วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การแปลบันเทิงคดี


สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
การแปลบันเทิงคดี

ในการเรียนรู้ครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการแปลบันเทิงคดี ขึ้นชื่อว่าบันเทิงคดีก็คงจะเป็นเรื่องที่สนุกเป็นงานบันเทิงคดีนั้นเป็นรูปแบบหนึ่งที่ว่าด้วยสารสนเทศหรือเหตุการณ์ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริง แต่เป็นจินตนาการหรือทฤษฎีบางส่วนหรือทั้งหมด กล่าวคือ เป็นงานที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้น แม้บันเทิงคดีจะใช้หมายถึงสาขาหลักของงานวรรณกรรมอย่างหนึ่ง แต่ยังอาจหมายถึง งานละคร ภาพยนตร์หรือดนตรีด้วย บันเทิงคดีตรงข้ามกับสารคดี ซึ่งว่าด้วยเหตุการณ์ คำอธิบาย การสังเกตที่เป็นจริง 
ในที่นี้บันเทิงคดีหมายถึงงานเขียนทุกประเภทที่ไม่อยู่ในประเภทของงานวิชาการและสารคดี และรวมไปถึงงานร้อยแก้วร้อยกรอง บันเทิงคดีนั้นมีหลายรูปแบบอาทิเช่น นิทาน นวนิยาย เรื่องสั้น บทเพลง บทกวี ฯลฯ ซึ่งในการเขียนงานทุกประเภทย่อมมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน และองค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดีประกอบด้วยสองส่วนคือ ในด้านเนื้อหาและภาษา
ในด้านของเนื้อหานั้นจะประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระทั้งที่เป็นจริงและไม่เป็นจริงบ้าง  อีกทั้งยังสอดแทรกทัศนะความรู้สึกหรือประสบการณ์จริงของผู้เขียนลงไปในงานเขียนอีกด้วย โดยจุดประสงค์ในการเขียนแบบบันเทิงคดีคือสร้างความบันเทิงให้กับผู้ที่อ่าน ซึ่งในบางครั้งอาจจะเพิ่มจินตนาการของผู้เขียนลงไปด้วยมีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือเพิ่มเติมเนื้อหาไปเพื่อเพิ่มความสนุกแก่เนื้อหา
ภาษาที่ใช้ในงานเขียนบันเทิงคดีนั้นก็จะแตกต่างจากงานเขียนประเภทอื่นเช่นกัน ผู้เรียนจะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมของเนื้อหา เช่นทางด้านคำศัพท์ หรือสำนวนเมื่อเราเข้าใจสิ่งเหล่านี้แล้วก็จะง่ายต่อการแปลมากยิ่งขึ้น และในการแปลบันเทิงคดีนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงเกี่ยวกับองค์ประกอบนั้นมีอยู่ 2 ประการคือ องค์ประกอบทางภาษา(language element) และองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา(non-language element)
องค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา(non-language element) เป็นองค์ประกอบทางด้านอารมณ์และท่วงทำนองของงานเขียน ซึ่งจะทำหน้าที่สะท้อนองค์ประกอบของภาษา ดั้งนั้นผู้เปลจึงต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับองค์ประกอบทางด้านภาษาให้มากเนื่องจากองค์ประกอบนี้มีความสำคัญทางด้านการแปล หากผู้แปลเลือกใช้ภาษาผิด ก็จะทำให้ความหมายที่สื่อออกมาผิดเช่นกัน
ภาษานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับงานเขียนและงานแปล เนื่องจากสังคมในโลกของเรามีความแตกต่างกันมากไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัฒนธรรม การเป็นอยู่ หรือแม้แต่ภาษาเองก็เช่นกัน เมื่อกล่าวถึงองค์ประกอบทางด้านภาษา เป็นสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวของกับงานแปล สำหรับงานแปลบันเทิงคดีองค์ประกอบที่เกี่ยวกับภาษานั้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม นั้นก็คือ การใช้สรรพนามและคำเรียกบุคคล(form of address) การใช้คำที่มีความหมายแฝง(connotation) และภาษาเฉพาะวรรณกรรม(figurative language)
 เมื่อกล่าวถึงภาษาที่มีความหมายแฝง(connotation) ในวรรณกรรมจะมีการใช้กันเยอะมาก เนื่องจากคำศัพท์ทุกคำย่อมมีความหมายที่ตรงตัวและความหมายแฝงอยู่ ตัวอย่างเช่น รถไฟ ความหมายตรงตัวคือ ยานพาหนะชนิดหนึ่ง ส่วนความหมายแฝงคือ ชายหรือหญิงสองคนที่หมายปองบุคคลเดียวกัน  ไก่ ความหมายตรงตัว คือ สัตว์ปีกชนิดหนึ่ง ส่วนความหมายแฝงคือหญิงสาวผู้อ่อนต่อโลก
ทุกๆงานแปลผู้แปลจะต้องจะต้องใส่ใจโดยเฉพาะทางด้าน ในการแปลงานบันเทิงก็เช่นกันผู้แปลจะต้องเรียนรู้ทั้งความหมายที่ตรงตัวและความหมายแฝงให้กระจ่างแจ้ง โดยอาศัยความสามารถ ปฏิภาณ ไหวพริบ จินตนาการ รวมทั้งจิตวิญญาณในการตัดสินใจว่าคำศัพท์ในงานแปลนั้นๆมีความหมายเช่นไร ในแปลที่ดีผู้แปลจะต้องมีความอดทนรู้จักค้นคว้าหาความหมายของคำศัพท์ทุกคำเพื่อความแม่นยำในการแปล
และสิ่งที่เน้นย้ำเสมอไม่ว่าจะเป็นงานแปลประเภทใด ก่อนที่ผู้แปลจะทำการแปลก็ควรที่จะอ่านต้นฉบับให้เข้าใจเสียก่อนเพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นก็ควรจะอ่านหลายๆรอบ และในการแปลผู้แปลก็ควรจะเลือกใช้พจนานุกรม 2 ภาษา เนื่องจากผู้ที่แปลสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้หลากหลายและควรจะเลือกใช้คำที่พจนานุกรมทั้งสองภาษามีการใช้เหมือนกันจะทำให้งานแปลของเรามีความผิดพลาดน้อยลง
นอกจากนี้ภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์ การใช้ภาษาเช่นนี้ผู้แปลจะต้องมีความรอบรู้เป็นอย่างมากสามารถนำคำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ในการแปลงานบันเทิงคดีจะเลือกใช้รูปแบบเฉพาะที่เรียกว่าโวหารภาพพจน์ ในการใช้ภาษาของกลุ่มนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางด้านต่างๆ โดยถ่ายทอดมาทางภาษา แต่ละชาติย่อมมีความแต่อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมอย่างที่รู้กันดีว่าแต่ละชาติย่อมมีความแตกต่างกัน
การแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ผู้แปลจะต้องเรียนรู้และฝึกฝนอย่างบ่อยครั้ง โดยต้องเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโวหารภาพพจน์ นั่นก็คือโวหารอุปมาอุปมัย โวหารนี้เป็นที่รู้จักกันดี เป็นกลวิธีหนึ่งซึ่งเขียนเพื่อเปรียบเทียบเพื่อชี้แจงคำอุปมาอุปไมย หรือคำเปรียบเทียบเป็นคำในภาษาไทยที่สั้น กะทัดรัด และยังนิยมพูดกันในชีวิตประจำวันเป็นคำพูดในเชิงต่อว่าหรือเปรียบเปรย (ทั้งในทางดีทางร้าย) โดยผู้พูดยกเอาสิ่งแวดล้อมมาเทียบเคียงให้ผู้ฟังเห็นจริงไปตามนั้นซึ่งมักจะมีคำว่า เป็น เหมือน อย่าง เท่า ราวกับ ทำหน้าที่เป็นคำเชื่อมหรือคำวลีอยู่ในประโยค
ซึ่งในภาษาอังกฤษและภาษาไทยมักใช้ลักษณะเฉพาะของภาษาชนิดนี้อยู่ชัดเจน  มีไวยากรณ์ที่ชัดเจนตายตัว บางครั้งอาจเป็นเหตุการณ์ที่สมมติขึ้น ผู้แปลจึงต้องฝึกการสังเกตและวิเคราะห์ให้ดีว่าใช้โวหารอุปมาอุปมัยแบบไหน ถ้าหากเป็นเหตุการณ์ที่สมมติก็จะใช้เงื่อนไขข้อที่ 1 (conditional sentence type I) แต่ถ้าหากการเปรียบเทียบนั้นมีการสมมติที่ไม่สามารถเกิดขึ้นหรือเป็นจริงได้ ผู้แปลก็จะใช้โครงสร้างประโยคเงื่อนไขข้อที่ 2 (conditional sentence type II)
                รูปแบบของโวหารก็เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีการเปรียบเทียบระหว่างความหมายของสองสิ่งโดยการนำความหมายหรือไม่เหมือนมาเปรียบเทียบ  ดังนั้นการแปลโวหารนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้แปลจะต้องคำนึงถึงความเป็นจริงเกี่ยวกับทางด้านของภาษา และผู้แปลก็ต้องรู้จักปรับโวหารให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของภาษาแปลโดยยึดหลักการดังต่อไปนี้ นั้นก็คือ
                ผู้แปลจะต้องแปลโวหารอุปมาอุปมัยตามตัวอักษรเมื่อรูปแบบของภาษาสอดคล้องกันและมีความหมายเหมือนกันทั้ง 2 ภาษา หากอุปมาอุปมัยใดไม่สำคัญต่อเนื้อหาก็ตัดทิ้งไปไม่ต้องแปลให้เสียเวลา เมื่องานเขียนเป็น authoritative text เมื่อแปลก็ควรใส่หมายเหตุเอาไว้เพื่อข้อผิดพลาด หรือสามารถอธิบายความหมายเชิงอรรถ และผู้เขียนอาจใช้สำนวนโวหารที่เขียนคิดขึ้นใหม่ยังไม่มีการบัญญัติไว้ในวัฒนธรรมการใช้ภาษามาก่อน
                อุปมาอุปมัยนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเปรียบเทียบ แต่ผู้ที่เรียนแปลนั้นหากต้องการให้ตัวเองเก่งมายิ่งขึ้นก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์โดยใช้พจนานุกรมสองภาษามาเป็นตัวช่วยในการแปล ดังนั้นการแปลบันเทิงคดีหรือการแปลงานใดๆก็ตามผู้แปลจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์รวมถึงข้อเท็จจริง และจินตนาการหรือทฤษฎีบางส่วนหรือทั้งหมด เกี่ยวกับเรื่องที่จะแปลและที่สำคัญที่สุดคือผู้แปลจะต้องมั่นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศัพท์นั้นๆในงานแปล (การแปลบันเทิงคดี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com