วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
การใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ

จากกการเรียนรู้ในห้องเรียนดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ  ในโลกนี้ทุกๆย่อมมีภาษาเป็นของตัวเองทุกๆภาษาที่เกิดขึ้นย่อมมีความหมายในตัวมันเอง และความหมายนั้นก็ย่อมแตกต่างกันไป ภาษาเป็นกริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
ภาษาที่เป็นธรรมชาติ เป็นภาษาที่เกิดขึ้นจริงตามชีวิตจริง ทั้งด้านการฟัง พูดและ อ่าน เพื่อให้มีความพร้อมในด้านการใช้ภาษาและเป็นแบบธรรมชาติที่คนเราใช้ภาษาจริงในชีวิตประจำวัน  การใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาตินั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแปลบทความภาษาอังกฤษ ซึ่งเราเป็นคนไทยเนื้อหาที่แปลก็ต้องแปลเป็นเป็นภาษาไทย ภาษาไทยที่เป็นภาษาธรรมชาติ ก็จะมีความหมายว่า ภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปนำมาใช้จริงในสังคมไทย ทำให้ผู้ที่อ่านง่ายแปลสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย และไม่สับสนกับความหมายของการใช้คำ
นอกจากการแปลจะต้องคำนึงถึงการใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติแล้ว ก็ต้องยังคำนึงถึงเหตุผลอื่นๆอีกหลายๆอย่าง นั้นคือ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร สิ่งเหล่านี้ตามหลักภาษาไทยเป็นเรื่องที่น่ากังวนเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากเราไม่รู้จัก หรือศึกษาสิ่งเหล่านี้ดีแล้วก็จะทำให้กระบวนการแปลของเราเกิดปัญญา แปลออกมามีความสับสน เนื้อหาผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม เมื่อสื่อออกมาก็จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาผิดไปจากเดิม
ประโยคต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาษาใด เกิดขึ้นได้นั้นก็ต้องประกอบด้วย คำ ซึ่งเป็นหน่วยของภาษาที่สื่อถึงความหมายซึ่งประกอบด้วยพยางค์หนึ่งพยางค์หรือมากกว่า ปกติแล้วในแต่ละคำจะมีรากศัพท์ของคำแสดงถึงความหมายและที่มาของคำนั้น โดยการนำคำหลายคำมาประกอบกันจะทำให้เกิดวลีหรือประโยคซึ่งใช้สื่อความหมายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไป และแต่ละคำนั้น ก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันด้วยบางคำจะมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง หรือบางครั้งอาจจะมีความหมายเชิงเปรียบเทียบ
ซึ่งความหมายของคำนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามยุสมัย บางครั้งความหมายอาจจะตรงข้ามกันเลยก็อาจจะเป็นได้ เช่นคำว่า กู เมื่อก่อนจะใช้พูดกันทั่วไป แต่ถ้าหากพูดกันในปัจจุบันก็ถือว่าเป็นคำที่หยาบ อาจจะใช้กันในกลุ่มเพื่อนสนิท หรือบางครั้งเมื่อก่อนอาจมีความหมายที่ไม่ดีแต่ในปัจจุบันความหมายดี เช่น เก่งบรรลัย ซึ่งมีความหมายว่า เก่งมากหรือ ใจดีเป็นบ้า มีความหมายว่า ใจดีมาก
                นอกจากนี้ยังมีคำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยให้คำเป็นประโยคที่สมบูรณ์ คำกริยาเป็นคำที่ใช้บ่งบอกถึงการกระทำ การปรากฏ หรือสถานะของสิ่งที่กล่าวถึง คำกริยาอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาษา ในที่นี้เป็นการสร้างคำกริยา เป็นการเสริมท้ายคำกริยาด้วยคำกริยานั้นเอง มันไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากเพราะการทำเช่นนี้จะทำให้ความหมายนั้นชัดเจนขึ้น โดยการนำคำกริยาเหล่านี้มาเติมส่วนท้าย เช่น ขึ้น ลง ไป มา เป็นความหมายบอกประมาณหรือทิศทางนั้นเอง
                บางครั้งมีคำนำคำหลายๆคำมาเข้าคู่กัน การทำเช่นนี้จะทำให้เกิดความหมายใหม่หรือความหมายนั้นอาจจะคงเดิมอยู่ การทำเช่นนี้เรียกว่าการเข้าคู่คำ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายแบบเช่น คู่คำพ้องคำความหมาย คำเหล่านนั้นจะเป็นคำภาษาเดียวกัน ความหมายเดียวกัน หรือแม้แต่ภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศ เช่น ทรัพย์สิน (สันสกฤษ และจีน) สุขสบาย (บาลี และบาลี)
                คู่คำที่มีความหมายตรงกันข้าม ส่วนมากเมื่อนำคำเหล่านี้มาเข้ากันแล้วก็จะเกิดความหมายใหม่ขึ้นมา เช่น คนมีคนจน หมายถึง ทุกๆ คน  งานหนักงานเบา หมายถึง งานทุกประเภท นอกจากนี้ยังมีคู่คำที่มีความหมายต่างกัน สิ่งที่ได้ก็จะได้ความหมายใหม่แต่อย่างไรก็ตามความหมายก็ยังคงเช่นเดิมอยู่ เช่น ลูกเมีย หมายถึง ครอบครัว หรือรถไฟ หมายถึงรถที่เดินได้ด้วยพลังงานจากไฟหรือความร้อน
                นอกจากนี้ยังมีทักษะการแปลอักอย่างหนึ่งซึ่งต้องใช้การแปลขั้นสูงในการแปล ผู้แปลจะต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาส่วนนี้เป็นอย่างมาก นั้นก็คือการแปลสำนวนโวหารซึ่งคำกล่าวหรือถ้อยคำคมคายสั้นๆ ที่ผูกเข้าเป็นประโยค และมีความหมายไม่ตรงตามตัว เช่น เขียนเสือให้วัวกลัว หมายถึง ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญ
                การใช้โวหารนั้นมีด้วยกันหลายแบบความหมายไม่ชัดเจน หรือไม่ตรงตัว ทำให้เกิดการเข้าใจผิด ถ้าเราศึกษาสิ่งเหล่านี้บ่อยครั้งก็จะทำให้เรารู้จักหรือคุ้นเคยกับโวหารต่างๆ ในใช้โวหารนั้นถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ยากแต่ก็ทำให้บทความ หรือ เนื้อหาในวรรณกรรมนั้นมีความสนุก เพิ่มความบันเทิงให้กับผู้อ่าน แต่เมื่อใดที่ผู้อ่านไม่เข้าใจสิ่งที่ตามมานั้นก็คือ การเข้าใจเนื้อหาที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
                บางครั้งสำนวนก็จะมีการใช้คำซ้ำ แต่จะต้องมีรูปและความหมายที่เหมือนกันในการใช้คำซ้ำนั้นจะทำให้เกิดความไพเราะ รูปคำของเสียงที่สั้นก็จะยาวเมื่อฟังแล้วก็สละสลวยขึ้น เพื่อให้คำมีความหมายอ่อนลง แต่จะใช้ในรูปแบบของประโยคคำสั่งเป็นการทำให้ประโยคคำสั่งดูเหมือนเป็นประโยคขอร้อง หรืออาจจะใช้เมื่อตัวละครตัวนั้นมีอาการที่เกิดความไม่แน่ใจกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดสักอย่าง
                เพื่อให้ได้คำใหม่ๆใช้ ทำให้เกิดคำที่หลากหลายไม่เน่าเบื่อ และดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่น ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึงไม่ลอกเลียนแบบใครคิด ขึ้นเองได้ และเพื่อแสดงว่ามีจำนวนมาก ปริมาณมาก หรือเป็นพหูพจน์  เช่น เด็กๆ มากินขนม แต่อย่างไรก็ตามการใช้คำซ้ำนั้นก็มีข้อเสียเช่นกัน ซึ่งข้อเสียนั้นก็คือการใช้คำที่ฟุ่มเฟือย
                และโวหารที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือโวหารภาพพจน์เป็นโวหารที่ผู้แปลต้องตระหนักถึงความสำคัญด้วยเช่นกัน เพราะงานเขียนที่เป็นกวีภาพพจน์นั้นเป็นงานที่มีความสลับซับซ้อน ผู้แปลจะต้องอาศัยทักษะความรู้เป็นอย่างมาก อีกทั้งผู้อ่านเองก็เช่นกันถ้าหากว่าไม่เข้าใจเกี่ยวกับโวหารก็จะทำให้ไม่เข้าใจและตามไม่ทันในส่วนของเนื้อหา
                ทุกๆชาติก็จะมีโวหารที่แตกต่างกัน และมีด้วยกันหลายประเภท นั้นคือ โวหารอุปมา การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มี ความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า      " เหมือน "     โดยต้องการที่จะชี้แจง หรืออธิบาย พูดถึง หรือเพิ่มความสวยงามให้กับสิ่งของนั้นๆ รูปแบบของโวหารจะสั้นๆ เป็นประโยค หรือ โคลงกลอน
                อุปลักษณ์ ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัย  ให้เข้าใจเอาเอง  ที่สำคัญ  อุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา การเปรียบเทียบเช่นนี้จะแสดงถึงความเก่งของกวี จะใช้การใช้คำพื้นๆซึ่งนำไปสู่ความหมายใหม่ที่น่าตื่นเต้นกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ตามก็ยังสังเกตได้ว่ามีร่องรอยของความหมายเดิมยังคงเหลืออยู่
                โวหารเย้ยหยัน เป็นการใช้คำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อเหน็บแนมหรือชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่อง โดยการใช้โวหารนี้ผู้แต่งจะต้องไม่อวดฉลาดหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือแกล้งโง่นั้นเอง จะเป็นใช้คำพูดที่ถากถางเหน็บแนมตนเอง  ต่อมาเป็นโวหารขัดแย้งคำจะมีความหมายตรงข้ามกันต่อก็ยังคงมีความสมดุลกัน เช่น คนสูงตำหนิตัวเอง คนต่ำตำหนิผู้อื่น โวหารชนิดนี้เราสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า Paradox ซึ่งจะเป็นการขัดแย้งกับความจริง ความคิด หรือความเชื่อ ทั่วไป
                โวหารที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด โวหารชนนิดนี้จะเลือกเอาแต่คุณสมบัติที่โดดเด่นของสิ่งต่างๆยกออกมากล่าวให้เห็นกันตรงๆไม่ว่าจะเป็นของใช้หรือสิ่งของต่างๆ บางครั้งก็มีการนำคุณสมบัติที่โดดเด่นเหล่านี้มาเป็นสัญญาลักษณ์ จนกลายเป็นสามานยนาม ต่อมา โวหารบุคคลาธิษฐาน เป็นการนำสิ่งต่างๆไม่ว่าจะมีชีวิตหรือ ไม่มีชีวิต มีพูดให้เป็นเหมือนบุคคล และบางโวหารก็จะเน้นความเห็นที่สำคัญ มีการแสดงอารมณ์ที่ชัดเจน และรุนแรง และต้องมีการอธิบายข้อเท็จจริง โวหารชนิดนี้เรียกว่าโวหารกล่าวเกินจริง
                จากที่กล่าวมาก็จะเห็นว่าโวหารมีด้วยกันหลายชนิดสามรถเลือกเขียนได้ตามความต้องการของผู้เขียน ซึ่งลักษณะของโวหารที่ดีนั้น ผู้เขียนต้องคำนึงถึง การใช้ภาษาที่ถูกหลัก  กล่าวคือ จะต้องไม่ขัดกับหลักไวยากรณ์ ถ้าเราเขียนผิดหลักก็จะทำให้ความหมายนั้นผิดเพี้ยนไป การสื่อความหมายที่ผิดนั้นเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก เพราะจะทำให้ผู้ที่อ่านเกิดความสับสนและเข้าใจเนื้อหาผิด
                การใช้คำไม่กำกวม สำนวน คำ ประโยค จะต้องมีความชัดเจน เพราะจะทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง ต่อมาก็ความมีชีวิตชีวา จะทำให้เนื้อหาน่าอ่าน สนุกชวนให้ผู้อ่านอยากที่จะอ่าน ไม่เนิบนาบ เฉื่อยชา ยืดยาด ยิ่งไปกว่านั้นความสมเหตุสมผล ของเนื้อหาก็ถือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้เนื้อหาที่อ่านนั้นมีความน่าเชื่อถือ ไม่สร้างความหลงผิดให้แก่ผู้ที่อ่าน
                และ การใช้คำพูดในเนื้อหาจะต้องมีความคมคายเฉียบแหลม หมายถึงจะต้องเป็นคำพูดที่หนักแน่น มีการใช้คำที่ไม่ฟุ่มเฟือยแต่สามารถแฟงเนื้อหาข้อคิดในเนื้อเรื่องได้ ส่วนมากผู้เขียนจึงเลือกใช้สำนวนสุภาษิต คำพังเพยนั้นเอง
ดังนั้นการใช้ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นเป็นเรื่องที่ผู้เขียน และผู้แปลจะต้องคำนึงถึง เนื่องจากในโลกนี้ทุกๆย่อมมีภาษาเป็นของตัวเองทุกๆภาษาที่เกิดขึ้นย่อมมีความหมายในตัวมันเองผู้แปลจะต้องมั่นศึกษาหาความรู้รอบๆตัวจนเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน นอกจากนี้ภาษานี้เป็นแบบธรรมชาติที่คนเราใช้ภาษาจริงในชีวิตประจำวัน เมื่อนำมาแปลแล้วก็จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจดียิ่งขึ้น และสนุกกับเนื้อหาอีกด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com