วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
โครงสร้างพื้นฐานของประโยค


จากการเรียนรู้ในวันที่ 29 กุมพาพันธ์ 2559 ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหา 2 เรื่องด้วยกันคือ 1.โครงสร้างพื้นฐานของประโยค และ Relations between ideas เนื้อหาทั้งสองเนื้อหานี้ก็เป็นเรื่องที่คุ้นเคยกันดี  ซึ่งในการเรียนภาษาอังกฤษนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนเกี่ยวเกี่ยวกับโครงสร้างของประโยคนั้นก็มีมากมายหลายโครงสร้างที่แตกต่างกันในส่วนของเรื่อง Relations between ideas ก็เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญสำหรับงานเขียน เราจึงไม่สามารถหลีกเหลี่ยงเรื่องเหล่านี้ได้เพราะมันจำเป็นต่อการเรียนภาษาอังกฤษอย่างมาก
หลังจากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของประโยคแล้วทำให้ฉันเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างต่างๆมากมายยิ่งขึ้นเพราะบางโครงสร้างฉันเองก็ไม่รู้จัก การที่ภาษาแต่ละภาษาจะเกิดขึ้นเป็นประโยคได้นั้นก็ต้องมีโครงสร้าง แต่ละโครงสร้างต้องประกอบด้วย ประธาน กริยา กรรม จึงจะสามารถเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้ และบางประโยคอาจมีส่วนขยายเข้ามาเพิ่มเติมเพื่อให้ประโยคมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ในแต่ละประโยคนั้นอาจจะสั้นหรือยาวก็ได้ บางประโยคเมื่อพูดหรือเขียนออกมานั้นอาจมีความสละสลวยไพเราะ ไม่สละสลวยดูแข็งเกินไปซึ่งประโยคทุกประโยที่พูดหรือเขียนออกมาก็สามารถบ่งบอกถึงอารมณ์ของผู้ที่ต้องการจะสื่อสารทั้งนี้ก็ต้องประกอบด้วยน้ำเสียงและท่าทางด้วย และในการสร้างประโยคต่างๆขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่ก็มาจากประโยคที่เป็นพื้นฐานที่เรียกว่า basic sentence เป็นประโยคที่ให้แต่คำหลัก
Basic sentence จะเป็นประโยคที่ง่ายมักใช้คำหลักๆหรือคำที่จำเป็นที่ต้องมีในประโยคโครงสร้างของประโยคนั้นๆ เช่น Present Simple Tense โครงสร้างของประโยคคือ Subject+V1 ตัวอย่าง She eat จากประโยคก็จะเป็นประโยคที่สั้นๆมีแต่คำจำเป็นที่ต้องใช้ในโครงสร้างเมื่อเขียนออกมาแล้วจึงดูไม่สละสลวย ดูแข็งเกินไป แต่สามารถเข้าใจได้ ว่า หล่อนกินแต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่าหล่อนกินอะไร และเพื่อให้ประโยคมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นจึงเพิ่มส่วนขยายไปว่า He  eat  salad in the morning.ซึ่งแปลว่าเขากินสลัดในตอนเช้าเมื่อฟังแล้วก็จะเข้าใจและตัวโครงสร้างของประโยคนั้นดูสละสลวยน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
แต่ก่อนที่เราจะแต่งประโยคตามโครงสร้างได้นั้นเราจะต้องรู้จักชนิดของคำด้วย นั่นก็คือ Part of speech ซึ่งประกอบด้วยชนิดคำที่หลากหลายเช่น Nouns คือคำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ,Pronoun คือคำที่ใช้แทนคำนาม คือแทนคน สัตว์ สิ่งของ และ Verb คือคำที่ใช้แสดงการกระทำ,Adverb คือคำที่นำมาขยายคำกริยา, Adjective คือคำที่นำมาขยายคำนาม ,Preposition คือคำที่นำไปเชื่อมความสัมพันธ์ของคำนามกับคำอื่นๆ, Conjunction คือคำที่นำมาใช้เป็นคำเชื่อม นอกจากนี้ยังมีชนิดคำอื่นๆอีกมากมาย
จากการศึกษาโครงสร้างของประโยคต่างๆในเนื้อหานั้นก็จะมีแบบของคำกริยาของฮอร์นบีและไนดาและเทเบอร์ แต่ดิฉันได้ลองศึกษาและฝึกแต่งประโยคนั้นเป็นโครงสร้างแบบของของคำกริยาฮอร์นบี ซึ่งโครงสร้างของเขามีด้วยกัน 25 แบบ บางโครงสร้างฉันเองก็ไม่รู้จักมาก่อน

VP1.Subject+Verb+Direct+Object. Example He hold a book.
VP2.Subject+Verb+(not)+to+ Infinitive,etc. Example She can not to play football. VP3.Subject+Verb+Noun or Pronoun+(not)+to+Infinitive. Example I waited him not to come here.
VP4.Subject+Verb+Noun or Pronoun+ to be+ Complement. Example They want it (to be)die.
VP5.Subject+Verb+ Noun or Pronoun + Infinitive,etc. Example Would you have her answer questions?
VP6.Subject+Verb+ Noun or Pronoun + Present Participle. Example I help him doing homework.
VP7. Object +Verb +Object +Adj. Example The tree die the bird homeless.
VP8.Subject+Verb+ Object + Noun. Example The students told the teacher leader.
VP9.Subject+Verb+ Object + Past Participle. Example He has a telephone lost.
VP10.Subject+Verb+ Object + Adv.+ Adv.Phrases,etc. Example Teacher teach the students here.
VP11.Subject+Verb+ (that)+ Clause. Example Do you worry(that) it will collapse.
VP12.Subject+Verb+ Noun or Pronoun +(that)+ Clause. Example I hope him you that the can for me.
VP13.Subject+Verb+Conj.+to+Infinitive,etc. Example She do homework when to ready.
VP14.Subject+Verb+ Noun or Pronoun + Conj.+ to + Infinitive,etc. Example Can you tell me what to want?
VP15.Subject+Verb+Conj.+ Clause. Example I close when it will rain.
VP16.Subject+Verb+ Noun or Pronou.+ Conj.+ Clause. Example Can you tell her why you hit it?
VP17.Subject+Verb+Gerund,etc. Example She can singing.
VP18.Subject+Verb+Direct Obj. + Prep+ Prepositional Obj.  Example He gave the bag to his customer.
VP19.Subject+Verb+Indirect Obj. + Prep+ Direct Obj..  Example I sad their chidren Good bue.
VP20.Subject+Verb+(for)+Complement.  Example The kangaroo jump two foot.
VP21.Subject+Verb.Example The rabbit is running.
VP22.Subject+Verb+Predicative. Example This is a chair.
VP23.Subject+Verb+Adv.Adjunct.  Example She sit on the sofa.
VP24.Subject+Verb+ Prep+ Prepositional Obj..  Example It is under your table.
VP25.Subject+Verb+to+Infinitive.  Example I stopped to look it in the zoo.
จากการที่ลองแต่งประโยคบางประโยคก็ยังสับสนกับโครงสร้างอยู่ แต่อย่างไรก็ตามฉันก็ได้ศึกษาและแต่งประโยค จนสามารถแต่งประโยคได้จากโครงสร้างทั้ง 25 แบบของฮอร์นบีไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะสามารถจำมันได้ แต่เราสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของโครงสร้างจนสามารถแต่งประโยคต่างๆตามโครงสร้างได้  นอกจากโครงสร้างของฮอร์นบีแล้วก็ยังมีโครงสร้างของคนอื่นๆอีกมากมาย เช่นโครงสร้างของไนดาและเทเบอร์ ซึ่งเขาได้แยกประโยคพื้นฐานของภาษาอังกฤษไว้ 7 แบบ
แบบโครงสร้างของไนดาทั้ง 7แบบ ประกอบด้วย 1.N+V เช่น Jone ran quickly. 2.N+V+ N เช่น John hit Bill. 3.N+V+N+N เช่น John gives Bill a ball. 4.N+V+Prep.+N เช่น John is in the house. 5. N+V+Adj. เช่น The boy is sick. 6.N+V+Indefinite article +N เช่น John is a boy. และ 7. N+V+Definite article +Noun เช่น John  is my father. แต่โครงสร้างโครงร้างเหล่านี้ฉันไม่ได้แต่งประโยค แต่อย่างไรก็ตามก็ได้ศึกษาโครงสร้างจนทำให้เข้าใจสามารถที่จะแต่งประโยคได้
และโครงสร้างอีกแบบหนึ่งของสเตจเบอร์จ(stageberg) โครงสร้างของเขาเป็นประโยคเปลือย และถูกแบ่งโครงสร้างออกเป็น 9 แบบ นอกจากที่ได้ศึกษาโครงสร้างของประโยคแล้วก็ยังศึกษาเรื่อง Relations between ideas วึ่งเรื่องนี้จะเกี่ยวกับการเขียน paragraphs หรือบทความให้สมบูรณ์ได้นั้นต้องอาศัยขั้นตอนต่างๆในการเขียน เราไม่สามารถเขียนตามใจชอบได้ เพราะเนื้อเรื่องแต่ละย่อหน้าอาจจะไม่สัมพันธ์กันทำให้บทความดูไม่สละสลวย
แต่ในการเขียน paragraphs ขั้นตอนแรกที่ต้องทำคือการหาหัวข้อ,ชื่อเรื่อง หรือ Title นั้นเอง ชื่อเรื่องนั้นอาจจะเป็นประโยคบอกเล่าหรือคำถาม หรือวลีก็ได้ แต่จะต้องไม่ยาวเกินไป และจะต้องกระชัดรัดกุมให้ตรงกับเนื้อที่จะเขียน  เมื่อเราได้ชื่อเรื่องแล้วก็ต้องการเขียน outline เพื่อเป็นแนวทางในการเขียน paragraphs ให้ง่ายขึ้นในขณะที่เขียนเราก็สามารถเขียน outline ที่วางไว้ตามลำดับขั้น ทำให้ paragraphs ที่เราจะเขียนนั้นออกมาสมบูรณ์
ในการเขียน outline นั้นจะต้องประกอบไปด้วย Thesis Statement หรือ introduction นั่นเองเป็นการเขียนเกริ่นนำพูดถึงภาพรวมที่เราจะเขียนในบทความนั้นๆและในส่วนเนื้อหาหรือ Body ก็จะประกอบด้วย Main Idea ในเนื้อหานั้นๆนอกจากนี้ยังมีส่วนที่จะขยายให้ Main Idea ชัดเจนยิ่งขึ้น นั่นก็คือ Supporting Idea สามารถมีได้หลาย Supporting Idea ในแต่ละ Main Idea และสุดท้ายตามด้วยส่วนที่เป็น Conclusion หรือบทสรุปนั่นเอง
ส่วนของ  Conclusion นั่นเราก็จะนำส่วนของเนื้อหา Thesis Statements มากล่าวใหม่อีกครั้งแต่จะเรียบเรียงเป็นใหม่เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น เมื่อเราได้ร่างหรือเขียน outline เสร็จแล้วเราจะนำส่วนของ outlineมาเขียนขยายความบรรยายเพื่อให้เข้าใจถึงรายละเอียดดังกล่าว ล้าเราก็จะได้ paragraphs ที่สมบูรณ์น่าอ่าน เมื่อเรารู้หลักการเขียน paragraphs เพียงแค่เราคิดอย่างมีหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่จะไดใน paragraphs ที่สมบูรณ์
ดังนั้นในการเรียนครั้งนี้  ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาต่างๆมากมายคือเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของประโยค และ Relations between ideas ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งต่อผู้เรียนภาษาอังกฤษ เพราะเป็นภาษาที่ต้องมีการแปล เมื่อเรามีความรู้ทางด้านภาษาดีก็จะทำให้เราวิเคราะห์ความหมาย ตีความ และเรียบเรียงประโยคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เราจึงไม่สามารถหลีกเหลี่ยงเรื่องเหล่านี้ได้เพราะจำเป็นต่อการเรียนภาษาอังกฤษอย่างมาก





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com