วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การถ่ายทอดตัวอักษร


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
การถ่ายทอดตัวอักษร

จากการเรียนรู้ครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการถ่ายทอดตัวอักษร (transliteration) การถ่ายทอดตัวอักษรก็เป็นการถ่ายทออดความหมาย จากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งทำให้ความหมายนั้นมากยิ่งขึ้นโดยการแปลนั้นก็จำเป็นต้องใช้การถ่ายทอดข้อความจากภาษาหนึ่งไปยังภาษาหนึ่ง ซึ่งผู้แปลสามารถอิงรูปแบบเดิมของต้นฉบับและคงต้นฉบับเดิมไว้
เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่ไม่ได้ใช้อักษรโรมัน จึงมีความจำเป็นที่จะศึกษาแนวทางการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ หรือการสื่อสารในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง โดยเฉพาะในประเด็นที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อศิลปกรรม ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อเทคโนโลยี เป็นต้น นับว่าการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมีความสำคัญต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีของไทยแก่ต่างประเทศ
การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมี 2 วิธี คือ การถอดอักษรตามวิธีเขียน (Transliteration) และการถอดอักษรตามวิธีอ่าน หรือการถอดอักษรแบบถ่ายเสียง (Transcription)แต่ในที่นี้จะเน้นการถอดอักษรตามวิธีเขียน (Transliteration)การถอดอักษรตามวิธีเขียนเป็นการถอดตามตัวอักษรทุกตัวที่มีอยู่ในคำนั้น มีข้อดีคือทราบที่มาของคำนั้น สามารถสะกดคำได้และสามารถถอดอักษรกลับไปยังคำเดิมได้ ข้อด้อยคืออ่านออกเสียงได้ยากและบางคำที่ถอดออกมามีมากเกินความจำเป็นในการออกเสียง
โดยมีหลักเกณฑ์คือในการถออดอักษรจะไมคำนึงถึงตัวสะกดการันต์และวรรณยุกต์ โดยจะใช้เสียงในการเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น ก=k (กา) , จ ฉ ช ฌ = ch (chin= จีน) และสระเองก็เช่นกัน เช่น แอ็ว, แอว = aeo (แมว=maeo) อักษรส่วนหญิงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดคำ ซึ่งหน่วยคำนั้นเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดอาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ เช่น ปิ่นโต กิน รำไทย คำหมายถึง 1 หน่วยคำหรือมากกว่านั้นก็ได้เช่น โทรศัพท์ บัตรประชาชน
คำประสม หมายถึงหน่วยคำตั้งแต่ 2 หน่วยคำขึ้นไป เมื่อรวมกันแล้วเกิดความหมายใหม่หรือความหมายเพิ่มจากเดิม เช่น พัดลม ถุงมือ ม้านั่ง คำสามานยนาม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือคำนามทั่วไป กับชื่อภูมิศาสตร์ก็เป็นคำนามทั่วไปชนิดหนึ่ง แต่จะบอกลักษณะของภูมิประเทศ ธรรมชาติ เช่น บึง หนองคลอง ภูเขา หรือแม้แต่ภูมิศาสตร์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง เช่น สะพาน ท่าเรือ ซอย นอกจากนี้รวมถึงเขตการปกครองด้วย เช่น ประเทศ จังหวัด ตำบล ชุมชน
คำวิสามานยนาม หมายถึงคำที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่และชื่อองค์กร คำนำหน้านาม หมายถึงคำที่อยู่หน้าคำวิสามานยนามเป็นการบอกลักษณะสภาพของคำวิสามานยนามนั้น เช่น ฯพณฯ……, นาย……,นาง……ฯลฯการทับศัพท์ คือการดำเนินการแปลงข้อความจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก ส่วนมากใช้กับวิสามานยนาม อาทิ ชื่อบุคคล สถานที่ หรือชื่อเฉพาะที่ไม่สามารถแปลความหมายเป็นภาษาอื่นได้โดยสะดวก
 คำทับศัพท์ หมายถึงคำภาษาต่างประเทศที่เขียนด้วยตัวอักษรไทย อาจเป็นคำสามานยนาม เช่นฟุตบอล กอล์ฟ ไม่ใช่เพียงแค่การถอดตัวอักษรเพียงเท่านั้น แต่ยังมีการถอดตัวเลขด้วย  หลักการถอดก็ยึดตามหลักการอ่านอักขระอักษรไทย โดยเขียนอักษรโรมันตามเสียงที่อ่านในภาษาไทย เช่น ๕..๔ ห้าจุดเจ็ดจุดสี่ (ha chut sam chut nueng)(ราชบัณฑิตยสถาน)
ดังนั้นการถ่ายทอดตัวอักษร (transliteration) จะถ่ายทอดโดยการเปรียบเทียบเสียงซึ่งเสียงจะต้องออกเสียงคล้ายกันและต้องคงรูปแบบความหมายของต้นฉบับเดิมไว้ การถ่ายทอดตัวอักษรนั่นไม่ใช่เรื่องยากเพียงแค่เราเข้าใจรูปแบบและตารางการถ่ายทอดอักษรแค่นี้เราก็สามารถถอดคำอื่นๆได้ด้วยตัวเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com