วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

text types


สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
text types

ในการเรียนรู้เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2559 ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Text Types ซึ่งเป็นเรื่องประเภทของงานเขียน อย่างที่เรารู้จักกันดีว่างานเขียนนั้นมีด้วยกันหลายประเภท หลายชนิด  บางทีเราอาจจะรู้จักงานเขียนนั้นดีว่าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ใด เพราะงานเขียนทุกชิ้นงานนั้นถูกออกแบบมาในจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน
บางประเภทของงานเขียนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ความรู้ รู้ทันสถานการณ์ต่างๆ หรือแม้แต่เพื่อความบันเทิงก็เช่นกัน ซึ่งในที่นี้ประเภทของงานเขียนถูกแบ่งออกเป็น Descriptive writing, Narrative writing, Recount, Discussion, Exposition or Argument, Procedure, Information report, Explanation, personal response ประเภทงานเขียนต่างๆเหล่านี้จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน
Descriptive writing เป็นการเขียนบรรยาย หรือเชิงพรรณนา ซึ่งบรรยายให้ผู้ที่อ่านได้รู้สึกเหมือนได้สัมผัส มองเห็น ได้กลิ่น ได้ยิน หรือแม้แต่ได้รสชาติ  เป็นการสร้างความสนใจให้กับผู้อ่านด้วยวิธีหนึ่ง หัวข้อในการเขียนนั้นต้องสร้างโดยใช้ความหมายและเรื่องราวที่แตกต่างกัน และใช้ข้อมูลเป็นตัวช่วยในงานอธิบายและวิเคราะห์งานเขียน  โดยส่วนมากงานเขียนประเภทนี้จะใช้ present tense ในการบอกความรู้สึก
Narrative writing เป็นการเขียนเล่าเรื่อง ส่วนมากจะเรื่องราวรอบๆตัวผู้เขียนที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงมาเขียน รูปแบบการเขียนจะเป็นบทสนทนา และเน้นประเด็นตามความเห็นของผู้เขียน สามารถใส่บทสนทนาเพื่อใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้สนทนาได้ดีขึ้น โดยหัวข้อจะเกี่ยวกับเรื่องชีวิตประจำวันหรือสิ่งที่เกิดขึ้นปกติและไม่ปกติ
เรื่องราวจะบอกเล่าเป็นลำดับว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนหลังโดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นจนไปถึงจุดจบของเรื่อง หรืออาจจะเริ่มจากจุดสิ้นสุดมาหาจุดเริ่มต้นของเรื่องเพื่อสร้างความสนใจ ควรใส่ความสำคัญของสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นคน  สถานที่ เหตุการณ์ ใช้คำคุณศัพท์และกริยาเพื่อขยายความและสร้างให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการถึงรายละเอียดของเรื่องราว จุดสำคัญของงานเขียนประเภทนี้ต้องให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องและรู้สึกอยากจินตนาการเรื่องราวต่อไป
ในการเขียนส่วนมากจะใช้ past tense และจะใช้บุรุษที่  กับ 3 (I, he, she, they, them) อาจจะใช้ present tense ในบางครั้ง Recount เป็นการเขียนบอกเรื่องราวตัวเอง(telling story) เป็นการ paragraph  แบบเปิด จะคล้ายๆกับการเขียนแบบ Narrative writing แต่จะใช้บุรุษที่ 1(I, me)
Discussion เป็นการแลกเปลี่ยนอภิปราย ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจริงในโลกตะวันตก มีการกล่าวซ้ำ และกล่าวอ้างเกินกว่าสิ่งที่พบการศึกษา มุ่งความเห็นและให้คำอธิบายต่อผลการศึกษาเป็นหลัก Exposition or Argument เป็นการเขียนเรียงความโต้เถียง/ขัดแย้ง ต้องแสดงเหตุผลในสองด้านเพื่อสนับสนุนด้านหนึ่งและอีกด้านหนึ่งเป็นข้อโต้แย้ง โดยที่ทั้ง 2ด้านต้องแสดงเหตุผลโต้แย้งเพื่อสนับสนุนเหตุผลในการโต้แย้ง
แต่อย่างไรก็ตามก็ควรมีความสมดุลในเหตุและผลที่จะนำเสนอโดยต้องอาศัยข้อมูลทางสถิติประกอบ สิ่งสำคัญคือข้อมูลที่สนับสนุนจะต้องน่าเชื่อถือ เป็นเรื่องจริงสามมารถพิสูจน์ได้ นอกจากนี้งานเขียนประเภทนี้ต้องแสดงจุดยืนถึงประเด็นเหตุผลอย่างชัดเจนว่าทำไมคุณถึงไม่เห็นด้วย
Procedure เป็นการเขียนที่เน้นการดำเนินงาน ที่เป็นขั้นตอน โดยใช้คำเชื่อม (Connecting words) ในการเขียน ตัวอย่างเช่น  before, first, next, as soon as.
Information report เป็นการเขียนรายงานข้อมูลตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นรายงานทางวิชาการมักใช้  present tense ในการเขียน เป็นการบรรยายโดยใช้บุรุษที่ 3 (he, she,it)
Explanation เป็นการเขียนอธิบายใช้ตาราง หรือ mind map ในการเขียนจะมีมากกว่าหนึ่ง paragraph และจะใช้ข้อมูลจริงโดยมีตัวอย่างประกอบ และการเขียนก็จะใช้ present tense มักจะใช้คำเชื่อมระหว่างช่วงเวลาหรือเหตุและผล ซึ่งงานเขียนประเภทนี้จะใช้เปรียบเทียบหรือหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของงาน
และงานเขียนประเภทสุดท้ายคือ Personal response เป็นการเขียนเพื่อบอกความคิดเห็น ในการเขียนจะใช้ present tense นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการเขียนอักมากมาย คือ personal letter, the envelope, the formal letter, letter to the editor, postcards, invitations, diary extract, interviews/dialogues, script writing, a newspaper report, feature article, editorial, pamphiet, advertising, electronic communication, summary/précis writing และ poetry writing
รูปแบบการเขียนเหล่านี้ส่วนมากก็จะเป็นที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เช่น การเขียน the personal letter เป็นการเขียนจดหมายเป็น paragraph ที่สั้น มีการสรุปหลังจากที่เขียนจบ และหลังจากจบการเขียนก็จะลงชื่อผู้เขียนด้วย invitations เป็นจดหมายเชิญซึ่งในเนื้อหาก็จะประกอบด้วย when, where ,dress, reply date and contact details เช่นให้ผู้ที่ได้รับบัตรเชิญมีความเข้าใจตรงตามที่ผู้ให้ต้องการ
ส่วน Diary extract ก็เป็นหนึ่งในรูปแบบการเขียนที่หลายๆคนเขียนกันมากที่สุดมักใช้บุรุษที่ 1 ในการเขียนเล่าเหตุการณ์ ส่วนมากจะเป็นเหตุการณ์ที่ผู้เขียนพบเจอด้วยตนเอง และทุกครั้งที่มีการเขียนก็มักจะมีวันที่กำกับอยู่ และการเขียนก็จะใช้ past tense ในการเขียนเล่าบรรยายเหตุการณ์
A newspaper report งานเขียนรูปแบบนี้เป็นงานเขียนเกี่ยวกับข่าวซึ่งถูกแบ่งย่อยออกไปอีกหลายๆประเภท เช่น Feature article เป็นรุ)แบบการเขียนบทความสารคดี Pamphiet คือรูปแบบการเขียนแบบแผ่นปลิว/แผ่นพับ โดยเนื้อหาจะให้ความหมายที่ชัดเจน ส่วน Advertising ก็เป็นการเขียนโฆษณา เป็นการเขียนโปรโมทสินค้า โดยใช้เหตูผลและแสดงความคิดเห็น
จากประเภทและรูปแบบการเขียนต่างๆจะเห็นได้ว่าแต่ละประเภทมีกระบวนการเขียนที่แตกต่างกัน ซึ่งการเขียนนั้นจำเป็นต้องใช้ทักษะการคิดที่สลับซับซ้อนที่ผู้เขียนพยายามสื่อออกมาเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และการเขียนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากมายเพราะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มนุษย์ใช้ในการบันทึกความทรงจำ สื่อสารความคิด นอกจากนี้งานเขียนยังสมารถพัฒนาความคิดของคนในสังคมได้
ในการเขียนผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงหลักการเขียนเบื้องต้น นั่นก็คือจุดประสงค์ที่แน่นอนของงานประเภทนั้นๆ และที่สำคัญผู้เขียนจะต้องสิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้อ่านว่าอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับอะไร มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านมากน้อยเพียงใด เละต้องใช้ภาษาเช่นไรในการเขียน ดังนั้นในการเขียนงานทุกครั้งผู้เขียนจึงต้องคำนึงถึงผู้อ่านทุกครั้งก่อนการเขียน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com