วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

The passive


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
The passive

จากการเรียนรู้ครั้งนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง passive   คือ ประธานเป็นผู้ถูกกระทำหรือประธานเป็นกรรมนั่นเอง  ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับการเรียน Grammar พูดถึง Grammar คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับใครๆหลายคน ในภาษาอังกฤษก็มีด้วยกันหลายเรื่อง ซึ่งเรื่อง Passive เป็นเรื่องที่ใครหลายๆคนคุ้ยเคยและรู้จักกันดี แต่บ่อยครั้งที่มีการใช้กันผิดเพราะสับสนกับการเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างจาก Passive เป็น active หรือจาก active  เป็น Passive  หรือแม้แต่การหาผู้ถูกกระทำบางครั้งผู้ที่แต่งประโยคยังคงมีความสับสนอยู่มาก
Passive   เป็นโครงสร้างประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งกริยาหลักจะอยู่ในรูปของกริยาช่วย be + V3 (past participle) ประโยค passive จะต้องมี กริยา be และ ตามด้วย กริยาช่อง 3 เสมอ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เราเห็น กริยา be ที่ตามด้วยกริยาช่อง 3 ก็ให้แปลกริยา be นั้นว่า "ถูก" ได้เลย   ดังนั้นโครงสร้างประโยค passive  จะมีประธานแล้ว กริยา be และตามด้วย กริยาช่อง 3 ตัวอย่างเช่น  John is helped by Mary. Be ต้อง เป็น is เพราะประธาน เป็นเอกพจน์ และ เป็น present tense, Different kinds of Vegetables are grown in Northern Thailand .ในที่นี้ Be ต้อง เป็น are เพราะประธานเป็น พหูพจน์และ เป็น present tense
 A student was punished by his teacher yesterday. Be ต้อง เป็น was เพราะประธานเป็น เอกพจน์ และ เป็น past tense, Our life will be improved next year.เมื่อไหร่ก็ตามที่ข้างหน้ามีกริยาช่วย (will, can, may, should) กริยา be ไม่ต้องผันใช้ be โดยปรกติประโยค active ที่กริยามีกรรมตามมา จะสามารถเปลี่ยนเป็นประโยค passive ได้โดยความหมายทั่วไปไม่ได้เปลี่ยนไปมาก คือเอากรรมตัวนั้นมาอยู่ในตำแหน่งประธานแล้วตามด้วยกริยา be และเปลี่ยนกริยาเป็นช่อง ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างประโยค active และ ประโยคที่เปลี่ยนไปเป็นประโยค passive  ของมัน 
เมื่อได้เป็นประโยค Passive แล้วก็จะนำมาเปลี่ยนเป็นประโยค active แต่อย่างไรก็ตามความหมายของทั้งสองประโยคไม่ต่างกันต่างกันแค่ ประธานในประโยค active เป็นตัวกระทำกริยา ส่วนในประโยค passive ประธานเป็นตัวถูกกระทำตัวอย่างเช่นเปลี่ยน ประโยค active เป็นประโยค passive ตัวอย่างเช่น  Tom opens the door. เป็น The door is opened by Tom. , Shakespeare wrote that play. เป็น That play was written by Shakespeare.
 ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเห็นการใช้ประโยค passive มากกว่าในภาษาไทยและรูปประโยคก็ต่างกับภาษาไทยในภาอังกฤษ สังเกตได้ว่าในประโยค passive  กรรม ของกริยาในประโยค active จะไปอยู่ในตำแหน่งประธาน  และต้องมี กริยา be  (ซึ่งแปลว่า "ถูก") และกริยาเดิมในประโยค active จะเปลี่ยนไปเป็นกริยาช่อง 3  ส่วน ประธานในประโยค active จะไปอยู่ด้านหลังประโยคและมีคำว่า by นำหน้า  โครงสร้างประโยค passive ก็คล้ายกับ Active Voice นั้นก็คือ Tense ทั้ง 12 เพียงแค่มี Verb to be มาคั่น และกริยาหลักคือ ช่อง 3 หมดเลย และมีอยู่ทั้งหมด 12 รูปแบบประโยคเช่นกัน
 ตั้งแต่เรียนภาษาอังกฤษมาเชื่อว่าทุกคนต้องผ่านการเรียนเกี่ยวกับ Tense ทั้ง 12 เมื่อเราเกิดความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้อย่างแท้จริงแล้วก็จะง่ายต่อการสร้างประโยค Passive   จะเห็นได้ว่า Tense ทั้ง 12 ที่เราเรียนกันนั้นเป็นประโยค Active Voice คือ ประธานเป็นคนกระทำทั้งหมด โดยจะไม่พูดถึง Passive Voice ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โครงสร้าง Active Voice จนเกิดความเข้าใจดีเสียก่อน  ถ้าเข้าใจดีแล้ว การเรียนรู้ Passive Voice ก็จะไม่ยากเท่าไหร่ เพราะหลักการแต่งประโยคก็จะต่างกันไม่มาก แต่ถ้าให้เรียนรู้ควบกันไปเลยทั้งหมดก็จะเกิดการสับสน
ทั้งนี้เหตุผลที่ให้เราเรียนรู้โครงสร้าง Active Voice ให้เข้าใจก่อนนั้นก็เพราะว่ามันเป็นหัวใจของการเรียนภาษาอังกฤษ ถ้าเข้าใจตรงนี้แล้ว การเรียนภาษาอังกฤษก็จะเป็นเรื่องง่ายๆทันที เพราะผู้เรียนสามารถอ่านเนื้อหาต่างๆที่เป็นภาษาอังกฤษได้แล้ว อาจติดขัดบ้างที่คำศัพท์ก็สามารถใช้ดิกชันนารีช่วยได้ และทำให้เราสามารถเรียนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น ดังนั้นการเรียนเรื่อง passive  คือ ประธานเป็นผู้ถูกกระทำหรือประธานเป็นกรรม จะไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากหากผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ Tense ทั้ง 12 อย่างเข้าใจ และเข้าใจหลักการใช้ แค่นี้ก็จะทำให้เราสนุกกับการเรียนรู้เรื่อง passive  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hello

Hello

วริษา ฤทธิราช

แนะนำตัวฉัน

ชื่อ : นางสาววริษา ฤทธิราช
ชื่อเล่น : ษา
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
E-mail : WarisaRittirat@gmail.com