักใช้จินตนาการ และสร้างสรรค์ ฝึกสังเกตและวิเคราะห์ อีกทั้งยังช่วยให้เด็กมีไหวพริบเพราะผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับ ความหมายและภาษา
บางครั้งการเรียนการสอนของครูสามารถนำการ์ตูนมาเป็นสื่อในการเรียนเพราะจะช่วยดึงดูดความสนใจเด็กๆได้ดี หลักการแปลการ์ตูนนั้นก็จะใช้คำที่สั้นและชัดเจน เข้าใจ สื่อความหมายได้ ส่วนภาษาที่ใช้นั้นก็มีด้วยกันหลายระดับขึ้นอยู่กับตัวละคร และผู้แปลก็ต้องรู้จักสังเกตภาษาของตัวละครด้วยว่าสอดคล้องกันหรือไม่
ซึ่งในการแปลการ์ตูนนั้นก็เหมือนกับการแปลเรื่องเล่า คือผู้แปลต้องอ่านเนื้อเรื่องให้เข้าใจก่อนโดยใช้ภาพในการทำความเข้าใจประกอบ หลังจากนั้นก็แปลโดยใช้ถ้อยคำสั้นๆและสุดท้ายการแปลกวีนิพนธ์ เป็นวรรณกรรมที่แต่งโดยร้อยกรอง และมีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ทั้งด้านจำนวนคำหรือพยางค์ เสียงที่หนัก-เบา และจังหวะ กวีนิพนธ์นี้มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณ สร้างขึ้นมาเพื่อให้ความรู้ สอนศีลธรรมและยังให้ความบันเทิงอีกด้วย
แต่ในปัจจุบันนั้นกวีนิพนธ์มีขนาดสั้นลง มุ่งแสดงความรู้สึกมากกว่าและที่สำคัญคือไม่เคร่งเรื่องฉันทลักษณ์ และเปิดโอกาสให้แสดงความรู้สึกอย่างกว้างขวาง เพราะเหตุนี้การแปลกวีนิพนธ์จะต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทีตั้งไว้ด้วย ซึ่งการแปลกวีนิพนธ์จะมีลักษณะการแปลที่แตกต่างกันออกไป เช่นการแปลร้อยกรอง แปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต
แต่ก็ได้มีปัญหาต่างๆที่ที่ตามมาในการแปลกวีนิพนธ์ นั้นก็คือความเข้าใจซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในการแปลงานประเภทต่างๆ ในการกำจัดปัญหานี้ผู้แปลเองจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิหลังของกวีอย่างเข้าใจถ่องแท้ ส่วนการเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน ก็เช่นกันผู้แปลจะต้องรู้จักใช้คำที่สั้นกะทัดรัด มีเสียงหนักเบาเหมาะกับจังหวะ และที่สำคัญคือต้องสัมผัสกันด้วย
ดังนั้นการแปลวรรณกรรมนั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะวรรณกรรมนั้นมีมากมายหลายประเภท การใช้สำนวนหรือคำศัพท์ก็ย่อมแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การที่เราจะแปลออกมาได้ดีจะต้องอ่านและทำความเข้าใจกับเนื้อหาให้ดีเสียก่อนหลายๆรอบ พยายามศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับงานแปลชิ้นนั้น เพื่อให้งานที่แปลออกมาดูสมบูรณ์ผู้อ่านสนุกกับเรื่องที่เราแปล(หลัการแปลวรรณกรรม)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com