วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน


สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน

ในการเรียนรู้ครั้งนี้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ซึ่งการถอดตัวอักษรเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทักษะความจำ และความแม่นยำ  ซึ่งเป็นการถ่ายทอดจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการทับศัพท์ตัวอักษร  ในที่นี้เป็นเรื่องการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งจำนวนตัวอักษรไม่ว่าจะเป็นของชาติใดก็จะมีเสียงที่ใกล้เคียงกันสามารถนำมาเทียบเคียงกันได้
ในการแปลภาษาไม่ว่าจะเป็นการแปลด้วยรูปแบบใดสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือต้องรักษาความหมายและโครงสร้างของต้นฉบับไว้ให้มากที่สุด เน้นความถูกต้องและความแม่นยำ และในการถ่ายถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เป็นการนำภาษาหนึ่งมาเขียนด้วยตัวอักษรอีกภาษาหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้อ่านคำไทยในตัวอักษรโรมันได้ใกล้เคียงกับคำเดิม
การถ่ายทอดเสียงของคำเดิมให้ใกล้เคียงมากที่สุดซึ่งการถ่ายทอดตัวอักษรจะมีบทบาทในการแปลทุกรูปแบบนั่นก็คือจะใช้คำนิยามหรือใช้คำทับศัพท์กับคำที่อธิบายบอกลักษณะตรงกับคำเดิมกับคำที่ใช้แทนชื่อเฉพาะสิ่งของต่างๆ เช่น ชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สานที่ และคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม
และในการแปลด้วยตัวอักษรของภาษาต้นฉบับแปล สิ่งที่ผู้แปลต้องคำนึงถึงคือหลักการปฏิบัติในการถ่ายทอดเสียงของคำนั่นก็คือเราต้องรู้ว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไร หลังจากนั้นก็หาตัวอักษรในต้นฉบับแปลมาเทียบเสียงว่าเสียงนั้นคล้ายกับตัวอักษรใด และภาษาทุกภาษาส่วนมากตัวอักษรกับพยัญชนะจะมีเสียงตรงกันเป็นส่วนมาก ทำให้ผู้แปลง่ายต่อการเทียบเสียงตัวอักษร
แต่ปัญหาที่เจอคือเสียงบางเสียงไม่มีใช้ในอีกภาษาหนึ่งทำให้ไม่สามารถเทียบเสียงกันได้ ที่เห็นได้ชัดคือในภาษาไทยนั้นมีวรรณยุกต์แต่ภาษาอังกฤษไม่มี แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาในการเทียบเสียงมากหนักเพราะเขาได้ตัดการเทียบเสียงหนักเบาออก และที่สำคัญขณะที่เทียบเสียงตัวอักษรแล้วได้เสียงใดเสียงหนึ่งแล้วควรที่จะใช้ตัวอักษรนั้นตลอดไป ไม่ควรเปลี่ยนไปมา
และยังมีบางครั้งที่มีการยืมคำศัพท์มาใช้โดยการเขียนเป็นภาษาฉบับแปล ควรที่จะใส่วงเล็บ ()  หาคำที่ใช้ยังไม่รุจักกันแพร่หลาย จะเห็นได้ว่าพยัญชนะของไทยนั้นจะมีมากกว่าอักษรในภาษาอังกฤษทำให้อักษรหลายตัวต้องใช้คำศัพท์ที่ซ้ำกันเนื่องจากเสียงเหมือนกัน เช่น ผ =[ph-], ถ ท ธ ฐ ฑ ฒ = [th-] แต่การเทียบอักษรอังกฤษนั้นต้นพยางค์กับท้ายพยางค์ ก็จะใช้ตัวอักษรที่ต่างกัน เช่น ย ญ ต้นพยางค์ [y-] และท้ายพยางค์คือ [-n] นอกจากนี้ก็ยังมีสระ สระในภาษาอังกฤษที่รู้จักกันดีก็มีอยู่ 5 ตัว คือ a e i o u แต่ในที่ได้มีการผสมเสียงสระ ทำให้เกิดเสียงสระในภาษาอังกฤษเหมือนกับภาษาไทย เช่น เอะ, แอะ = ae (แสวง) เอือะ, เอือ =uea (สัญฉวี สายยิง.หลัการแปล.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2538)
ดังนั้นในการเรียนรู้เกี่ยวกับการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันจะต้องคำนึงถึงคือต้องรักษาความหมายและโครงสร้างของต้นฉบับไว้ให้มากที่สุด ซึ่งจำนวนตัวอักษรของไทยไม่เท่ากับอักษรของโรมันแต่ก็จะมีเสียงที่ใกล้เคียงกัน ฉะนั้นจึงสามารถนำมาเทียบเคียงกันได้ ทำให้เกิดการแปลเช่นนี้มาจนถึงปัจจุบัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com